วันจันทร์ที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2555

วันจันทร์ที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

สมุนไพร



พืชสมุนไพร เป็นสิ่งที่อยู่คู่คนไทยมานับพันปี แต่เมื่อการแพทย์แผนปัจจุบันเริ่มเข้ามามีบทบาทในบ้านเรา สรรพคุณและคุณค่าของสมุนไพรอันเป็นสิ่งที่เรียกได้ว่าภูมิปัญญาโบราณก็เริ่มถูกบดบังไปเรื่อยๆ  และถูกทอดทิ้งไปในที่สุด
          ความจริงคนส่วนใหญ่ก็พอรู้ๆ กันว่า สมุนไพรไทยเป็นสิ่งที่มีคุณค่าใช้ประโยชน์ได้จริง และใช้ได้อย่างกว้างขวาง แต่เป็นเพราะว่าเราใช้วิธีรักษาโรคแผนใหม่มานานมากจนวิชาแพทย์แผนโบราณที่มีสมุนไพรเป็นยาหลักถูกลืมจนต่อไม่ติด
         ภาครัฐเริ่มกลับมาเห็นคุณค่าของสมุนไพรไทยอีกครั้งด้วยการแถลงนโยบายต่อรัฐสภาไว้เมื่อวันที่ 21 ตุลาคม 2535 ว่า  " ให้มีการผสมผสานการแพทย์แผนไทยและสมุนไพรเข้ากับระบบบริการสาธารณสุขของชุมชนอย่างเหมาะสม"
          บทความข้าต้นเป็นส่วนหนึ่งในคำนำของหนังสือ "สรรพคุณสมุนไพร 200 ชนิด" ซึ่งเภสัชกรหญิงสุนทรี สิงหบุตรา เภสัชกรด้านเภสัชสาธารณสุข  หัวหน้าฝ่ายวิชาการ กองเภสัชกรรม สำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร ในฐานะผู้รวบรวมและเรียบเรียง ได้บันทึกไว้ ซึ่งต่อมาทางสำนักอนามัยฯ ได้นำหนังสือดังกล่าวขึ้นทูลเกล้าฯ ถวาย สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เพื่อใช้ประโยชน์ในงานของโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ  การนี้ ทางโครงการฯ เห็นว่าเนื้อหาในหนังสือมีคุณค่าและให้ประโยชน์กับผู้ที่ร่วมงานกับโครงการฯ รวมถึงบุคคลทั่วไป จึงได้นำขึ้นเผยแพร่ในเวบไซต์


พืชสมุนไพร ประเภท พืชถอนพิษ


กระแจะ

กระแจะ

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Naringi crenulata (Roxb.), Nicolson (Hesperethusa crenulata (Roxb.) Roem.)
ชื่อวงศ์ : RUTACEAE
ชื่ออื่น : ขะแจะ, ตุมตัง, พญายา

รูปลักษณะ : กระแจะ เป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก สูง 3-8 เมตร กิ่งก้านมีหนาม ใบประกอบแบบขนนก เรียงสลับ ใบย่อย 4-13 ใบ รูปวงรีแกมไข่สลับ กว้าง 1.5-3 ซม. ยาว 2-7 ซม. ก้านใบแผ่เป็นปีก ดอกช่อ ออกที่ซอกใบ กลีบดอกสีขาว ผล เป็นผลสด รูปทรงกลม

สรรพคุณของ กระแจะ : แก่น ใช้เป็นยาดับพิษร้อน ดองเหล้ากินแก้กษัย (การป่วยที่เกิดจากหลายสาเหตุ ทำให้ร่างกายเสื่อมโทรม ซูบผอม โลหิตจาง), ลำต้น ใช้ต้มน้ำดื่ม ครั้งละครึ่งแก้ว วันละ 3 ครั้ง เช้า-กลางวัน-เย็น แก้อาการโรคผิวหนังมีผื่นคัน เป็นเม็ดขึ้นคล้ายผด คันมาก มักมีไข้ร่วมด้วย แก้ปวดตามข้อ ปวดเมื่อย เส้นตึง แก้ร้อนใน, เปลือกต้น แก้ไข้ บำรุงจิตใจให้ชุ่มชื่นแจ่มใส


ชองระอา

ชองระอา

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Barleriaiupulina Lindl.
ชื่อวงศ์ : ACANTHACEAE
ชื่ออื่น : เสลดพังพอน, เสลดพังพอนตัวผู้

รูปลักษณะ : ชองระอา เป็นไม้พุ่ม สูงประมาณ 1 เมตร มีหนามแหลมยาวข้อละ 2 คู่ กิ่งก้านสีน้ำตาลแดง ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปใบหอกยาวหรือ รูปขอบขนาน กว้าง 1.8-2.5 ซม. ยาว 6-12 ซม. ผิวใบเรียบมัน สีเขียวเข้ม เส้นกลางใบสีแดง ดอกช่อ ออกที่ปลายกิ่ง ยาวประมาณ 8 ซม. ใบประดับค่อนข้างกลม สีน้ำตาลแดงขนาดใหญ่ กลีบดอกสีเหลืองส้ม โคนเชื่อมติดเป็นหลอด ปลายแยกเป็น 2 ปาก ปากบนมีกลีบขนาดใหญ่ 4 กลีบ กลีบล่างเล็กกว่า มี 1 กลีบ ผล เป็นฝัก รูปไข่

สรรพคุณของ ชองระอา : ใบใช้ตำละเอียดผสมเหล้า พอกหรือทา ถอนพิษอักเสบจากแมลงสัตว์กัดต่อยและเริม ราก ใช้ฝนกับเหล้าทาถอนพิษตะขาบ


นมสวรรค์

นมสวรรค์

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Clerodendrum paniculatum Linn.
ชื่อวงศ์ : VERBENACEAE
ชื่ออื่น : ฉัตรฟ้า, สาวสวรรค์, พวงพีเหลือง, หังลิง, พนมสวรรค์

รูปลักษณะ : นมสวรรค์ เป็นไม้พุ่ม ลำต้นตั้งตรง สูงได้ถึง 3 เมตร ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปไข่ กว้าง 7-38 ซม. ยาว 4-40 ซม. ขอบใบหยักเว้า ลึก 3-7 แฉก ดอกช่อขนาดใหญ่ ออกที่ปลายกิ่ง กลีบเลี้ยงรูประฆังสีส้มแดง กลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นหลอดยาว สีส้มแดง ผล เป็นผลสด รูปทรงกลม สีน้ำเงินแกมเขียวหรือดำ

สรรพคุณของ นมสวรรค์ : ดอก แก้พิษสัตว์กัดต่อย และพิษที่เกิดจากการติดเชื้อ แก้ตกเลือด รากขับลม แก้วัณโรค แก้ไข้มาลาเรีย แก้อาการไข้ที่ถ่ายเหลว อาเจียนเป็นเลือด และมีผื่นขึ้นที่ผิวหนัง ต้นแก้อักเสบเนื่องจากตะขาบ และแมลงป่องต่อย แก้พิษฝีผักบัว


บัวบก

บัวบก

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Asiatic Pennywort, Tiger Herbal, Centella asiatica (Linn.) Urban
ชื่อวงศ์ : APIACEAE
ชื่ออื่น : ผักแว่น, ผักหนอก

รูปลักษณะ : บัวบก เป็นไม้ล้มลุก อายุหลายปี เลื้อยแผ่ไปตามพื้นดิน ชอบที่ชื้นแฉะ แตกรากฝอยตามข้อ ไหลที่แผ่ไปจะงอกใบจากข้อ ชูขึ้น 3-5 ใบ ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปไต เส้นผ่าศูนย์กลาง 2-5 ซม. ขอบใบหยัก ก้านใบยาว ดอกช่อ ออกที่ซอกใบ ขนาดเล็ก 2-3 ดอก กลีบดอกสีม่วง ผลแห้ง แตกได้

สรรพคุณของ บัวบก : ใบสด ใช้เป็นยาภายนอกรักษาแผลเปื่อย แผลไฟไหม้น้ำร้อนลวก โดยใช้ใบสด 1 กำมือ ล้างให้สะอาด ตำละเอียด คั้นเอาน้ำทาบริเวณแผลบ่อยๆ ใช้กากพอกด้วยก็ได้ แผลจะสนิทและเกิดแผลเป็นชนิดนูน (Keloid) น้อยลง สารที่ออกฤทธิ์คือ กรด Madecassic, กรด Asiatic และ Asiaticoside ซึ่งช่วยสมานแผลและเร่งการสร้างเนื้อเยื่อ ระงับการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรีย ที่ทำให้เกิดหนองและลดการอักเสบ มีรายงานการค้นพบฤทธิ์ฆ่าเชื้อรา อันเป็นสาเหตุของโรคกลาก ปัจจุบัน มีการพัฒนายาเตรียมชนิดครีม ให้ทารักษาแผลอักเสบจากการผ่าตัด น้ำต้มใบสดดื่มลดไข้ รักษาโรคปากเปื่อย ปากเหม็น เจ็บคอ ร้อนใน กระหายน้ำ ขับปัสสาวะ แก้ท้องเสีย


ประยงค์

ประยงค์

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Aglaia odorata Lour.
ชื่อวงศ์ : MELIACEAE
ชื่ออื่น : ขะยง, ขะยม, พะยงค์, ยม, หอมไกล

รูปลักษณะ : ประยงค์ เป็นไม้พุ่ม สูงประมาณ 3 เมตร มีใบดก ปลายยอดอ่อน หุ้มด้วยใบเกล็ดสีน้ำตาล ใบประกอบแบบขนนก เรียงสลับ มีใบย่อย 5 ใบ รูปไข่กลับ กว้าง 1-2 ซม. ยาว 2-4 ซม. ดอกช่อ ออกที่ปลายกิ่ง ลักษณะเป็นช่อโปร่ง ดอกย่อยมีขนาดเล็กประมาณ 2 มม. กลิ่นหอม กลีบดอกสีเหลือง ผลสด มี 1-2 เมล็ด

สรรพคุณของ ประยงค์ : ราก ใช้กินถอนพิษเบื่อเมา เป็นยาทำให้อาเจียน


ผักชีล้อม

ผักชีล้อม

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Oenanthe stolonifera Wall.
ชื่อวงศ์ : APIACEAE
ชื่ออื่น : ผักอันอ้อ

รูปลักษณะ : ผักชีล้อม เป็นไม้ล้มลุก สูงประมาณ 60 ซม. ชอบขึ้นในน้ำและที่ชื้นแฉะ ลำต้นกลวง อวบน้ำ ใบประกอบแบบขนนกสองชั้น เรียงสลับ ใบย่อยรูปหอก กว้าง 1.5-2.5 ซม. ยาว 3-5 ซม. ขอบใบหยักฟันเลื่อย ดอกช่อ ออกที่ปลายยอด กลีบดอกสีขาว ก้านดอกย่อยยาวเท่ากัน ผลแห้ง แตกได้ รูปไข่กลับ

สรรพคุณของ ผักชีล้อม : ทั้งต้น ใช้แก้โรคน้ำเหลืองเสีย เป็นส่วนผสมในตำรับยาอาบ-อบสมุนไพร เพื่อรักษาเหน็บชา ขับเหงื่อ


ผักบุ้งทะเล

ผักบุ้งทะเล

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Goat's Foot Creeper, Ipomoea pes-caprae (Linn.) R. Br.
ชื่อวงศ์ : CONVOLVULACEAE

รูปลักษณะ : ผักบุ้งทะเล เป็นไม้ล้มลุก เลื้อยตามผิวดิน มักพบในพื้นที่ใกล้ทะเล ทั้งต้นมียาวขาว ใบเดี่ยว เรียงสลับ กว้าง 7-11 ซม. ยาว 5-8 ซม. ค่อนข้างหนา โคนใบรูปหัวใจ ปลายเว้าลึก ดอกช่อ ออกที่ซอกใบ มี 4-6 ดอก กลีบดอกสีม่วงชมพู โคนติดกัน ปลายบานออกคล้ายปากแตร ผลแห้ง แตกได้ รูปกลมหรือรูปไข่

สรรพคุณของ ผักบุ้งทะเล : ใบ ใช้แก้พิษแมงกะพรุน นำใบสด 10-15 ใบ ตำละเอียด คั้นเอาน้ำ ทาแผลบริเวณที่ถูกแมงกะพรุน หรือตำกับเหล้าใช้พอกก็ได้ พบว่ามีสาร damascenone ที่มีฤทธิ์ต้านฮีสตามีน ซึ่งทำให้เกิดอาการแพ้ ต้านพิษแมงกะพรุนได้


พญาปล้องทอง

พญาปล้องทอง

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Clinacanthus nutans (Burm.f.) Lindau
ชื่อวงศ์ : ACANTHACEAE
ชื่ออื่น : ผักมันไก่, ผักลิ้นเขียด, พญาปล้องคำ, พญาปล้องดำ, พญายอ, เสลดพังพอน, เสลดพังพอนตัวเมีย

รูปลักษณะ : พญาปล้องทอง เป็นไม้พุ่มรอเลื้อย สูง 1-3 เมตร ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปใบหอก กว้าง 1-3 ซม. ยาว 4-12 ซม. สีเขียวเข้ม ดอกช่อ ออกเป็นกระจุกที่ปลายกิ่ง กลีบดอกสีแดงส้ม โคนกลีบสีเขียวติดกันเป็นหลอดยาว ปลายแยกเป็น 2 ปาก ไม่ค่อยออกดอก ผลแห้ง แตกได้

สรรพคุณของ พญาปล้องทอง : ใบสด ใช้รักษาแผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก แมลงกัดต่อย ผื่นคัน โดยนำใบสด 5-10 ใบ ตำหรือขยี้ทา ใช้ทารักษาอาการอักเสบจากเริมในปาก โดยใช้ใบสด 1 กก. ปั่นละเอียด เติมแอลกอฮอล์ 70% 1 ลิตร หมัก 7 วัน แล้วกรอง ระเหยบนเครื่องอังไอน้ำ ให้ปริมาตรลดลงครึ่งหนึ่ง เติมกลีเซอรินเท่าตัว


รางจืด

รางจืด

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Thunbergia laurifolia Linn.
ชื่อวงศ์ : THUNBERGIACEAE
ชื่ออื่น : กำลังช้างเผือก, ขอบชะนาง, เครือเขาเขียว, ยาเขียว, คาย, รางเย็น, ดุเหว่า, ทิดพุด, น้ำนอง, ย่ำแย้, แอดแอ

รูปลักษณะ : รางจืด เป็นไม้เถาเนื้อแข็ง ใบเดี่ยว รูปขอบขนานหรือรูปไข่ กว้าง 4-7 ซม. ยาว 8-14 ซม. ขอบใบเว้าเล็กน้อย ดอกช่อ ออกที่ปลายกิ่ง กลีบดอกสีม่วงแกมน้ำเงิน ใบประดับสีเขียวประสีน้ำตาลแดง ผลแห้ง แตกได้

สรรพคุณของ รางจืด : ใบสด ใช้คั้นน้ำ แก้ไข้ ถอนพิษต่างๆ ในร่างกาย เช่น อาการแพ้อาหาร เป็นต้น การทดลองเพื่อใช้แก้พิษที่เกิดจากยาฆ่าแมลงโพลิดอลในสัตว์ ได้ผลดีพอควร สรุปได้ว่าอาจใช้น้ำคั้นใบสดให้ผู้ป่วยที่กินยาฆ่าแมลง ดื่มเป็นการปฐมพยาบาล ก่อนนำผู้ป่วยส่งโรงพยาบาลได้ แต่จะไม่ให้ผลในการกินเพื่อป้องกัน ก่อนสัมผัสยาฆ่าแมลง


ลิ้นงูเห่า

ลิ้นงูเห่า

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Clinacanthus siamensis Berm.
ชื่อวงศ์ : ACANTHACEAE

รูปลักษณะ : ลิ้นงูเห่า เป็นไม้พุ่มรอเลื้อย สูง 1.5-4 เมตร ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปใบหอกหรือรูปใบหอกแกมขอบขนาน กว้าง 2.5-4 ซม. ยาว 7-12 ซม. ดอกช่อ ออกเป็นกระจุกที่ปลายกิ่ง กลีบดอกสีแดงส้ม โคนกลีบสีเขียว ติดกันเป็นหลอดยาว ปลายแยกเป็น 2 ปาก ผลแห้ง แตกได้

สรรพคุณของ ลิ้นงูเห่า : ใบ ใช้ตำหรือขยี้ ทาหรือพอก แก้พิษร้อนอักเสบ ปวดฝี ราก ตำพอกแก้พิษตะขาบและแมงป่อง


ลิ้นมังกร

ลิ้นมังกร

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Sauropus changiana S.Y.Hu.
ชื่อวงศ์ : EUPHORBIACEAE

รูปลักษณะ : ลิ้นมังกร เป็นไม้พุ่มขนาดเล็ก สูงได้ถึง 40 ซม. ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปใบหอกกลับแกมขอบขนาน กว้าง 4-7 ซม. ยาว 10-16 ซม. แผ่นใบมีลายสีขาว ดอกช่อ ออกเป็นกระจุกตามโคนต้น ดอกย่อยแยกเพศ สีแดงเลือดนก

สรรพคุณของ ลิ้นมังกร : ใบ-ใช้ตำหรือขยี้ทาหรือพอก แก้พิษร้อนอักเสบ


ว่านมหากาฬ

ว่านมหากาฬ

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Gynura pseudochina DC. var.hispida Thv.
ชื่อวงศ์ : ASTERACEAE
ชื่ออื่น : ดาวเรือง

รูปลักษณะ : ว่านมหากาฬ เป็นไม้ล้มลุก มีรากขนาดใหญ่ ลำต้นอวบน้ำ เลื้อยทอดยาวไปตามพื้นดิน ชูยอดตั้งขึ้น ปลายยอดมีขนนุ่มสั้นปกคลุม ใบเดี่ยว เรียงสลับ เวียนรอบต้น รูปใบหอกกลับ กว้าง 2.5-8 ซม. ยาว 6-30 ซม. ขอบใบหยักห่างๆ หลังใบสีม่วงเข้ม มีขนเส้นใบสีเขียว ท้องใบสีเขียวแกมเทา ดอกช่อ ออกที่ปลายยอด กลีบดอกสีเหลืองทอง ผลแห้ง ไม่แตก

สรรพคุณของ ว่านมหากาฬ : รากและใบสด ใช้ตำ พอกแก้ปวดบวมจากแมลงสัตว์กัดต่อย ถอนพิษปวดแสบ ปวดร้อน ใช้ใบสดทดลองกับผู้ป่วยโรคเริมและงูสวัด สรุปว่า สารสกัดจากใบทำให้อัตราการกลับมาเป็นใหญ่ของโรคลดลง


ว่านหางจระเข้

ว่านหางจระเข้

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Aloe, Aloe vera Linn. varchinensis (Haw.) Berg
ชื่อวงศ์ : ALOACEAE
ชื่ออื่น : ว่านไฟไหม้, หางตะเข้

รูปลักษณะ : ว่านหางจระเข้ เป็นไม้ล้มลุกอายุหลายปี สูง 0.5-1 เมตร ข้อและปล้องสั้น ใบเดี่ยว เรียงรอบต้น กว้าง 5-12 ซม. ยาว 0.3-0.8 เมตร อวบน้ำมาก สีเขียวอ่อนหรือสีเขียวเข้ม ภายในมีวุ้นใส ใต้ผิวสีเขียวมีน้ำยางสีเหลือง ใบอ่อนมีประสีขาว ดอกช่อ ออกจากกลางต้น ดอกย่อย เป็นหลอดห้อยลง สีส้ม บานจากล่างขึ้นบน ผลแห้ง แตกได้

สรรพคุณของ ว่านหางจระเข้ : วุ้นสด ใช้ประโยชน์ได้หลายอย่าง วิธีใช้ให้เลือกใช้ใบล่างสุดของต้นก่อน ล้างน้ำให้สะอาด ปอกเปลือกสีเขียวออกด้วยมีดสะอาด ล้างน้ำยางสีเหลืองออกให้หมด เพราะอาจระคายเคืองผิวหนัง และทำให้มีอาการแพ้ได้ ฝานเป็นแผ่นบางปิดแผล หรือขูดเอาวุ้นใสปิดพอกรักษาแผลสด แผลเรื้อรัง แผลไฟไหม้น้ำร้อนลวก แผลไหม้เกรียมจากแสงแดด และการฉายรังสี อาจใช้ผ้าพันแผลที่สะอาดพันทับ เปลี่ยนวุ้นใหม่วันละครั้ง เช้า-เย็น จนกว่าแผลจะหาย ใช้วุ้นสดกินรักษาแผลในกระเพาะอาหารได้ดี และใช้เป็นส่วนผสมในเครื่องสำอางหลายประเภท เช่น แชมพูสระผม สบู่ ครีมกันแดด เป็นต้น สารที่ออกฤทธิ์เป็นกลัยโคโปรตีน ชื่อ aloctin A ซึ่งมีฤทธิ์ลดการอักเสบ และเพิ่มการเจริญทดแทนของเนื้อเยื่อ บริเวณที่เป็นแผล แต่มีข้อเสีย คือ สลายตัวได้ง่ายเมื่อถูกความร้อน ไม่ควรทิ้งวุ้นสดไว้เกิน 24 ชั่วโมง น้ำยางสีเหลืองจากใบ เคี่ยวให้แห้ง เรียกว่า ยาดำ เป็นยาระบายชนิดเพิ่มการบีบตัวของลำไส้ใหญ่



พืชสมุนไพร ประเภท พืชหอม


กระดังงาสงขลา

กระดังงาสงขลา

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Cananga odorata (Lank.) Hook. f. et. Th., var.fruticosa (Craib) J. Sincl.
ชื่อวงศ์ : ANNONACEAE
ชื่ออื่น : กระดังงอ, กระดังงาเบา, กระดังงาสาขา

รูปลักษณะ : กระดังงาสงขลา เป็นไม้พุ่ม สูง 1-2.5 เมตร ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปใข่หรือรูปขอบขนาน กว้าง 7-9 ซม. ยาว 10-18 ซม. ดอกช่อ ออกเป็นกระจุกที่ปลายกิ่ง กลีบดอกสีเขียวแกมเหลือง กลิ่นหอม ผลเป็นกลุ่มผล

สรรพคุณของ กระดังงาสงขลา : ดอก เป็นยาบำรุงหัวใจ ใช้ได้เช่นเดียวกับกระดังงาไทย
กระดังงาไทย

กระดังงาไทย

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Kenanga, Ylang Ylang, Cananga odorata (Lamk.) Hook. f. et. Th.
ชื่อวงศ์ : ANNONACEAE
ชื่ออื่น : กระดังงา, กระดังงาใบใหญ่, กระดังงาใหญ่, สะบันงา

รูปลักษณะ : กระดังงาไทย เป็นไม้ยืนต้น สูง 8-15 เมตร ลำต้นตรง เปลือกต้นเกลี้ยงสีเทา กิ่งมักจะลู่ลง ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปวงรีหรือรูปใบหอก กว้าง 5-7 ซม. ยาว 13-20 ซม. ขอบใบเป็นคลื่น ดอกช่อออกเป็นกระจุก ที่ซอกใบ กระจุกละ 4-6 ดอก กลีบดอกสีเหลืองหรือเหลืองอมเขียว มีกลิ่นหอม ผลเป็นกลุ่มผล ผลแก่จะเปลี่ยนจากสีเหลืองอมเขียวเป็นสีดำ

สรรพคุณของ กระดังงาไทย : ดอก มีน้ำมันหอมระเหย ใช้ทอดกับน้ำมันมะพร้าว ทำน้ำมันใส่ผม ใช้ปรุงเป็นยาหอม แก้ลมวิงเวียน จัดอยู่ในพิกัดเกสรทั้งเจ็ด


การบูร

การบูร

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Camphor Tree, Cinnamomum camphora (Linn.) Presl
ชื่อวงศ์ : LAURACEAE

รูปลักษณะ : การบูร เป็นไม้ยืนต้น สูง 10-15 เมตร กิ่งก้านเรียบเกลี้ยง ยอดอ่อนมีใบเกล็ดสีเหลืองแกมน้ำตาลหุ้ม ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปไข่ กว้าง 3-5 ซม. ยาว 5-8 ซม. มีกลิ่นหอม ดอกช่อออกที่ซอกใบ ดอกย่อยมีขนาดเล็ก สีนวล ผลเป็นผลสดขนาดเล็ก

สรรพคุณของ การบูร : เนื้อไม้ เมื่อนำเนื้อไม้มากลั่นไอน้ำ จะได้สารที่มีกลิ่นหอมเฉพาะตัว คือ การบูร (Camphor) ใช้ผสมในยาน้ำ มีสรรพคุณบำรุงธาตุ ขับเสมหะ ขับลม แก้จุกเสียดแน่นเฟ้อ แก้ปวดท้อง ท้องร่วง ขับเหงื่อ ใช้ผสมในยาหม่อง ยาขี้ผึ้ง ยาครีมทาแก้เคล็ดบวม ขัดยอก แพลง แก้พิษแมลงสัตว์กัดต่อย และโรคผิวหนังเรื้อรัง


กุหลาบมอญ

กุหลาบมอญ

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Damask Rose, Rosa damascena Mill.
ชื่อวงศ์ : ROSACEAE
ชื่ออื่น : ยี่สุ่น

รูปลักษณะ : กุหลาบมอญ เป็นไม้พุ่ม สูง 1-2 เมตร ลำต้นและกิ่งก้านมีหนามแหลม ใบประกอบแบบขนนก เรียงสลับ ใบย่อยรูปไข่ กว้าง 2-4 ซม. ยาว 3-6 ซม. ขอบใบหยักฟันเลื่อย ดอกช่อ ออกที่ปลายกิ่ง ดอกสีชมพู ผลเป็นผลกลุ่ม

สรรพคุณของ กุหลาบมอญ : กลีบดอกสด มีน้ำมันหอมระเหย ซึ่งใช้แต่งกลิ่นเครื่องสำอาง น้ำกุหลาบเป็นส่วนผสมของน้ำดอกไม้เทศ ใช้บรรเทาอาการอ่อนเพลีย และกระวนกระวาย กลีบดอกบำรุงหัวใจ ขับน้ำดี


จันทน์กระพ้อ

จันทน์กระพ้อ

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Vatica diospyroides Syming
ชื่อวงศ์ : DIPTEROCARPACEAE
ชื่ออื่น : เขี้ยวงูเขา, จันทน์พ้อ

รูปลักษณะ : จันทน์กระพ้อ เป็นไม้ยืนต้น สูง 6-15 เมตร ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปใบหอก หรือรูปใบหอกแกมขอบขนาน กว้าง 4-7 ซม. ยาว 15-20 ซม. ดอกช่อแยกแขนง ออกที่ซอกใบ กิ่งก้านและปลายกิ่ง ดอกย่อยจำนวนมาก กลีบดอกสีขาวนวล หรือสีเหลืองอ่อน มีกลิ่นหอมจัด ผลแห้ง รูปเกือบกลม สีน้ำตาล เปลือกแข็ง มีขนนุ่มละเอียด สีน้ำตาล

สรรพคุณของ จันทน์กระพ้อ : ดอก เข้ายาหอมแก้ลม บำรุงหัวใจ


จำปา

จำปา

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Orange Chempaka, Michelia champaca Linn.
ชื่อวงศ์ : MAGNOLIACEAE
ชื่ออื่น : จำปาเขา, จำปาทอง, จำปาป่า

รูปลักษณะ : จำปา เป็นไม้ยืนต้น สูง 15-25 เมตร ยอดอ่อนมีใบเกล็ดหุ้ม ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปไข่ รูปวงรี หรือรูปวงรีแกมขอบขนาน กว้าง 5-10 ซม. ยาว 12-20 ซม. ท้องใบมีขนนุ่ม ดอกเดี่ยวออกที่ซอกใบ กลีบดอกสีเหลืองส้ม กลิ่นหอม ผลเป็นผลกลุ่ม ผลย่อยติดบนแกนเป็นช่อยาว เมื่อแก่จะแตก

สรรพคุณของ จำปา : ดอก มีน้ำมันหอมระเหย ใช้ดอกแห้งปรุงยาหอม บำรุงหัวใจ บำรุงประสาท บำรุงโลหิต แก้คลื่นไส้ แก้ไข้ ขับปัสสาวะ จัดอยู่ในพิกัดเกสรทั้งเจ็ด รักษาโรคเรื้อนและหิด


จำปี

จำปี

ชื่อวิทยาศาสตร์ : While Chempaka, Michelia alba DC.
ชื่อวงศ์ : MAGNOLIACEAE

รูปลักษณะ : จำปี เป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็กถึงขนาดกลาง สูง 15-20 เมตร ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปขอบขนานแกมใบหอก หรือรูปไข่ กว้าง 4-9 ซม. ยาว 15-25 ซม. ดอกเดี่ยว ออกที่ซอกใบ กลีบรวม สีขาว กลิ่นหอม ผลเป็นผลกลุ่ม ผลย่อยรูปร่างเกือบเป็นทรงกลม แต่มักไม่ติดผล

สรรพคุณของ จำปี : ดอก ใช้เป็นยาบำรุงหัวใจ บำรุงประสาท บำรุงโลหิต กลีบดอกสด มีน้ำมันหอมระเหย ใช้ทาแก้ปวดศีรษะ ผล-ดอกและผล บำรุงธาตุ แก้คลื่นเหียน แก้ไข้ ขับปัสสาวะ เปลือกต้นแก้ไข้ แก่น บำรุงประจำเดือน


จำปีแขก

จำปีแขก

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Dwarf Chempaka, Michelia figo (Lour.) Spreng.
ชื่อวงศ์ : MAGNOLIACEAE
ชื่ออื่น : จำปาแขก

รูปลักษณะ : จำปีแขก เป็นไม้พุ่ม แตกกิ่งก้านมาก สูงได้ถึง 3 เมตร ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปขอบขนานแกมวงรี กว้าง 2-5 ซม. ยาว 3-10 ซม. ดอกเดี่ยว ออกที่ซอกใบ กลีบดอกสีขาวนวล กลิ่นหอมมาก ผลเป็นผลกลุ่ม ผลย่อยแตกได้ตามยาว

สรรพคุณของ จำปีแขก : ดอก มีน้ำมันหอมระเหย ใช้ปรุงเป็นยาบำรุงหัวใจ ราก แก้โรคกะบังลมเคลื่อน เปลือกราก ใช้เป็นยาเบื่อปลา


ชมพู่น้ำดอกไม้

ชมพู่น้ำดอกไม้

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Rose Apple, Syzygium jambos (Linn.) Alston
ชื่อวงศ์ : MYRTACEAE
ชื่ออื่น : ฝรั่งน้ำ, มะซามุด, มะน้ำหอม, มะห้าคอกลอก

รูปลักษณะ : ชมพู่น้ำดอกไม้ เป็นไม้ยืนต้น สูงได้ถึง 10 เมตร ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปขอบขนานแกมใบหอก กว้าง 3-4 ซม. ยาว 12-17 ซม. ดอกช่อกระจะ ออกที่ปลายกิ่ง ดอกย่อย 3-8 ดอก กลีบดอกสีขาวหรือเหลืองอ่อน ฐานรองดอกรูปกรวย เกสรตัวผู้จำนวนมาก ผลเป็นผลสด กินได้ รูปเกือบกลม เส้นผ่าศูนย์กลาง 5-6 ซม.

สรรพคุณของ ชมพู่น้ำดอกไม้ : ผล ใช้ปรุงเป็นยาหอม ชูกำลัง บำรุงหัวใจ แก้ลมปลายไข้ เปลือก, ต้น และเมล็ด แก้เบาหวานและแก้ท้องเสีย


ตะไคร้หอม

ตะไคร้หอม

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Citronella Grass, Cymbopogon nardus Rendle
ชื่อวงศ์ : POACEAE
ชื่ออื่น : ตะไคร้แดง, จะไคมะขูด, ตะไครมะขูด

รูปลักษณะ : ตะไคร้หอม เป็นไม้ล้มลุก อายุหลายปี สูง 0.75-1.2 เมตร แตกเป็นกอ เหง้าใต้ดินมีกลิ่นเฉพาะ ข้อและปล้องสั้นมาก กาบใบสีเขียวปนม่วงแดง ยาวและหนาหุ้มข้อและปล้องไว้แน่น ใบเดี่ยว เรียงสลับ กว้าง 2-3 ซม. ยาว 100 ซม. แผ่นใบและขอบใบสากและคม นิ่มกว่าใบตะไคร้เล็กน้อย ทำให้ปลายห้อยลงปรกดินกว่า ดอกช่อ สีน้ำตาลแดง แทงออกจากกลางต้น ผลแห้ง ไม่แตก

สรรพคุณของ ตะไคร้หอม : เหง้า ,ใบ และกาบ มีน้ำมันหอมระเหย ซึ่งมีขายในชื่อว่า Citronella Oil ใช้เป็นยาทากันยุง และเป็นสารแต่งกลิ่นในเครื่องสำอางบางชนิด


นมแมว

นมแมว

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Rauwenhoffia siamensis J. Sincl.
ชื่อวงศ์ : ANNONACEAE

รูปลักษณะ : นมแมว เป็นไม้พุ่มแกมเถา กิ่งอ่อนมีขนสีน้ำตาล น้ำมันหอมระเหยที่กลั่นจากดอกสด ใช้แต่งกลิ่น ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปขอบขนานแกมใบหอก กว้าง 2-3.5 ซม. ยาว 6-14 ซม. ดอกเดี่ยวออกที่กิ่งหรือปลายกิ่ง ดอกย่อย 2-5 ดอก กลีบสีเหลืองแกมเขียว มีขนละเอียด มีกลิ่นหอม ผลเป็นผลกลุ่ม ผลย่อยรูปทรงกลม เมื่อสุกเหลือง

สรรพคุณของ นมแมว : ดอก มีน้ำมันหอมระเหยที่มีกลิ่นเฉพาะตัว


นางแย้ม

นางแย้ม

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Volkameria fragrans Vent.
ชื่อวงศ์ : VERBENACEAE
ชื่ออื่น : ปิ้งชะมด, ปิ้งช้อน, ปิ้งสมุทร, ส้วนใหญ่

รูปลักษณะ : นางแย้ม เป็นไม้พุ่ม ลำต้นตั้งตรง สูง 1.5-3 เมตร ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปไข่กว้าง กว้าง 8-11 ซม. ยาว 12-16 ซม. ผิวใบมีขนละเอียดทั้งสองด้าน ดอกช่อ ออกที่ปลายกิ่ง ดอกย่อย ลักษณะคล้ายดอกมะลิซ้อน กลีบดอกสีขาว ด้านนอกสุดของช่อกลีบ ดอกสีม่วงแดงสลับขาว กลีบเลี้ยงสีม่วงแดง ไม่มีทั้งเกสรตัวผู้และเกสรตัวเมีย

สรรพคุณของ นางแย้ม : ราก ใช้เป็นยาขับปัสสาวะ แก้โรคไตพิการ (โรคในทางเดินปัสสาวะ มีปัสสาวะขุ่นข้น เหลืองหรือแดง มักมีอาการแน่นท้อง กินอาหารไม่ได้


บัวหลวง

บัวหลวง

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Lotus, Nelumbo mucifera Gaerth.
ชื่อวงศ์ : NELUMBONACEAE
ชื่ออื่น : บัว, สัตตบงกช, สัตตบุษย์, อุบล

รูปลักษณะ : บัวหลวง เป็นไม้น้ำอายุหลายปี มีเหง้าใต้ดินยาวและเป็นปล้อง ใบเดี่ยว รูปโล่ เส้นผ่าศูนย์กลาง 30-60 ซม. ผิวใบมีนวล ก้านใบยาวชูขึ้นเหนือน้ำ ดอกเดี่ยว แทงออกจากเหง้า ด้านดอกยาว ชูดอกขึ้นเหนือน้ำ กลีบดอกสีขาวหรือชมพู เกสรตัวผู้สีเหลืองจำนวนมาก ติดอยู่รอบฐานดอกรูปกรวย ผลแห้ง รูปรี จำนวนมาก ฝังอยู่ในฐานรองดอก

สรรพคุณของ บัวหลวง : เกสร เกสรบัวหลวง เป็นสมุนไพรชนิดหนึ่งในพิกัดเกสรทั้งห้า ใช้ผสมในยาหอมบำรุงหัวใจ บำรุงกำลัง แก้อาการหน้ามืด วิงเวียนศีรษะ


บุนนาค

บุนนาค

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Iron Wood, Mesua ferrea Linn.
ชื่อวงศ์ : CLUSIACEAE
ชื่ออื่น : สารภีดอย

รูปลักษณะ : บุนนาค เป็นไม้ยืนต้น สูง 10-15 เมตร ลำต้นตรง ใบอ่อนสีแดง ใบเดี่ยว รูปใบหอก กว้าง 2-4 ซม. ยาว 7-12 ซม. เนื้อในบาง เหนียว ดอกเดี่ยวหรือออกเป็นคู่ที่ซอกใบและปลายกิ่ง กลีบดอกสีขาว มีเกสรตัวผู้สีเหลืองจำนวนมาก กลิ่นหอมเย็น ผลเป็นผลสด

สรรพคุณของ บุนนาค : ดอกสด มีน้ำมันหอมระเหย ดอกแห้ง จัดอยู่ในพิกัดเกสรทั้งห้า ใช้เป็นยาฝาดสมาน บำรุงธาตุและขับลม บำรุงโลหิต บำรุงหัวใจ


พวงไข่มุก

พวงไข่มุก

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Sambucus simpsonii Rehd.
ชื่อวงศ์ : SAMBUCACEAE

รูปลักษณะ : พวงไข่มุก เป็นไม้พุ่ม ลำต้นตั้งตรง สูงได้ถึง 4 เมตร ใบประกอบแบบขนนก เรียงตรงข้าม ใบย่อย 2-6 คู่ รูปขอบขนานแกมใบหอกหรือรูปไข่แกมใบหอก กว้าง 2-5 ซม. ยาว 6-15 ซม. ขอบใบหยักฟันเลื่อย ดอกช่อ ออกที่ปลายกิ่ง ดอกย่อยจำนวนมาก กลีบดอกสีขาว ขนาดเล็ก ผลสด รูปทรงกลม สีม่วงเข้ม

สรรพคุณของ พวงไข่มุก : ดอกสด มีกลิ่นหอม ตำรายาล้านนา ใช้ผสมกับสมุนไพรอื่นๆ หมกประคบแก้มือเท้าเคล็ด


พิกุล

พิกุล

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Bullet Wood, Mimusops elengi Linn.
ชื่อวงศ์ : SAPOTACEAE
ชื่ออื่น : กุน, แก้ว, ซางดง, พิกุลป่า

รูปลักษณะ : พิกุล เป็นไม้ยืนต้น สูง 10-25 เมตร ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปไข่หรือรูปวงรี กว้าง 3-6 ซม. ยาว 5-12 ซม. ขอบใบเป็นคลื่น ดอกเดี่ยวหรือออกเป็นกระจุก 2-6 ดอก ที่ซอกใบ กลีบดอกสีนวล กลิ่นหอม ผลเป็นผลสด รูปไข่

สรรพคุณของ พิกุล : ดอก ดอกมีกลิ่นหอม จัดอยู่ในพิกัดเกสรทั้งห้า เข้ายาหอม บำรุงหัวใจ แก้เจ็บคอ น้ำมันหอมระเหยจากดอก ใช้ทาแก้ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ เปลือกต้น ต้มอมกลั้วคอ แก้โรคเหงือกอักเสบ เนื้อไม้ เนื้อไม้ที่ราลง มีน้ำตาลเข้มประขาว มีกลิ่นหอม เรียกว่า &Quot;ขอนดอก&Quot; ใช้บำรุงตับ ปอด หัวใจ และบำรุงครรภ์


พิมเสนต้น

พิมเสนต้น

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Pogostemon cablin (Blanco) Benth.
ชื่อวงศ์ : LAMIACEAE

รูปลักษณะ : พิมเสนต้น เป็นไม้ล้มลุก สูง 30-75 ซม. ทุกส่วนมีกลิ่นหอม ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปไข่ กว้าง 5-8 ซม. ยาว 7-10 ซม. ขอบใบหยักมน ดอกช่อ ออกที่ซอกใบและปลายกิ่ง กลีบดอกสีขาวประม่วง ผลแห้ง ไม่แตก

สรรพคุณของ พิมเสนต้น : ใบ ใบและต้นมีกลิ่นหอม ยาไทยใช้ใบปรุงเป็นยาลดไข้


มณฑา

มณฑา

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Magnolia, Talauma candollii Bl.
ชื่อวงศ์ : MAGNOLIACEAE
ชื่ออื่น : ยี่หุบ, จอมปูน, จำปูนช้าง

รูปลักษณะ : มณฑา เป็นไม้พุ่ม สูง 2-3 เมตร ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปใบหอก กว้าง 8-12 ซม. ยาว 15-18 ซม. ดอกเดี่ยว ออกที่ซอกใบใกล้ปลายกิ่ง สีเหลืองอ่อน มีกลิ่นหอม ผลเป็นผลกลุ่ม

สรรพคุณของ มณฑา : ดอกสด มีน้ำมันหอมระเหย ทำให้มีกลิ่นหอมเฉพาะตัว


มะลิฝรั่งเศส

มะลิฝรั่งเศส

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Spanish Jasmine, Catalonian Jasmine, Jasminum officinale Linn. f. var.grandiflorum (Linn.) Kob.
ชื่อวงศ์ : OLEACEAE
ชื่ออื่น : จัสมิน, พุทธชาดก้านแดง

รูปลักษณะ : มะลิฝรั่งเศส เป็นไม้เถา ใบประกอบแบบขนนก ใบย่อย5-7 ใบ รูปไข่ กว้าง 1-1.5 ซม. ยาว 1.5-2 ซม. ดอกช่อแยกแขนง ออกที่ซอกใบและปลายกิ่ง กลีบดอกสีขาว เชื่อมติดกันเป็นหลอดยาว หลังกลีบสีแดง มีกลิ่นหอม

สรรพคุณของ มะลิฝรั่งเศส : ดอกสด มีน้ำมันหองระเหย ที่มีกลิ่นหอมเฉพาะตัว กลั่นไอน้ำทำเป็นหัวน้ำหอม สำหรับแต่งกลิ่นเครื่องสำอาง


มะลิลา

มะลิลา

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Arabian Jasmine, Jasminum sambac Ait.
ชื่อวงศ์ : OLEACEAE
ชื่ออื่น : มะลิซ้อน, ข้าวแตก, มะลิ, มะลิขี้ไก่, มะลิป้อม, มะลิหลวง

รูปลักษณะ : มะลิลา เป็นไม้พุ่ม สูง 1-2 เมตร ใบประกอบ ชนิดมีใบย่อยใบเดียว เรียงตรงข้าม รูปไข่ รูปวงรีหรือรูปวงรีแกมขอบขนาน กว้าง 3-6 ซม. ยาว 5-10 ซม. สีเขียวแกมเหลือง ดอกช่อ ออกที่ปลายกิ่งและซอกใบ กลีบดอกสีขาว กลิ่นหอม มะลิลามีกลีบดอกชั้นเดียว ส่วนมะลิซ้อนมีกลีบดอกซ้อนกันหลายชั้น ผลเป็นผลสด

สรรพคุณของ มะลิลา : ดอกแห้ง จัดอยู่ในพิกัดเกสรทั้งห้า ใช้ปรุงยาหอม ทำให้จิตใจชุ่มชื่น แก้ไข้


ยี่หุบ

ยี่หุบ

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Magnolia coco (Lour.) DC.
ชื่อวงศ์ : MAGNOLIACEAE
ชื่ออื่น : ยี่หุบหน, ยี่หุบน้อย

รูปลักษณะ : ยี่หุบ เป็นไม้พุ่ม สูง 2-4 เมตร ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปใบหอก กว้าง 6-8 ซม. ยาว 10-15 ซม. ดอกเดี่ยวหรือ ออกเป็นช่อสั้นๆ ซอกใบใกล้ปลายกิ่ง กลีบดอกสีขาวนวล มีกลิ่นหอม ผลเป็นผลกลุ่ม

สรรพคุณของ ยี่หุบ : ดอกสด มีน้ำมันหอมระเหย ทำให้มีกลิ่นหอมเฉพาะตัว


ลั่นทมขาว

ลั่นทมขาว

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Evergreen Frangipani, Graveyard Flower, Plumeria obtusa Linn.
ชื่อวงศ์ : APOCYNACEAE

รูปลักษณะ : ลั่นทมขาว เป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก สูง 3-6 เมตร ทุกส่วนมีน้ำยางขาว ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปใบหอกกลับ กว้าง 5-8 ซม. ยาว 20-32 ซม. ดอกช่อ กระจุกแยกแขนง ออกที่ปลายกิ่ง ดอกย่อยหลายดอก กลีบดอกสีขาว เชื่อมติดกันเป็นหลอดรูปกรวย มีกลิ่นหอม ผลแห้งเป็นฝักคู่สีม่วงแกมน้ำตาล เมล็ดมีขนสีขาว

สรรพคุณของ ลั่นทมขาว : ฝัก ใช้ฝนทาแก้ริดสีดวงทวาร


ลั่นทมแดง

ลั่นทมแดง

ชื่อวิทยาศาสตร์ : West Indian Red Jasmine, Plumeria rubar Linn.
ชื่อวงศ์ : APOCYNACEAE

รูปลักษณะ : ลั่นทมแดง เป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก สูง 3-6 เมตร ทุกส่วนมีน้ำยางขาว ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปใบหอกกลับ กว้าง 5-10 ซม. ยาว 20-25 ซม. ดอกช่อ กระจุกแยกแขนง ออกที่ปลายกิ่ง ดอกย่อยหลายดอก กลีบดอกสีแดง เชื่อมติดกันเป็นหลอดรูปกรวย มีกลิ่นหอม ผลแห้งเป็นฝักคู่สีม่วงแกมน้ำตาล เมล็ดมีขนสีขาว

สรรพคุณของ ลั่นทมแดง : ฝัก ใช้ฝนทาแก้ริดสีดวงทวาร เช่นเดียวกับฝักลั่นทมขาว


ลำดวน

ลำดวน

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Melodorum fruticosum Lour.
ชื่อวงศ์ : ANNONACEAE
ชื่ออื่น : หอมนวล

รูปลักษณะ : ลำดวน เป็นไม้ยืนต้น สูงได้ถึง 8 เมตร ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปใบหอกแกมขอบขนาน กว้าง 2-3 ซม. ยาว 7-15 ซม. ดอกเดี่ยว ออกที่ซอกใบ กลีบดอกสีเหลืองนวล หนา ผลเป็นผลกลุ่ม

สรรพคุณของ ลำดวน : ดอกแห้งจัดอยู่ในพิกัดเกสรทั้งเก้า เป็นยาบำรุงกำลัง บำรุงหัวใจ บำรุงโลหิต แก้ลม


สะระแหน่ญี่ปุ่น

สะระแหน่ญี่ปุ่น

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Japanese Mint, Mentha arvensis Linn. var.piperascens Malinvaud
ชื่อวงศ์ : LAMIACEAE

รูปลักษณะ : สะระแหน่ญี่ปุ่น เป็นไม้ล้มลุกอายุหลายปี สูงได้ถึง 60 ซม. ลำต้นสี่เหลี่ยมเลื้อยแผ่ไปตามดิน ทุกส่วนมีกลิ่นเฉพาะ ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปไข่หรือรูปใบหอก กว้าง 2-3.5 ซม. ยาว 3-6 ซม. ขอบใบหยักฟันเลื่อยห่างๆ ดอกช่อ ออกที่ซอกใบใกล้ปลายยอด กลีบดอกสีม่วง ผลแห้ง มี 4 ผลย่อย ขนาดเล็ก

สรรพคุณของ สะระแหน่ญี่ปุ่น : ต้นและใบ น้ำมันหอมระเหยที่กลั่นจากต้นและใบ เรียกว่า &Quot;น้ำมันสะระแหน่ญี่ปุ่น&Quot; มีส่วนประกอบหลักเป็นสารเมนทอล (Menthol) ใช้เป็นยาขับลม และสารแต่งกลิ่นยา อาหารและยาสีฟัน ใช้เป็นยาภายนอก บรรเทาอาการปวดเมื่อย


สายหยุด

สายหยุด

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Desmos chinensis Lour.
ชื่อวงศ์ : ANNONACEAE
ชื่ออื่น : กล้วยเครือ, เครือเขาแกลบ, สาวหยุด, เสลาเพชร

รูปลักษณะ : สายหยุด เป็นไม้พุ่มรอเลื้อย สูง 1-5 เมตร กิ่งอ่อนมีขนสีน้ำตาลหนาแน่น กิ่งแก่เกลี้ยง สีดำ มีช่องอากาศจำนวนมาก ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปขอบขนานแกมใบหอก กว้าง 3-7 ซม. ยาว 6-15 ซม. ผิวใบด้านบนเป็นมัน ท้องใบมีนวล ดอกเดี่ยว ออกที่ซอกใบ เริ่มแรกสีเขียวต่อมาเปลี่ยนเป็นสีเหลือง มีกลิ่นหอม ผลเป็นผลกลุ่ม ผลย่อยคล้ายสร้อยลูกปัด คอดเป็นข้อๆ มีได้ถึง 7 ข้อ เมื่อสุกสีดำเป็นมัน ห้อยลง

สรรพคุณของ สายหยุด : ดอกสด มีน้ำมันหอมระเหย ทำให้มีกลิ่นหอมเฉพาะตัว เข้ายาหอมบำรุงหัวใจ ต้นและราก ใช้เข้ายาอบ รักษาอาการติดยาเสพติด


สารภี

สารภี

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Mammea siamensis Kosterm.
ชื่อวงศ์ : CLUSIACEAE
ชื่ออื่น : ทรพี, สร้อยพี, สารภีแนน

รูปลักษณะ : สารภี เป็นไม้ยืนต้น สูง 10-15 เมตร ใบเดี่ยว เรียงตรงข้ามรูปไข่ กลับแกมขอบขนาน กว้าง 4-5 ซม. ยาว 10-15 ซม. เนื้อใบค่อนข้างเหนียวและหนา ดอกเดี่ยวหรือช่อ ออกเป็นกระจุกตามกิ่ง กลีบดอกสีขาว กลิ่นหอม ร่วงง่าย มีเกสรตัวผู้สีเหลืองจำนวนมาก ผลเป็นผลสด รูปกระสวย

สรรพคุณของ สารภี : ดอกแห้ง ตำรายาไทยใช้ดอกแห้งปรุงยาหอม บำรุงหัวใจให้ชุ่มชื่น ชูกำลัง จัดอยู่ในพิกัดเกสรทั้งห้า


อบเชย

อบเชย

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Cinnamomum sp.
ชื่อวงศ์ : LAURACEAE

รูปลักษณะ : อบเชย เป็นไม้ยืนต้น สูง 4-10 เมตร เปลือกต้นและใบมีกลิ่นหอม ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปวงรีหรือรูปวงรีแกมขอบขนาน กว้าง 3-6 ซม. ยาว 7-13 ซม. มีเส้นใบหลัก 3 เส้น ดอกช่อ ออกที่ซอกใบและที่ปลายกิ่ง ดอกย่อยขนาดเล็ก สีเหลืองอ่อน ผลเป็นผลสด

สรรพคุณของ อบเชย : เปลือกต้น กลั่นไอน้ำได้น้ำมันอบเชย ปรุงผสมในยาน้ำ แก้จุกเสียด แน่นท้อง ปรุงผสมเป็นยาหอมและยานัตถุ์ ทำให้สดชื่น แก้อ่อนเพลีย


แฝกหอม

แฝกหอม

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Vetiveria zizanioides (Linn.) Nash ex Small
ชื่อวงศ์ : POACEAE
ชื่ออื่น : แกงหอม, แคมหอม, แฝก, หญ้าแฝกหอม

รูปลักษณะ : แฝกหอม เป็นไม้ล้มลุก อายุหลายปี สูง 1-2 เมตร รากมีกลิ่นหอม ใบเดี่ยว เรียงสลับ แทงออกจากเหง้าใต้ดิน กว้างประมาณ 8 มม. ยาว 120 ซม. ดอกช่อ ออกที่ปลายยอด สีม่วงอมเขียว ผลแห้ง ไม่แตก

สรรพคุณของ แฝกหอม : ราก มีกลิ่นหอมเฉพาะตัว ใช้เป็นยาขับลมในลำไส้ แก้ปวดท้องจุกเสียด ท้องอืด ลดไข้และขับปัสสาวะ




พืชสมุนไพร ประเภท ยาขับน้ำนม


กานพลู

กานพลู

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Clove, Syzygium aromaticum (Linn.) Merr. et Perry (Eugenia caryophylta) (Spreng.) Bullock et Harrison)
ชื่อวงศ์ : MYRTACEAE

รูปลักษณะ : กานพลู เป็นไม้ยืนต้น สูง 5-10 เมตร ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปวงรีหรือรูปใบหอก กว้าง 2.5-4 ซม. ยาว 6-10 ซม. ขอบเป็นคลื่น ใบอ่อนสีแดงหรือน้ำตาลแดง เนื้อใบบาง ค้อนข้างเหนียว ผิวมัน ดอกช่อ ออกที่ซอกใบ กลีบดอกสีขาวและร่วงง่าย กลีบเลี้ยงและฐานดอกสีแดง หนา แข็ง ผลสด รูปไข่

สรรพคุณของ กานพลู : ดอกตูมแห้ง ใช้แช่เหล้า เอาสำลีชุบอุดรูฟัน แก้ปวดฟัน หรือใช้ขนาด 5-8 ดอก ชงน้ำเดือด ดื่มเฉพาะส่วนน้ำ หรือใช้เคี้ยวแก้ท้องเสีย ขับลม แก้ท้องอืดเฟ้อ ขับน้ำนม นอกจากนี้ ใช้ผสมในยาอมบ้วนปากดับกลิ่นปาก พบว่าในน้ำมันหอมระเหยที่กลั่นจากดอก มีสาร Eugenol ซึ่งมีฤทธิ์เป็นยาชาเฉพาะที่ จึงใช้แก้ปวดฟัน มีฤทธิ์ลดอาการปวดท้อง ขับน้ำดี ลดอาการจุกเสียดที่เกิดจากการย่อยไม่สมบูรณ์ กระตุ้นให้มีการหลั่งเมือก และลดความเป็นกรดในกระเพาะอาหาร ช่วยขับน้ำนม

กุยช่าย

กุยช่าย

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Chinese Chives, Allium tuberosum Rottl. ex Spreng.
ชื่อวงศ์ : ALLIACEAE

รูปลักษณะ : กุยช่าย เป็นไม้ล้มลุก ลำต้นเป็นใบเกล็ดรูปทรงกระบอก เรียวยาว สูง 20-30 ซม. ดอกช่อ ออกที่ซอกใบ ก้านดอกยาว 30-45 ซม. กลีบรวมสีขาว ใบประดับเป็นเยื่อบางๆ ผลแห้ง แตกได้ มี 3 พู

สรรพคุณของ กุยช่าย : ทั้งต้น ใช้ทั้งต้นกินเป็นผักช่วยขับน้ำนม


ผักเป็ดแดง

ผักเป็ดแดง

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Joyweed, Alternanthera bettzickiana (Regel) Nichols.
ชื่อวงศ์ : AMARANTHACEAE
ชื่ออื่น : ผักเป็ดฝรั่ง, พรมมิแดง, ผักโหมแดง

รูปลักษณะ : ผักเป็ดแดง เป็นไม้ล้มลุกอายุหลายปี ลำต้นตั้งตรง สูง 10-20 ซม. ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปสีเหลี่ยมขนมเปียกปูน หรือรูปใบหอกกลับ กว้าง 0.5-1.5 ซม. ยาว 1-5 ซม. สีแดง ดอกช่อ รูปกระบอก หรือทรงกลมออกที่ซอกใบและปลายกิ่ง กลีบรวมสีขาวนวล ผลแห้ง รูปคล้ายโล่ เมล็ดสีน้ำตาล

สรรพคุณของ ผักเป็ดแดง : ทั้งต้น รับประทานเป็นผักช่วยขับน้ำนม ต้มกับน้ำรับประทานเป็นยาแก้ไข้ ตำพอกรักษาแผล


ละหุ่ง

ละหุ่ง

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Castor Oil Plant, Castor Bean, Ricinus communis Linn.
ชื่อวงศ์ : EUPHORBIACEAE
ชื่ออื่น : มะละหุ่ง, มะโห่ง, มะโห่งหิน, ละหุ่งแดง

รูปลักษณะ : ละหุ่ง เป็นไม้พุ่ม สูง 1-4 เมตร ใบเดี่ยว รูปผ่ามือกว้างและยาว 15-30 ซม. ดอกช่อ ออกที่ปลายยอด แยกเพศ อยู่ในช่อเดียวกัน ไม่มีกลีบดอก ผลแห้ง แตกได้ มี 3 พู เปลือกเมล็ดสีน้ำตาล มีหลายชนิด ขึ้นกับพันธุ์ละหุ่ง

สรรพคุณของ ละหุ่ง : ใบ เป็นยาขับน้ำนม แก้ช้ำรั่ว (อาการกลั้นปัสสาวะไม่อยู่) ราก สุมไฟให้เป็นถ่าน ใช้เป็นยาแก้พิษ แก้ไข้เซื่องซึม


เร่ว

เร่ว

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Alpinia allughas Rosc.
ชื่อวงศ์ : ZINGIBERACEAE
ชื่ออื่น : กะลา, ข่าน้ำ

รูปลักษณะ : เร่ว เป็นไม้ล้มลุก มีเหง้าใต้ดิน กลิ่นหอม แตกกอ สูงได้ถึง 1 เมตร ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปขอบขนาน หรือรูปขอบขนานแกมใบหอก กว้าง 4-7 ซม. ยาว 12-20 ซม. ผิวใบสีเขียวเข้มเป็นมัน ก้านใบเป็นแผ่น เรียงอัดแน่นคล้ายลำต้นบนดิน สีเขียว ดอกช่อ ออกที่ปลายยอด กลีบดอกสีขาว เกสรตัวผู้ที่เป็นหมัน แผ่เป็นแผ่นคล้ายกลีบดอกสีขาว มีลายเส้นตามขวาง สีน้ำตาลส้ม ผลแห้งแตกได้ รูปทรงกลม เมล็ดสีน้ำตาลเข้ม มีกลิ่นหอม

สรรพคุณของ เร่ว : เมล็ด มีรสเผ็ดเล็กน้อย ใช้เป็นยาขับน้ำนม แก้คลื่นไส้ อาเจียน ขับลม


ไทรย้อยใบแหลม

ไทรย้อยใบแหลม

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Ficus benjamina Linn.
ชื่อวงศ์ : MORACEAE
ชื่ออื่น : ไทร, ไทรกระเบื้อง, ไทรย้อย

รูปลักษณะ : ไทรย้อยใบแหลม เป็นไม้ยืนต้น สูงได้ถึง 10 เมตร มีรากอากาศ น้ำยางขาว ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปวงรี รูปใบหอกหรือรูปไข่แกมวงรี กว้าง 1.5-6 ซม. ยาว 3-12 ซม. ดอกช่อ เกิดภายในฐานรองดอก ที่มีรูปร่างกลมคล้ายผล ออกเป็นคู่ที่ซอกใบ แยกเพศอยู่ในช่อเดียวกัน ผลสด รูปกระสวย รูปไข่ รูปไข่กลับหรือรูปค่อนข้างกลม เมื่อสุกเปลี่ยนเป็นสีเหลือง ส้มและแดงเข้มตามลำดับ

สรรพคุณของ ไทรย้อยใบแหลม : ราก เป็นยาบำรุงน้ำนม รากอากาศขับปัสสาวะ แก้ไตพิการ (โรคเกี่ยวกับทางเดินปัสสาวะ มีปัสสาวะขุ่นข้น เหลืองหรือแดง มักมีอาการแน่นท้อง กินอาหารไม่ได้) ปัสสาวะพิการ (อาการปัสสาวะปวด หรือกะปริบกะปรอย หรือขุ่นข้น สีเหลืองเข้ม หรือมีเลือด) แก้กษัย (อาการป่วยที่เกิดจากหลายสาเหตุ ทำให้ร่างกายเสื่อมโทรม ซูบผอม โลหิตจาง ปวดเมื่อย)


พืชสมุนไพร ประเภท ยาขับประจำเดือน
กระบือเจ็ดตัว

กระบือเจ็ดตัว

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Excoecaria cochinchinensis Lour.
ชื่อวงศ์ : EUPHORBIACEAE
ชื่ออื่น : กะเบือ, กำลังกระบือ, ลิ้นกระบือ

รูปลักษณะ : กระบือเจ็ดตัว เป็นไม้พุ่ม สูง 0.5-1.5 เมตร ใบเดี่ยว เรียงสลับเวียนรอบกิ่ง รูปใบหอก หรือรูปใบหอกแกมรูปไข่ กว้าง 2-4.5 ซม. ยาว 4-13 ซม. หลังใบสีเขียว ท้องใบสีแดง ดอกช่อ ออกที่ปลายกิ่ง แยกเพศ ช่อดอกตัวผู้มีดอกย่อยจำนวนมาก ช่อดอกตัวเมีย มีเพียง 2-3 ดอก ผลแห้ง แตกได้ มี 3 พู

สรรพคุณของ กระบือเจ็ดตัว : ใบ ใช้ใบตำกับเหล้าคั้นน้ำ กินเป็นยาขับเลือด และน้ำคาวปลาหลังคลอด การทดลองในสัตว์ พบว่าสารสกัดด้วย แอลกอฮอล์มีฤทธิ์บีบมดลูก

ยอ

ยอ

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Indian Mulberry, Morinda citrifolia Linn.
ชื่อวงศ์ : RUBIACEAE
ชื่ออื่น : มะตาเสือ, ยอบ้าน

รูปลักษณะ : ยอ เป็นไม้พุ่ม สูง 2-6 เมตร ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปวงรี กว้าง 8-15 ซม. ยาว 10-20 ซม. หูใบอยู่ระหว่างโคนก้านใบ ดอกช่อ ออกที่ซอกใบ ฐานดอกอัดกันแน่น เป็นรูปทรงกลม กลีบดอกสีขาว ผลเป็นผลสด เชื่อมติดกันเป็นผลรวม ผิวเป็นตุ่มพอง

สรรพคุณของ ยอ : ผล ตำรายาของเวียดนาม ระบุว่า ผลเป็นยาขับเลือดต่างๆ ขับประจำเดือนด้วย ยาไทยใช้ผลสดดิบหรือห่าม ฝานเป็นชิ้นบาง ย่างหรือคั่วไปอ่อนๆ ให้เหลือง ต้มหรือชงกับน้ำดื่ม แก้คลื่นไส้อาเจียน สารที่ออกฤทธิ์คือ Asperuloside

ว่านชักมดลูก

ว่านชักมดลูก

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Curcuma xanthorrhiza Roxb.
ชื่อวงศ์ : ZINGIBERACEAE

รูปลักษณะ : ว่านชักมดลูก เป็นไม้ล้มลุก สูงได้ถึง 1 เมตร หัวใต้ดินขนาดใหญ่ อาจยาวถึง 10 ซม. เนื้อสีส้มถึงสีส้มแดง ใบเดี่ยว เรียงสลับ ออกเป็นกระจุกเหนือดิน รูปวงรีหรือรูปวงรีแกมใบหอก กว้าง 15-20 ซม. ยาว 40-90 ซม. มีแถบสีม่วงกว้างได้ถึง 10 ซม. บริเวณกลางใบ ดอกช่อเชิงลด ออกที่บริเวณกาบใบ ก้านดอกยาว 15-20 ซม. กลีบดอกสีแดงอ่อน ใบประดับสีม่วง เกสรตัวผู้ที่เป็นหมัน แปรรูปคล้ายกลีบดอกสีเหลือง ผลแห้ง แตกได้

สรรพคุณของ ว่านชักมดลูก : เหง้า ใช้เหง้ารักษาอาการประจำเดือนมาผิดปกติ ช่วยย่อยอาหาร

เจตมูลเพลิงขาว

เจตมูลเพลิงขาว

ชื่อวิทยาศาสตร์ : White-colored Leadwort, Plumbago zeylanica Linn.
ชื่อวงศ์ : PLUMBAGINACEAE
ชื่ออื่น : ปิดปิวขาว

รูปลักษณะ : เจตมูลเพลิงขาว เป็นไม้พุ่ม ลำต้นตั้งตรง หรือพาดพันบนต้นไม้อื่นๆ สูง 1-2 เมตร ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปไข่แกมขอบขนาน หรือรูปขอบขนาน กว้าง 2-5 ซม. ยาว 3-9 ซม. สีเขียวแกมเหลือง ดอกช่อ ออกที่ปลายกิ่ง ดอกย่อยหลายดอก กลีบดอกสีขาว เกสรตัวผู้สีม่วงน้ำเงิน กลีบเลี้ยงมีต่อมน้ำหวานติดมือ ผลแห้ง รูปขอบขนาน แตกได้เป็น 5 ปาก มีร่องตามยาว

สรรพคุณของ เจตมูลเพลิงขาว : ลำต้น, ราก มีรสร้อน ใช้แทนรากเจตมูลเพลิงแดงได้ มีสรรพคุณขับประจำเดือน ขับลมในกระเพาะ และลำไส้ ขับประจำเดือน แก้ริดสีดวงทวาร เข้ายาบำรุงธาติ บำรุงโลหิต สารสกัดจากรากมีฤทธิ์บีบมดลูก และมีฤทธิ์ต้านการเจริญเติบโต ของแบคทีเรีย และเชื้อรา สาร Plumbagin ที่แยกได้จากรากมีฤทธิ์ต้านเซลล์มะเร็ง ลดไขมันในเลือด และยับยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรีย

เจตมูลเพลิงแดง

เจตมูลเพลิงแดง

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Rose-colored Leadwort, Plumbago indica Linn.
ชื่อวงศ์ : PLUMBAGINACEAE
ชื่ออื่น : ปิดปิวแดง, ไฟใต้ดิน

รูปลักษณะ : เจตมูลเพลิงแดง เป็นไม้พุ่ม สูง 0.8-1.5 เมตร ลำต้นกลมเรียบ มีสีแดงบริเวณข้อ ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปไข่แกมวงรี กว้าง 3-5 ซม. ยาว 6-10 ซม. ดอกช่อ ออกที่ปลายกิ่ง กลีบเลี้ยงมีต่อม ซึ่งเมื่อจับจะรู้สึกเหนียว กลีบดอกสีแดง ผลแห้ง แตกได้

สรรพคุณของ เจตมูลเพลิงแดง : รากแห้ง ใช้ขับประจำเดือน กระจายลม บำรุงธาตุ รักษาโรคริดสีดวงทวาร พบว่ามีสาร Plumbagin ซึ่งมีฤทธิ์กระตุ้นการบีบตัวของมดลูกและลำไส้ ช่วยให้มีการหลั่งน้ำย่อยเพิ่มขึ้น เพิ่มความอยากอาหาร แต่ควรระวังในการใช้ เนื่องจาก Plumbagin ระคายเคืองต่อทางเดินอาหาร และอาจเป็นพิษได้




พืชสมุนไพร ประเภท ยาถ่าย ยาระบาย


ขี้เหล็ก

ขี้เหล็ก

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Cassod Tree, Thai Copper Pod, Senna Siamea (Lamk.) H.S.Irwin et R.C.Bameby (Cassia siamea Lamk.)
ชื่อวงศ์ : FABACEAE
ชื่ออื่น : ขี้เหล็กแก่น, ขี้เหล็กบ้าน, ขี้เหล็กหลวง, ขี้เหล็กใหญ่

รูปลักษณะ : ขี้เหล็ก เป็นไม้ยืนต้น สูง 10-15 เมตร ใบประกอบแบบขนนก เรียงสลับ ใบย่อยรูปขอบขนาน กว้างประมาณ 1.5 ซม. ยาว 4 ซม. ใบอ่อนมีขนสีน้ำตาลแกมเขียว ดอกช่อ ออกที่ปลายกิ่ง กลีบดอกสีเหลือง ผลเป็นฝัก แบบยาวและหนา

สรรพคุณของ ขี้เหล็ก : ใบอ่อน, ดอกตูมและแก่น มีสารกลุ่มแอนทราควิโนนหลายชนิด จึงมีฤทธิ์เป็นยาระบาย ใช้ใบอ่อนครั้งละ 2-3 กำมือ ต้มกับน้ำ 1-1.5 ถ้วย เติมเกลือเล็กน้อย ดื่มก่อนอาหารเช้าครั้งเดียว นอกจากนี้ยังพบสารซึ่งมีฤทธิ์กดประสาทส่วนกลาง ทำให้นอนหลับ โดยใช้วิธีนำมาดองเหล้า ดื่มก่อนนอน


คูน

คูน

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Golden Shower Tree, Purging Cassia, Cassia fislula Linn.
ชื่อวงศ์ : FABACEAE
ชื่ออื่น : ราชพฤกษ์, ลมแล้ง

รูปลักษณะ : คูน เป็นไม้ยืนต้น สูง 5-15 เมตร ใบประกอบแบบขนนก เรียงสลับ ใบย่อยรูปไข่หรือรูปวงรี กว้าง 4-8 ซม. ยาว 7-12 ซม. ดอกช่อ ออกที่ปลายกิ่ง ห้อยเป็นโคมระย้า กลีบดอกสีเหลือง ผลเป็นฝักกลม สีน้ำตาลเข้มหรือดำ เปลือกแข็ง ผิวเรียบ ภายในมีผนังกั้นเป็นห้อง แต่ละห้องมีเมล็ด 1 เมล็ด มีเนื้อหุ้มเมล็ดสีดำเหนียว

สรรพคุณของ คูน : เนื้อหุ้มเมล็ดสีดำ มีกลุ่มสารแอนทราคิวโนน เป็นยาระบาย โดยใช้ขนาดก้อนเท่าหัวแม่มือ (ประมาณ 4 กรัม) ต้มกับน้ำ ใส่เกลือเล็กน้อย ดื่มก่อนนอน ดอก เป็นยาระบาย และแก้ไข้


ชุมเห็ดเทศ

ชุมเห็ดเทศ

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Seven Golden Candle Stick, Ringworm Bush, Senna alata (Linn.) H.S.Irwin et R.C.Barneby (Cassia alata Linn.)
ชื่อวงศ์ : FABACEAE
ชื่ออื่น : ขี้คาก, ลับมืนหลวง, หมากกะลิงเทศ, ชุมเห็ดใหญ่

รูปลักษณะ : ชุมเห็ดเทศ เป็นไม้พุ่มสูง 1-3 เมตร แตกกิ่งออกด้านข้างในแนวขนานกับพื้น ใบประกอบแบบขนนก เรียงสลับ ใบย่อยรูปขอบขนาน รูปวงรีแกมขอบขนาน หรือรูปไข่กลับ กว้าง 3-7 ซม. ยาว 6-15 ซม. หูใบเป็นรูปสามเหลี่ยม ดอกช่อ ออกที่ซอกใบตอนปลายกิ่ง กลีบดอกสีเหลืองทอง ใบประดับสีน้ำตาลแกมเหลือง หุ้มดอกย่อยเห็นชัดเจน ผลเป็นฝัก มีครีบ 4 ครีบ เมล็ดแบน รูปสามเหลี่ยม

สรรพคุณของ ชุมเห็ดเทศ : ใบสด ใช้เป็นยารักษากลากเกลื้อนได้ผลดี โดยตำแช่เหล้า เอาส่วนน้ำเหล้าทาบริเวณที่เป็นวันละ 2-3 ครั้ง จนกว่าจะหาย พบว่าผู้ป่วยที่ติดเชื้อราที่ผม และเล็บใช้ไม่ได้ผลใบและดอก มีสารกลุ่มแอนทราควิโนน เช่น Rhein, Emodin และ Aloeemodin ใช้เป็นยาระบาย ที่กระตุ้นการบีบตัวของลำไส้ใหญ่ ต้มใบแห้งครั้งละ 12 ใบ หรือชงน้ำดื่มก่อนนอน หรือทำเป็นยาลูกกลอน หรือใช้ดอกสด 2-3 ช่อ ต้มกินเป็นผักจิ้ม ไม่ควรกินติดต่อกันนาน เพราะจะทำให้ลำไส้ชินยา และไม่ทำงานตามปกติ สตรีมีครรภ์ควรปรึกษาแพทย์ก่อนใช้


ตองแตก

ตองแตก

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Baliospermum montanum (Willd.) Muell. Arg.
ชื่อวงศ์ : EUPHORBIACEAE
ชื่ออื่น : ตองแต่, ถ่อนดี, ทนดี, นองป้อม, ลอมปอม

รูปลักษณะ : ตองแตก เป็นไม้พุ่มขนาดเล็ก สูง 1-2 เมตร ยอดอ่อนมีขน ใบเดี่ยว เรียงสลับ ใบที่บริเวณยอดรูปใบหอกหรือรูปวงรี กว้าง 3-4 ซม. ยาว 6-7 ซม. ใบที่บริเวณโคนต้นมักมีขอบหยักเว้าเป็น 3-5 แฉก รูปขอบขนานแกมรูปไข่ กว้าง 7-8 ซม. ยาว 15-18 ซม. ดอกช่อ แยกเพศอยู่บนต้นเดียวกัน หรือบนช่อเดียวกัน ออกที่ซอกใบ ดอกตัวผู้มีจำนวนมาก อยู่ตอนบนของช่อ ไม่มีกลีบดอก กลีบเลี้ยงสีเหลืองแกมเขียว 4-5 กลีบ ดอกตัวเมียออกที่โคนช่อ ไม่มีกลีบดอก ผลแห้ง แตกได้ มี 3 พู

สรรพคุณของ ตองแตก : ใบแห้ง ใช้ต้มน้ำดื่มเป็นยาถ่าย เมล็ด เป็นยาถ่ายอย่างแรง ราก ต้มน้ำดื่มหรือฝนน้ำกิน เป็นยาถ่ายที่ไม่รุนแรง ถ่ายลมเป็นพิษ (ผื่นคันหรือตุ่มหนองที่ผิวหนัง) ถ่ายพิษพรรดึก (อาการที่เกิดจากท้องผูก ถ่ายเป็นก้อนแข็งคล้ายขี้แพะ) ถ่ายเสมหะเป็นพิษ (เช่น เสมหะเขียว)


บานบุรีเหลือง

บานบุรีเหลือง

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Allamanda cathartica Linn.
ชื่อวงศ์ : APOCYNACEAE

รูปลักษณะ : บานบุรีเหลือง เป็นไม้พุ่มแกมเถา ทุกส่วนมีน้ำยางขาว ใบเดี่ยว เรียงตรงข้ามหรือเรียงรอบข้อๆ ละ 3-4 ใบ รูปขอบขนานหรือรูปใบหอก กว้าง 4-5 ซม. ยาว 8-15 ซม. ดอกช่อ ออกเป็นกระจุกที่ปลายกิ่ง กลีบดอกสีเหลือง เชื่อมติดกันเป็นหลอด ผลกลม มีหนาม แตกได้

สรรพคุณของ บานบุรีเหลือง : ใบ ใช้เป็นยาถ่าย แก้จุกเสียด ทำให้อาเจียน เปลือกต้นและยางขาว ใช้ปริมาณน้อยเป็นยาถ่าย ขับน้ำดี ใช้ปริมาณมากเป็นพิษต่อหัวใจ ทำให้ท้องเสีย


มะกา

มะกา

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Bridelia ovata Decne.
ชื่อวงศ์ : EUPHORBIACEAE

รูปลักษณะ : มะกา เป็นไม้ยืนต้น สูง 5-10 เมตร ลำต้นเรียบ ใบเดี่ยว เรียงสลับในระนาบเดียวกัน รูปวงรีหรือรูปไข่กลับ กว้าง 3-8 ซม. ยาว 8-21 ซม. หลังใบสีเขียวอ่อน ท้องใบสีจางกว่า ก้านใบสั้นโป่งพองออก ดอกช่อ ออกเป็นกระจุกที่ซอกใบหรือตามกิ่ง แยกเพศอยู่ในช่อเดียวกัน ผลสด ค่อนข้างกลม

สรรพคุณของ มะกา : ใบ ใช้เป็นยาระบายอย่างอ่อน โดยนำใบสดหรือแห้ง ปิ้งไฟพอกรอบ ขนาด 1.5-2 กรัม ชงน้ำเดือด แช่ไว้ประมาณ 10-20 นาที ดื่มก่อนนอน อาการข้างเคียงคือ ปวดมวนท้อง คลื่นไส้


มะขาม

มะขาม

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Tamarind, Tamarindus indica Linn.
ชื่อวงศ์ : FABACEAE

รูปลักษณะ : มะขาม เป็นไม้ยืนต้น สูง 15-25 เมตร ใบประกอบแบบขนนก เรียงสลับ ใบย่อยรูปขอบขนาน กว้าง 5-8 ซม. ยาว 1-1.5 ซม. ดอกช่อ ออกที่ซอกใบและปลายกิ่ง กลีบดอกสีเหลือง มีลายสีม่วงแดง ผลเป็นฝัก มีเนื้อหุ้มเมล็ด สีน้ำตาล ฉ่ำน้ำ

สรรพคุณของ มะขาม : มะขามเปียก ใช้เป็นยาถ่าย และยาแก้ไอกัดเสมหะที่เหนียวข้น เนื่องจากมีกรดอินทรีย์ เช่น กรด Trataric และกรด Citric เปลือกต้น เป็นยาสมานคุมธาตุ เนื้อในเมล็ด ใช้เป็นยาฆ่าพยาธิไส้เดือน ใบและยอดอ่อน มีรสเปรี้ยว ใช้ในการอาบ อบสมุนไพร


มะขามแขก

มะขามแขก

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Senna, Senna alexandrina P. Miller (Cassia angustifolia Vahl)
ชื่อวงศ์ : FABACEAE

รูปลักษณะ : มะขามแขก เป็นไม้พุ่ม สูง 0.5-1.5 เมตร ใบประกอบแบบขนนก เรียงสลับ ใบย่อยรูปวงรีหรือรูปใบหอก กว้าง 1-1.5 ซม. ยาว 2.5-3.5 ซม. ดอกช่อ ออกที่ซอกใบตอนปลายกิ่ง กลีบดอกสีเหลือง B≫ผลเป็นฝักแบน รูปขอบขนาน

สรรพคุณของ มะขามแขก : ใบและฝักอ่อน ใช้เป็นยาระบาย โดยนำใบซึ่งเก็บก่อนมีดอก ตากแห้ง 3-10 กรัม หรือฝักแห้ง 4-5 ฝัก ชงน้ำร้อนทิ้งไว้ 10 นาที ดื่มก่อนนอน สารที่ออกฤทธิ์ระบาย คือ Sennosides A และ B อาการข้างเคียงที่พบคือ ปวดมวนท้อง ซึ่งมักเกิดจากใบมากกว่าฝัก แต่สามารถบรรเทาโดยใช้สมุนไพรขับลมผสมร่วมด้วย เช่น กระวาน การพลู เป็นต้น


รงทอง

รงทอง

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Gamboge tree, Garcinia handuryi Hook F.
ชื่อวงศ์ : CLUSIACEAE
ชื่ออื่น : รง

รูปลักษณะ : รงทอง เป็นไม้ยืนต้น สูง 12-15 เมตร ทุกส่วนมียางเหลือง ใบเดี่ยวเรียงตรงข้าม รูปไข่ กว้าง 4-6 ซม. ยาว 8-14 ซม. สีเขียวเข้ม ดอกช่อ ออกเป็นกระจุกเล็กๆ ที่ซอกใบ กลีบดอกสีเหลือง ผล เป็นผลสด

สรรพคุณของ รงทอง : ยางจากลำต้น ใช้เป็นยาถ่ายอย่างแรง เวลาใช้ต้องนำมาห่อด้วยใบข่า และใบบัวหลวง ปิ้งไฟจนกรอบ นำมาบดเป็นผง เพื่อลดความแรงลง ปัจจุบันไม่นิยมใช้แล้ว ใช้ภายนอกเป็นยารักษาแผลเปื่อย


ลั่นทมขาว

ลั่นทมขาว

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Evergreen Frangipani, Graveyard Flower, Plumeria obtusa Linn.
ชื่อวงศ์ : APOCYNACEAE

รูปลักษณะ : ลั่นทมขาว เป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก สูง 3-6 เมตร ทุกส่วนมีน้ำยางขาว ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปใบหอกกลับ กว้าง 5-8 ซม. ยาว 20-32 ซม. ดอกช่อ กระจุกแยกแขนง ออกที่ปลายกิ่ง ดอกย่อยหลายดอก กลีบดอกสีขาว เชื่อมติดกันเป็นหลอดรูปกรวย มีกลิ่นหอม ผลแห้งเป็นฝักคู่สีม่วงแกมน้ำตาล เมล็ดมีขนสีขาว

สรรพคุณของ ลั่นทมขาว : ฝัก ใช้ฝนทาแก้ริดสีดวงทวาร


ลั่นทมแดง

ลั่นทมแดง

ชื่อวิทยาศาสตร์ : West Indian Red Jasmine, Plumeria rubar Linn.
ชื่อวงศ์ : APOCYNACEAE

รูปลักษณะ : ลั่นทมแดง เป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก สูง 3-6 เมตร ทุกส่วนมีน้ำยางขาว ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปใบหอกกลับ กว้าง 5-10 ซม. ยาว 20-25 ซม. ดอกช่อ กระจุกแยกแขนง ออกที่ปลายกิ่ง ดอกย่อยหลายดอก กลีบดอกสีแดง เชื่อมติดกันเป็นหลอดรูปกรวย มีกลิ่นหอม ผลแห้งเป็นฝักคู่สีม่วงแกมน้ำตาล เมล็ดมีขนสีขาว

สรรพคุณของ ลั่นทมแดง : ฝัก ใช้ฝนทาแก้ริดสีดวงทวาร เช่นเดียวกับฝักลั่นทมขาว


ว่านหางจระเข้

ว่านหางจระเข้

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Aloe, Aloe vera Linn. varchinensis (Haw.) Berg
ชื่อวงศ์ : ALOACEAE
ชื่ออื่น : ว่านไฟไหม้, หางตะเข้

รูปลักษณะ : ว่านหางจระเข้ เป็นไม้ล้มลุกอายุหลายปี สูง 0.5-1 เมตร ข้อและปล้องสั้น ใบเดี่ยว เรียงรอบต้น กว้าง 5-12 ซม. ยาว 0.3-0.8 เมตร อวบน้ำมาก สีเขียวอ่อนหรือสีเขียวเข้ม ภายในมีวุ้นใส ใต้ผิวสีเขียวมีน้ำยางสีเหลือง ใบอ่อนมีประสีขาว ดอกช่อ ออกจากกลางต้น ดอกย่อย เป็นหลอดห้อยลง สีส้ม บานจากล่างขึ้นบน ผลแห้ง แตกได้

สรรพคุณของ ว่านหางจระเข้ : วุ้นสด ใช้ประโยชน์ได้หลายอย่าง วิธีใช้ให้เลือกใช้ใบล่างสุดของต้นก่อน ล้างน้ำให้สะอาด ปอกเปลือกสีเขียวออกด้วยมีดสะอาด ล้างน้ำยางสีเหลืองออกให้หมด เพราะอาจระคายเคืองผิวหนัง และทำให้มีอาการแพ้ได้ ฝานเป็นแผ่นบางปิดแผล หรือขูดเอาวุ้นใสปิดพอกรักษาแผลสด แผลเรื้อรัง แผลไฟไหม้น้ำร้อนลวก แผลไหม้เกรียมจากแสงแดด และการฉายรังสี อาจใช้ผ้าพันแผลที่สะอาดพันทับ เปลี่ยนวุ้นใหม่วันละครั้ง เช้า-เย็น จนกว่าแผลจะหาย ใช้วุ้นสดกินรักษาแผลในกระเพาะอาหารได้ดี และใช้เป็นส่วนผสมในเครื่องสำอางหลายประเภท เช่น แชมพูสระผม สบู่ ครีมกันแดด เป็นต้น สารที่ออกฤทธิ์เป็นกลัยโคโปรตีน ชื่อ Aloctin A ซึ่งมีฤทธิ์ลดการอักเสบ และเพิ่มการเจริญทดแทนของเนื้อเยื่อ บริเวณที่เป็นแผล แต่มีข้อเสีย คือ สลายตัวได้ง่ายเมื่อถูกความร้อน ไม่ควรทิ้งวุ้นสดไว้เกิน 24 ชั่วโมง น้ำยางสีเหลืองจากใบ เคี่ยวให้แห้ง เรียกว่า &Quot;ยาดำ&Quot; เป็นยาระบายชนิดเพิ่มการบีบตัวของลำไส้ใหญ่


สมอพิเภก

สมอพิเภก

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Beleric Myrobalan, Terminalia bellirica (Gaertn.) Roxb.
ชื่อวงศ์ : COMBRETACEAE
ชื่ออื่น : ลัน, สมอแหน, แหน, แหนขาว, แหนต้น

รูปลักษณะ : สมอพิเภก เป็นไม้ยืนต้น สูง 25-50 เมตร ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปไข่กลับแกมวงรี กว้าง 5-10 ซม. ยาว 10-20 ซม. ดอกช่อ ออกที่ซอกใบ ขนาดเล็ก เป็นดอกสมบูรณ์เพศ และดอกตัวผู้อยู่บนต้นเดียวกัน กลีบสีเหลือง ผลเป็นผลสด ค่อนข้างกลม มีสัน 5 สัน

สรรพคุณของ สมอพิเภก : ผลดิบ ใช้เป็นยาระบาย ขับเสมหะ ผลดิบ มีฤทธิ์ฝาดสมาน แก้ท้องเสีย


สมอไทย

สมอไทย

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Myrobalan Wood, Terminalia chebula Retz.
ชื่อวงศ์ : COMBRETACEAE
ชื่ออื่น : สมออัพยา

รูปลักษณะ : สมอไทย เป็นไม้ยืนต้น สูง 20-35 เมตร เปลือกต้นขรุขระ ใบเดี่ยว เรียงตรงข้ามหรือเกือบตรงข้าม รูปวงรี กว้าง 6-10 ซม. ยาว 8-15 ซม. ดอกช่อ ออกที่ซอกใบหรือปลายยอด เป็นดอกสมบูรณ์เพศ กลีบสีเหลือง ผลเป็นผลสด รูปวงรี มีสัน 5 สัน

สรรพคุณของ สมอไทย : ผลแก่ดิบ ใช้เป็นยาระบาย ขับเสมหะ แก้บิด แก้ไข้


สลอด

สลอด

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Purging Croton, Croton tiglium Linn.
ชื่อวงศ์ : EUPHORBIACEAE
ชื่ออื่น : มะข่าง, มะคัง, มะตอด, หมากทาง, หัสคึน, ลูกผลาญศัตรู, สลอดต้น, หมากหลอด

รูปลักษณะ : สลอด เป็นไม้พุ่ม สูง 3-6 เมตร ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปไข่กว้าง 4-7 ซม. ยาว 7-10 ซม. ใบสีเขียวอ่อนแกมน้ำตาล ดอกช่อ ออกที่ซอกใบ ประกอบด้วยดอกตัวเมียอยู่ด้านล่าง ดอกตัวผู้อยู่ด้านบน ผลแห้ง แตกได้ มี 3 พู ภายในมี 1-3 เมล็ด

สรรพคุณของ สลอด : เมล็ด ใช้เป็นยาถ่ายอย่างแรง แต่พบว่ามีฤทธิ์รุนแรงมาก ต้องระวังขนาดที่ใช้ ปัจจุบันจัดเป็นพืชมีพิษ


สลัดได

สลัดได

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Malayan Spurge Tree, Euphorbia antiquorum Linn.
ชื่อวงศ์ : EUPHORBIACEAE
ชื่ออื่น : กะลำพัก, เคียะผา, เคียะเลี่ยม, หนอนงู

รูปลักษณะ : สลัดได เป็นไม้ยืนต้น สูง 3-6 เมตร ทุกส่วนมียางสีขาว ลำต้นแตกกิ่งก้านสาขามาก กิ่งเป็นรูปสามเหลี่ยม หรือสี่เหลี่ยม อวบน้ำ เว้าคอดต่อกัน ตามแนวสันหรือเหลี่ยมมีหนามแข็ง 1 คู่ ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปไข่กลับ ขนาดเล็ก อวบน้ำ หลุดร่วงง่าย จึงดูคล้ายไม่มีใบ ดอกช่อ สั้น ออกในแนวสันเหนือหนาม ใบประดับสีเหลือง ดอกตัวผู้และตัวเมียไม่มีกลีบดอก อยู่ในช่อเดียวกัน ผลแห้ง แตกได้ ขนาดเล็ก มี 3 พู

สรรพคุณของ สลัดได : ยางจากต้น มีพิษระคายเคือง ต้องลดความเป็นพิษด้วยการ &Quot;ประสะ&Quot; โดยนึ่งยางให้สุก แล้วตากให้แห้ง ใช้เป็นยาถ่ายอย่างแรง ยางสดใช้เป็นยากัดหูด ควรระมัดระวังในการใช้ เพราะพบสาร 3-0-Angeloylingenol ซึ่งเป็นสารร่วมก่อมะเร็ง (Co-Carcinogen) ต้นที่แก่จัด จะเกิดแก่นแข็ง เรียกว่า &Quot;กะลำพัก&Quot; มีกลิ่นหอม ใช้แก้ไข้


ส้มเช้า

ส้มเช้า

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Euphorbia ligularia Roxb.
ชื่อวงศ์ : EUPHORBIACEAE

รูปลักษณะ : ส้มเช้า เป็นไม้พุ่มหรือไม้ยืนต้นขนาดเล็ก สูง 3-5 เมตร กิ่งก้านเป็นเหลี่ยม มีหนามแข็งตามมุม เรียงเป็นแถวตามยาว มีน้ำยางขาว ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปวงรีหรือรูปวงรีแกมขอบขนาน กว้าง 4-6 ซม. ยาว 10-15 ซม. ดอกช่อ รูปถ้วย ออกตามกิ่งก้าน ใบประดับสีเหลือง ดูคล้ายกลีบดอก ดอกย่อยแยกเพศ อยู่ในช่อเดียวกัน ไม่มีกลีบดอก ผลแห้ง ไม่แตก

สรรพคุณของ ส้มเช้า : มีสรรพคุณและข้อควรระวังเช่นเดียวกับสลัดได ลำต้นและเปลือก ใช้ต้มกับน้ำรับประทานเป็นยาถ่าย



พืชสมุนไพร ประเภท ยาถ่ายพยาธิ


ทับทิม

ทับทิม

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Pomegranate, Punica granatum Linn.
ชื่อวงศ์ : PUNICACEAE
ชื่ออื่น : พิลา, พิลาขาว, มะก่องแก้ว, มะเก๊าะ

รูปลักษณะ : ทับทิม เป็นไม้พุ่ม สูง 2-5 เมตร กิ่งเล็กๆ มักเปลี่ยนเป็นหนามแหลม ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปวงรีแกมขอบขนาน กว้าง 1-2 ซม. ยาว 4-6 ซม. ใบอ่อนมีสีแดง ดอกเดี่ยว หรือช่อ 2-5 ดอก ออกที่ซอกใบและปลายยอด กลีบดอกสีส้มแดง ร่วงง่าย กลีบเลี้ยงหนาแข็ง สีส้ม แกมเหลือง ผลเป็นผลสด รูปกลม

สรรพคุณของ ทับทิม : เปลือกผล ใช้เปลือกผลแก่ตากแห้ง รักษาอาการท้องร่วง ขนาดที่ใช้คือ เปลือกผลแห้ง ประมาณ 1 ใน 4 ผล ฝนหับน้ำให้ข้นๆ กินวันละ 1-2 ครั้ง การกินขนาดสูงอาจเป็นอันตรายได้ นอกจากนี้ ใช้ฝนกับน้ำทาแก้น้ำกัดเท้า พบว่ามีสารแทนนิน และกรดแทนนิกซึ่งช่วยฝาดสมาน เปลือกราก, เปลือกต้น มีสาร Pelletierine และ Isopelletierine ซึ่งเป็นพิษจึงไม่ควรใช้


มะหาด

มะหาด

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Artocarpus lakoocha Roxb.
ชื่อวงศ์ : MORACEAE
ชื่ออื่น : หาด, ขนุนป่า, มะหาดใบใหญ่

รูปลักษณะ : มะหาด เป็นไม้ยึนต้น สูงประมาณ 30 เมตร ทรงพุ่มแผ่กว้าง ใบ เดี่ยว เรียงสลับรูปขอบขนาน หรือรูปวงรี กว้าง 8-10 ซม. ยาว 10-12 ซม. หลังใบเป็นมันสีเขียวเข้ม ท้องใบสาก ดอกช่อ ออกที่ซอกใบ ค่อนข้างกลม ก้านสั้น แยกเพศ อยู่บนต้นเดียวกัน ผล เป็นผลรวม สีเหลือง ผิวขรุขระ มีขนนุ่น

สรรพคุณของ มะหาด : เนื้อไม้ นำมาเคี่ยวกับน้ำ กรองเนื้อไม้ออก บีบน้ำออกให้แห้ง จะได้ผงสีนวลจับกันเป็นก้อน ย่างไฟให้เหลือง เรียกว่า ปวกหาด ใช้เป็นยาถ่ายพยาธิเส้นด้าย พยาธิไส้เดือน และพยาธิตัวตืด สารที่ออกฤทธิ์คือ 2,4,3',5'-Tetrahydroxystibene ละลายผงปวกหาดจำนวน 3 กรัม ในน้ำเย็น ดื่มช่วงเช้ามืด ก่อนอาหาร หลังจากนั้น 2 ชั่วโมง ให้กินยาถ่าย เช่น ดีเกลือ เพื่อถ่ายตัวพยาธิ


มะเกลือ

มะเกลือ

ชื่อวิทยาศาสตร์ : EbonyTree, Diospyros mollis Gagnep.
ชื่อวงศ์ : EBENACEAE
ชื่ออื่น : ผีเผา, มักเกลือ

รูปลักษณะ : มะเกลือ เป็นไม้ยืนต้น สูงได้ถึง 30 เมตร ใบเดี่ยว เรียงสลับรูปไข่ หรือรูปไข่แกมขอบขนาน กว้าง 2-3 ซม. ยาว 4-7 ซม. สีเขียวเข้ม เมื่อแห้งสีดำ ดอกออกที่ซอกใบ แยกเพศ อยู่คนละต้น ดอกตัวผู้ออกเป็นช่อสั้นๆ ประมาณ 3 ดอก ดอกตัวเมียเป็นดอกเดี่ยว กลีบดอกสีเหลือง ผลสด รูปกลมเกลี้ยง ผลดิบสีเขียว ผลสุกสีดำ มีกลีบเลี้ยง 4 กลีบ ติดอยู่ที่ขั้วผล

สรรพคุณของ มะเกลือ : ผลดิบสด ใช้เป็นยาถ่ายพยาธิได้หลายชนิด ถ่ายพยาธิปากขอได้ดีที่สุด เด็กอายุ 10 ปีใช้ 10 ผล ผู้ที่อายุมากกว่า 10 ปี ให้เพิ่มจำนวนขึ้น 1 ผลต่อ 1 ปี แต่สูงสุดไม่เกิน 25 ผล คือผู้ที่อายุ 25 ปีขึ้นไปกิน 25 ผลเท่านั้น ล้างให้สะอาด ตำพอแหลก กรองเอาเฉพาะน้ำผสมหัวกะทิ 2 ช้อนชาต่อมะเกลือ 1 ผล กินครั้งเดียวให้หมดตอนเช้ามืด ก่อนอาหาร 3 ชั่วโมง หลังจากนี้ 3 ชั่วโมง ถ้าไม่ถ่ายให้กินยาระบายดีเกลือ โดยใช้ผงดีเกลือ 2 ช้อนโต๊ะ ละลายน้ำ ประมาณครึ่งแก้ว เพื่อถ่ายพยาธิ และตัวยาที่เหลือออกมา สารที่มีฤทธิ์คือ Diospyrol Diglucoside

ข้อควรระวัง
ผู้ที่ห้ามใช้มะเกลือได้แก่ เด็กอายุต่ำกว่า 10 ปี หญิงมีครรภ์ หรือหลังคลอดไม่เกิน 6 สัปดาห์ ผู้ที่เป็นโรคกระเพาะอาหาร หรือมีอาการปวดท้อง ถ่ายอุจจาระผิดปกติบ่อยๆ และผู้ที่กำลังเป็นไข้ ในการเตรียมยาต้องใช้ผลดิบสด เตรียมแล้วกินทันที ไม่ควรเตรียมยาครั้งละมากๆ ใช้เครื่องบดไฟฟ้า จะทำให้ละเอียดมาก มีตัวยาออกมามากเกินไป

ข้อควรระวัง
เคยมีรายงานว่าถ้ากินยามะเกลือขนาดสูงกว่าที่ระบุไว้ หรือเตรียมไว้นาน สารสำคัญจะเปลี่ยนเป็นสารพิษชื่อ Diospyrol ทำให้จอรับภาพ และประสาทตาอักเสบ อาจตาบอดได้


มะเฟือง

มะเฟือง

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Carambola, Averrhoa carambola Linn.
ชื่อวงศ์ : AVERRHOACEAE

รูปลักษณะ : มะเฟือง เป็นไม้ยืนต้น สูง 3-5 เมตร ใบประกอบแบบขนนก เรียงสลับใบย่อยรูปขอบขนานแกมใบหอก กว้าง 22-3.5 ซม. ยาว 3-9 ซม. ดอกช่อ ออกที่ซอกใบ ดอกย่อยขนาดเล็ก กลีบดอกสีชมพูแกมม่วง ผลเป็นผลสด อวบน้ำ ยาว 7-14 ซม. มีสันโดยรอบ 5 สัน ผลดิบสีเขียว ผลสุกสีเหลือง มีรสเปรี้ยวอมหวาน

สรรพคุณของ มะเฟือง : ดอก ใช้เป็นยาขับพยาธิ ใบและราก แก้ไข้ ผล ขับเสมหะ ขับปัสสาวะ ขับเลือดเสีย


สะแกนา

สะแกนา

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Combretum quadrangulare Kurz
ชื่อวงศ์ : COMBRETAEAE
ชื่ออื่น : แก, ขอนแข้, จองแข้, แพ่ง, สะแก

รูปลักษณะ : สะแกนา เป็นไม้ยืนต้น สูง 5-10 เมตร กิ่งอ่อนเป็นรูปเหลี่ยม ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปวงรี หรือรูปไข่กลับ กว้าง 3-8 ซม. ยาว 6-15 ซม. ดอกช่อ ออกที่ซอกใบ และปลาดยอด ดอกย่อยมีขนาดเล็ก กลีบดอกสีขาว ผลแห้ง มี 4 ครีบ เมล็ดสีน้ำตาลแดง รูปกระสวย มี 4 สันตามยาว

สรรพคุณของ สะแกนา : เมล็ดแก่ ใช้ขับพยาธิไส้เดือน และพยาธิเส้นด้ายในเด็ก โดยใช้ขนาด 1 ช้อนคาว หรือ 3 กรัม ตำผสมกับไข่ทอดกินครั้งเดียว ขณะท้องว่าง


เล็บมือนาง

เล็บมือนาง

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Rangoon Creeper, Quisqualis indica Linn.
ชื่อวงศ์ : COMBRETACEAE
ชื่ออื่น : จะมั่ง, จ๊ามั่ง, มะจีมั่ง

รูปลักษณะ : เล็บมือนาง เป็นไม้เถา เนื้อแข็ง ต้นแก่มักมีกิ่งที่เปลี่ยนเป็นหนาม ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปวงรี หรือรูปไข่แกมขอบขนาน กว้าง 5-8 ซม. ยาว 10-16 ซม. ดอกช่อ ออกที่ปลายกิ่งและซอกใบ บริเวณปลายกิ่ง กลีบดอกสีแดง โคนกลีบเลี้ยงเป็นหลอดเรียวยาว สีเขียว ผลแห้ง รูปกระสวย มีเปลือกแข็งสีน้ำตาลเข้ม มีสันตามยาว 5 สัน

สรรพคุณของ เล็บมือนาง : เนื้อในเมล็ดแห้ง ใช้เป็นยาขับพยาธิไส้เดือน สำหรับเด็ก กินครั้งละ 2-3 เมล็ด และผู้ใหญ่ครั้งละ 4-5 เมล็ด โดยนำมาป่นเป็นผง ผสมกับน้ำผึ้ง ปั้นเป็นยาลูกกลอน หรือต้มเอาน้ำดื่ม หรือทอดกับไข่กินก็ได้ สารที่มีฤทธิ์ขับพยาธิ เป็นกรดอะมิโน ชื่อกรด Quisqualic


แก้ว

แก้ว

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Murraya paniculata (Linn.) Jack
ชื่อวงศ์ : RUTACEAE
ชื่ออื่น : ตะไหลแก้ว, จ๊าพริก

รูปลักษณะ : แก้ว เป็นไม้พุ่มหรือไม้ต้นขนาดเล็ก สูงได้ถึง 5 เมตร ใบประกอบแบบขนนกชนิดที่มีใบยอด 1 ใบ ใบย่อยมี 7-9 ใบ ใบย่อยยาว กว้าง 1-1.5 ซม. ดอกออกเป็นช่อสั้นๆ ที่ปลายกิ่ง ดอกสีขาวมี 5 กลีบ หอม ผลรี รูปไข่ ผลสุก สีแดง ออกดอกตลอดปี

สรรพคุณของ แก้ว : ใบ ใช้เป็นยาขับพยาธิตัวตืด เคี้ยวอมแก้ปวดฟัน แก้บิด และท้องเสีย



พืชสมุนไพร ประเภท ยาบำรุงกำลัง


กฤษณา

กฤษณา

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Eagle Wood, Aquilaria crassna Pierre ex H. Lee
ชื่อวงศ์ : THYMELAEACEAE

รูปลักษณะ : กฤษณา เป็นไม้ยืนต้น สูง 10-15 เมตร ลำต้นตรง เปลือกเรียบสีเทา เนื้อไม้อ่อนสีขาว ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปวงรีแกมขอบขนาน กว้างประมาณ 6 ซม.ยาว 12 ซม. ผิวเป็นมัน ดอกช่อ ออกเป็นช่อเล็กๆ ที่ซอกใบและปลายกิ่ง ดอกย่อยขนาดเล็ก กลีบดอกสีขาวแกมเขียว ผลแห้ง รูปวงรี เปลือกแข็ง มีขนสีเทา เมื่อแก่จะแตก กลีบเลี้ยงเจริญติดอยู่กับผล

สรรพคุณของ กฤษณา : แก่น แก่นไม้กฤษณาที่มีสีดำและมีกลิ่นหอม ใช้ผสมยาหอม แก้อ่อนเพลียบำรุงกำลัง แก้ลมวิงเวียนศีรษะ คุมธาตุ บำรุงโลหิตและหัวใจ อาเจียน ท้องร่วง แก้ไข้ต่างๆ บำบัดโรคปวดบวมตามข้อ ปัจจุบันนี้ หาเนื้อไม้กฤษณาเพื่อใช้ทำยายากขึ้น และมีราคาแพง


กันเกรา

กันเกรา

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Tembusu, Fagraea fragrans Roxb.
ชื่อวงศ์ : POTALIACEAE
ชื่ออื่น : ตำเสา, ทำเสา, มันปลา

รูปลักษณะ : กันเกรา เป็นไม้ยืนต้น สูง 10-15 เมตร ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปวงรี กว้าง 4-6 ซม. ยาว 8-12 ซม. แผ่นใบบางแต่เหนียว ดอกช่อ ออกที่ปลายกิ่งและซอกใบตอนปลายกิ่ง เมื่อเริ่มบาน กลีบดอกสีขาว ต่อมาเปลี่ยนเป็นสีเหลือง กลิ่นหอม ผล เป็นผลสด รูปทรงกลม สีแดง

สรรพคุณของ กันเกรา : ใบ ใช้บำรุงธาตุ แก้ไข้จับสั่น แก้หืดและรักษาโรคผิวหนังพุพอง


จันทน์เทศ

จันทน์เทศ

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Nutmeg Tree, Myristica fragrans Houtt.
ชื่อวงศ์ : MYRISTICACEAE
ชื่ออื่น : จันทน์บ้าน

รูปลักษณะ : จันทน์เทศ เป็นไม้ยืนต้น สูง 5-18 เมตร ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปวงรี แกมขอบขนานหรือรูปไข่กลับแกมขอบขนาน กว้าง 4-5 ซม. ยาว 10-15 ซม. ผิวใบมัน ดอกเดี่ยว หรือช่อ 2-3 ดอก ออกที่ซอกใบ แยกเพศ อยู่คนละต้น ดอกย่อยรูปคนโท ขนาดเล็ก สีเหลืองอ่อน ผล เป็นผลสด ค่อนข้างฉ่ำน้ำ รกหุ้มเมล็ดสีแดงเรียกว่า ดอกจันทน์ มีเมล็ดเดียว สีน้ำตาล เปลือกแข็ง เรียกว่า ลูกจันทน์

สรรพคุณของ จันทน์เทศ : ลูกจันทน์ ใช้เป็นยาบำรุงกำลัง ขับลม แก้ปวดมดลูก แก้ท้องร่วง ธาตุพิการ ดอกจันทน์ ใช้บำรุงโลหิต ลูกจันทน์และดอกจันทน์ ใช้เป็นเครื่องเทศ ช่วยแต่งกลิ่นอาหารด้วย แก่น ใช้ลดไข้ บำรุงตับและปอด


บัวหลวง

บัวหลวง

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Lotus, Nelumbo mucifera Gaerth.
ชื่อวงศ์ : NELUMBONACEAE
ชื่ออื่น : บัว, สัตตบงกช, สัตตบุษย์, อุบล

รูปลักษณะ : บัวหลวง เป็นไม้น้ำอายุหลายปี มีเหง้าใต้ดินยาวและเป็นปล้อง ใบเดี่ยว รูปโล่ เส้นผ่าศูนย์กลาง 30-60 ซม. ผิวใบมีนวล ก้านใบยาวชูขึ้นเหนือน้ำ ดอกเดี่ยว แทงออกจากเหง้า ด้านดอกยาว ชูดอกขึ้นเหนือน้ำ กลีบดอกสีขาวหรือชมพู เกสรตัวผู้สีเหลืองจำนวนมาก ติดอยู่รอบฐานดอกรูปกรวย ผลแห้ง รูปรี จำนวนมาก ฝังอยู่ในฐานรองดอก

สรรพคุณของ บัวหลวง : เกสร เกสรบัวหลวง เป็นสมุนไพรชนิดหนึ่งในพิกัดเกสรทั้งห้า ใช้ผสมในยาหอมบำรุงหัวใจ บำรุงกำลัง แก้อาการหน้ามืด วิงเวียนศีรษะ


บุนนาค

บุนนาค

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Iron Wood, Mesua ferrea Linn.
ชื่อวงศ์ : CLUSIACEAE
ชื่ออื่น : สารภีดอย

รูปลักษณะ : บุนนาค เป็นไม้ยืนต้น สูง 10-15 เมตร ลำต้นตรง ใบอ่อนสีแดง ใบเดี่ยว รูปใบหอก กว้าง 2-4 ซม. ยาว 7-12 ซม. เนื้อในบาง เหนียว ดอกเดี่ยวหรือออกเป็นคู่ที่ซอกใบและปลายกิ่ง กลีบดอกสีขาว มีเกสรตัวผู้สีเหลืองจำนวนมาก กลิ่นหอมเย็น ผลเป็นผลสด

สรรพคุณของ บุนนาค : ดอกสด มีน้ำมันหอมระเหย ดอกแห้ง จัดอยู่ในพิกัดเกสรทั้งห้า ใช้เป็นยาฝาดสมาน บำรุงธาตุและขับลม บำรุงโลหิต บำรุงหัวใจ


มะตูม

มะตูม

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Bael Fruit Tree, Bengal Quince, Aegle marmelos (Linn.) Corr.
ชื่อวงศ์ : RUTACEAE
ชื่ออื่น : กะทันตาเถร, ตุ่มตัง, ตูม, มะปิน

รูปลักษณะ : มะตูม เป็นไม้ยืนต้น สูง 10-15 เมตร ใบประกอบแบบนิ้วมือ เรียงสลับ ใบย่อย 3 ใบ รูปวงรี หรือรูปไข่แกมใบหอก กว้าง 2-7 ซม. ยาว 4-13 ซม. ขอบใบหยักมน ดอกช่อ ออกที่ซอกใบ และที่ปลายกิ่ง กลีบดอกด้านนอกสีเขียวอ่อน ด้านในสีนวล ใบและดอกมีกลิ่นหอม ผล เป็นผลสด เนื้อในสีเหลือง มีน้ำเมือก

สรรพคุณของ มะตูม : ผลดิบแห้ง ใช้ชงดื่ม ทำให้สดชื่น หายอ่อนเพลีย แก้ท้องเสีย แก้บิด ผลสุกเป็นยาระบาย ช่วยย่อยอาหาร


มะพร้าว

มะพร้าว

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Coconut, Cocos nucifera Linn.
ชื่อวงศ์ : ARECACEAE
ชื่ออื่น : หมากอุ๋น, หมากอูน

รูปลักษณะ : มะพร้าว เป็นไม้ยืนต้นจำพวกปาล์ม สูงได้ถึง 25 เมตร ลำต้นตั้งตรง ไม่แตกกิ่ง มีรอยแผลเมื่อก้านใบหลุดออกไป ใบประกอบแบบขนนก เรียงสลับ หนาแน่นที่บริเวณยอด ยาว 4-6 เมตร ใบย่อยรูปพัดจีบ กว้าง 1.5-5 ซม. ยาว 50-100 ซม. ดอกช่อ ออกระหว่างก้านใบ ดอกย่อยจำนวนมาก แยกเพศ อยู่บนต้นเดียวกัน ดอกตัวผู้สีเหลืองหม่น ดอกตัวเมียสีเขียว หรือเขียวแกมเหลือง ใบประดับยาว 60-90 ซม. ผล เป็นผลสด รูปใข่แกมทรงกลมหรือรูปไข่กลับ สีเขียวหรือเขียวแกมเหลือง เนื้อสีขาว

สรรพคุณของ มะพร้าว : น้ำมะพร้าว มีเกลือโปแตสเซียมและน้ำตาลกลูโคสสูง อาจทำให้น้ำตาลในเลือดสูง มีเกลือคลอไรด์และโซเดียมต่ำกว่าผงน้ำตาลเกลือแร่ สูตรองค์การอนามัยโลก ที่ใช้กับโรคท้องเสีย ทำให้ชุ่มคอ บำรุงธาตุไฟ ช่วยกระตุ้นการหายใจ มีฤทธิ์ขับปัสสาวะเล็กน้อย


มะลิลา, มะลิซ้อน

มะลิลา, มะลิซ้อน

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Arabian Jasmine, Jasminum sambac Ait.
ชื่อวงศ์ : OLEACEAE
ชื่ออื่น : ข้าวแตก, มะลิ, มะลิขี้ไก่, มะลิป้อม, มะลิหลวง

รูปลักษณะ : มะลิลา, มะลิซ้อน เป็นไม้พุ่ม สูง 1-2 เมตร ใบประกอบ ชนิดมีใบย่อยใบเดียว เรียงตรงข้าม รูปไข่ รูปวงรีหรือรูปวงรีแกมขอบขนาน กว้าง 3-6 ซม. ยาว 5-10 ซม. สีเขียวแกมเหลือง ดอกช่อ ออกที่ปลายกิ่งและซอกใบ กลีบดอกสีขาว กลิ่นหอม มะลิลามีกลีบดอกชั้นเดียว ส่วนมะลิซ้อนมีกลีบดอกซ้อนกันหลายชั้น ผลเป็นผลสด

สรรพคุณของ มะลิลา, มะลิซ้อน : ดอกแห้ง จัดอยู่ในพิกัดเกสรทั้งห้า ใช้ปรุงยาหอม ทำให้จิตใจชุ่มชื่น แก้ไข้


หนามแดง

หนามแดง

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Maytenus marcanii (Craib) Ding Hou
ชื่อวงศ์ : CELASTRACEAE

รูปลักษณะ : หนามแดง เป็นไม้พุ่ม ลำต้นตั้งตรง สูง 3-4 เมตร กิ่งก้านมีหนามแหลมยาว ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปไข่กลับ กว้าง 2-4 ซม. ยาว 4-9 ซม. ดอกช่อ ออกเป็นกระจุกที่ปลายกิ่งและซอกใบ กลีบดอกสีขาวนวล ผลแห้ง แตกได้ มี 3 พู เมล็ดสีน้ำตาล

สรรพคุณของ หนามแดง : แก่น ใช้บำรุงธาตุ บำรุงไขมัน เหมาะสำหรับคนผอม ราก แก้ไข้



พืชสมุนไพร ประเภท ยาบำรุงหัวใจ


กฤษณา

กฤษณา

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Eagle Wood, Aquilaria crassna Pierre ex H. Lee
ชื่อวงศ์ : THYMELAEACEAE

รูปลักษณะ : กฤษณา เป็นไม้ยืนต้น สูง 10-15 เมตร ลำต้นตรง เปลือกเรียบสีเทา เนื้อไม้อ่อนสีขาว ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปวงรีแกมขอบขนาน กว้างประมาณ 6 ซม.ยาว 12 ซม. ผิวเป็นมัน ดอกช่อ ออกเป็นช่อเล็กๆ ที่ซอกใบและปลายกิ่ง ดอกย่อยขนาดเล็ก กลีบดอกสีขาวแกมเขียว ผลแห้ง รูปวงรี เปลือกแข็ง มีขนสีเทา เมื่อแก่จะแตก กลีบเลี้ยงเจริญติดอยู่กับผล

สรรพคุณของ กฤษณา : แก่น แก่นไม้กฤษณาที่มีสีดำและมีกลิ่นหอม ใช้ผสมยาหอม แก้อ่อนเพลียบำรุงกำลัง แก้ลมวิงเวียนศีรษะ คุมธาตุ บำรุงโลหิตและหัวใจ อาเจียน ท้องร่วง แก้ไข้ต่างๆ บำบัดโรคปวดบวมตามข้อ ปัจจุบันนี้ หาเนื้อไม้กฤษณาเพื่อใช้ทำยายากขึ้น และมีราคาแพง


กาแฟ

กาแฟ

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Robusta Coffee, Coffea canephora Pierre ex Froehner
ชื่อวงศ์ : RUBIACEAE
ชื่ออื่น : กาแฟใบใหญ่

รูปลักษณะ : กาแฟ เป็นไม้พุ่ม สูง 2-4 เมตร ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปขอบขนาน กว้าง 8-12 ซม. ยาว 15-20 ซม. หูใบอยู่ระหว่างก้านใบ ดอกช่อ ออกที่ซอกใบ กลีบดอกสีขาว ติดกันเป็นหลอด มีกลิ่นหอม ผลเป็นผลสด รูปไข่แกมทรงกลม เมื่อสุกสีแดง

สรรพคุณของ กาแฟ : เมล็ด เมล็ดมีคาเฟอีนเป็นยากระตุ้นหัวใจ ยากระตุ้นประสาทส่วนกลาง ทำให้นอนไม่หลับ พบสาร Theophylline มีฤทธิ์ขับปัสสาวะ จากการทดลองพบว่า การดื่มกาแฟทำให้หัวใจเต้นเร็ว ความดันโลหิตเพิ่มขึ้น เพราะมีสาร Theobromine อาจทำให้มีอาการปวดแสบที่ลิ้นปี่ นอกจากนี้กาแฟ ยังลดการดูดซึมธาติเหล็กอีกด้วย จึงควรระวังในการดื่มกาแฟ โดยเฉพาะขณะท้องว่าง


ชมพู่น้ำดอกไม้

ชมพู่น้ำดอกไม้

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Rose Apple, Syzygium jambos (Linn.) Alston
ชื่อวงศ์ : MYRTACEAE
ชื่ออื่น : ฝรั่งน้ำ, มะซามุด, มะน้ำหอม, มะห้าคอกลอก

รูปลักษณะ : ชมพู่น้ำดอกไม้ เป็นไม้ยืนต้น สูงได้ถึง 10 เมตร ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปขอบขนานแกมใบหอก กว้าง 3-4 ซม. ยาว 12-17 ซม. ดอกช่อกระจะ ออกที่ปลายกิ่ง ดอกย่อย 3-8 ดอก กลีบดอกสีขาวหรือเหลืองอ่อน ฐานรองดอกรูปกรวย เกสรตัวผู้จำนวนมาก ผลเป็นผลสด กินได้ รูปเกือบกลม เส้นผ่าศูนย์กลาง 5-6 ซม.

สรรพคุณของ ชมพู่น้ำดอกไม้ : ผล ใช้ปรุงเป็นยาหอม ชูกำลัง บำรุงหัวใจ แก้ลมปลายไข้ เปลือก, ต้น และเมล็ด แก้เบาหวานและแก้ท้องเสีย


บานทน

บานทน

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Strophanthus gratus (Wall. ex Hook.) Baill.
ชื่อวงศ์ : APOCYNACEAE
ชื่ออื่น : แย้มปีนัง, หอมปีนัง

รูปลักษณะ : บานทน เป็นไม้พุ่ม ลำต้นตั้งตรง สูง 3-5 เมตร ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปวงรีแกมขอบขนาน กว้าง 4-6 ซม. ยาว 9-13 ซม. ดอกช่อ ออกที่ปลายกิ่ง ดอกย่อย 5-20 ดอก กลิ่นหอม กลีบดอกสีม่วงแกมชมพู เชื่อมติดกันเป็นรูประฆัง ผลเป็นฝัก รูปเรียวยาว เมล็ดสีน้ำตาล มีขนสีขาว

สรรพคุณของ บานทน : เมล็ด พบสารที่ออกฤทธิ์ กระตุ้นหัวใจในเมล็ดคือ ออเบน(Ouabain) บางประเทศในยุโรป สกัดทำเป็นยาฉีดรักษาโรคหัวใจ มีความเป็นพิษสูง ไม่สมควรกินในลักษณะสมุนไพร อาการพิษ คลื่นไส้ ท้องเสีย หัวใจเต้นแรงและเร็ว ต้องรีบทำให้อาเจียน และนำส่งโรงพยาบาลทันที


บุนนาค

บุนนาค

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Iron Wood, Mesua ferrea Linn.
ชื่อวงศ์ : CLUSIACEAE
ชื่ออื่น : สารภีดอย

รูปลักษณะ : บุนนาค เป็นไม้ยืนต้น สูง 10-15 เมตร ลำต้นตรง ใบอ่อนสีแดง ใบเดี่ยว รูปใบหอก กว้าง 2-4 ซม. ยาว 7-12 ซม. เนื้อในบาง เหนียว ดอกเดี่ยวหรือออกเป็นคู่ที่ซอกใบและปลายกิ่ง กลีบดอกสีขาว มีเกสรตัวผู้สีเหลืองจำนวนมาก กลิ่นหอมเย็น ผลเป็นผลสด

สรรพคุณของ บุนนาค : ดอกสด มีน้ำมันหอมระเหย ดอกแห้ง จัดอยู่ในพิกัดเกสรทั้งห้า ใช้เป็นยาฝาดสมาน บำรุงธาตุและขับลม บำรุงโลหิต บำรุงหัวใจ


พะยอม

พะยอม

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Shorea roxburghii G. Don
ชื่อวงศ์ : DIPTEROCARPACEAE
ชื่ออื่น : กะยอม, ขะยอมดง, แคน, พะยอมดง, พะยอมทอง, ยางหยวก

รูปลักษณะ : พะยอม เป็นไม้ยืนต้น สูง 15-30 เมตร ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปขอบขนาน กว้าง 4-6 ซม. ยาว 8-12 ซม. ขอบใบเป็นคลื่น ดอกช่อ ออกที่ปลายกิ่ง กลีบดอกสีขาว กลิ่นหอม ผลแห้ง รูปกระสวย มีปีกยาว 3 ปีก ปีกสั้น 2 ปีก

สรรพคุณของ พะยอม : เปลือกต้น ต้นน้ำดื่มเป็นยาฝาดสมาน แก้ท้องเดินและสำไส้อักเสบ สารที่ออกฤทธิ์คือ แทนนิน นอกจากนี้ยังใช้เปลือกต้นเป็นยากันบูดด้วย ดอก ใช้เป็นยาลดไข้ เข้ายาหอมบำรุงหัวใจ


มะตูม

มะตูม

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Bael Fruit Tree, Bengal Quince, Aegle marmelos (Linn.) Corr.
ชื่อวงศ์ : RUTACEAE
ชื่ออื่น : กะทันตาเถร, ตุ่มตัง, ตูม, มะปิน

รูปลักษณะ : มะตูม เป็นไม้ยืนต้น สูง 10-15 เมตร ใบประกอบแบบนิ้วมือ เรียงสลับ ใบย่อย 3 ใบ รูปวงรี หรือรูปไข่แกมใบหอก กว้าง 2-7 ซม. ยาว 4-13 ซม. ขอบใบหยักมน ดอกช่อ ออกที่ซอกใบ และที่ปลายกิ่ง กลีบดอกด้านนอกสีเขียวอ่อน ด้านในสีนวล ใบและดอกมีกลิ่นหอม ผล เป็นผลสด เนื้อในสีเหลือง มีน้ำเมือก

สรรพคุณของ มะตูม : ผลดิบแห้ง ใช้ชงดื่ม ทำให้สดชื่น หายอ่อนเพลีย แก้ท้องเสีย แก้บิด ผลสุกเป็นยาระบาย ช่วยย่อยอาหาร


มะพร้าว

มะพร้าว

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Coconut, Cocos nucifera Linn.
ชื่อวงศ์ : ARECACEAE
ชื่ออื่น : หมากอุ๋น, หมากอูน

รูปลักษณะ : มะพร้าว เป็นไม้ยืนต้นจำพวกปาล์ม สูงได้ถึง 25 เมตร ลำต้นตั้งตรง ไม่แตกกิ่ง มีรอยแผลเมื่อก้านใบหลุดออกไป ใบประกอบแบบขนนก เรียงสลับ หนาแน่นที่บริเวณยอด ยาว 4-6 เมตร ใบย่อยรูปพัดจีบ กว้าง 1.5-5 ซม. ยาว 50-100 ซม. ดอกช่อ ออกระหว่างก้านใบ ดอกย่อยจำนวนมาก แยกเพศ อยู่บนต้นเดียวกัน ดอกตัวผู้สีเหลืองหม่น ดอกตัวเมียสีเขียว หรือเขียวแกมเหลือง ใบประดับยาว 60-90 ซม. ผล เป็นผลสด รูปใข่แกมทรงกลมหรือรูปไข่กลับ สีเขียวหรือเขียวแกมเหลือง เนื้อสีขาว

สรรพคุณของ มะพร้าว : น้ำมะพร้าว มีเกลือโปแตสเซียมและน้ำตาลกลูโคสสูง อาจทำให้น้ำตาลในเลือดสูง มีเกลือคลอไรด์และโซเดียมต่ำกว่าผงน้ำตาลเกลือแร่ สูตรองค์การอนามัยโลก ที่ใช้กับโรคท้องเสีย ทำให้ชุ่มคอ บำรุงธาตุไฟ ช่วยกระตุ้นการหายใจ มีฤทธิ์ขับปัสสาวะเล็กน้อย


มะลิลา

มะลิลา

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Arabian Jasmine, Jasminum sambac Ait.
ชื่อวงศ์ : OLEACEAE
ชื่ออื่น : มะลิซ้อน, ข้าวแตก, มะลิ, มะลิขี้ไก่, มะลิป้อม, มะลิหลวง

รูปลักษณะ : มะลิลา เป็นไม้พุ่ม สูง 1-2 เมตร ใบประกอบ ชนิดมีใบย่อยใบเดียว เรียงตรงข้าม รูปไข่ รูปวงรีหรือรูปวงรีแกมขอบขนาน กว้าง 3-6 ซม. ยาว 5-10 ซม. สีเขียวแกมเหลือง ดอกช่อ ออกที่ปลายกิ่งและซอกใบ กลีบดอกสีขาว กลิ่นหอม มะลิลามีกลีบดอกชั้นเดียว ส่วนมะลิซ้อนมีกลีบดอกซ้อนกันหลายชั้น ผลเป็นผลสด

สรรพคุณของ มะลิลา : ดอกแห้ง จัดอยู่ในพิกัดเกสรทั้งห้า ใช้ปรุงยาหอม ทำให้จิตใจชุ่มชื่น แก้ไข้


รสสุคนธ์

รสสุคนธ์

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Tetracera loureiri (Finet et Gagnep.) Pierre ex Craib
ชื่อวงศ์ : DILLENIACEAE
ชื่ออื่น : เถากกะปดใบเลื่อม, บอระคน, อรคนธ์, ปดคาย, ปดเลื่อน, ปดน้ำมัน, มะตาดเครือ, รสสุคนธ์ขาว, สุคนธรส, เสาวรส, ย่านปด

รูปลักษณะ : รสสุคนธ์ เป็นไม้เถาเลื้อยเนื้อแข็งขนาดกลาง ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปวงรี กว้าง 4-7 ซม. ยาว 7-16 ซม. ขอบใบหยักฟันเลื่อย แผ่นใบสากมือ สีเขียวเข้ม ดอกช่อแยกแขนง ออกที่ซอกใบ และปลายกิ่ง ดอกย่อยจำนวนมาก มีใบประดับ กลีบดอกสีขาว มีกลิ่นหอม ผลเป็นฝัก รูปเกือบกลม แตกตะเข็บเดียว เมล็ดรูปไข 1-2 เมล็ด มีเยื่อหุ่มสีแดง

สรรพคุณของ รสสุคนธ์ : ดอก ใช้ดอกเข้ายาหอมบำรุงหัวใจ แก้เป็นลม อ่อนเพลีย


สนุ่น

สนุ่น

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Willow, Salix tetrasperma Roxb.
ชื่อวงศ์ : SALICACEAE
ชื่ออื่น : คล้าย, ไคร้นุ่น, ไคร้บก, ตะไคร้บก, ไคร้ใหญ่, ตะหนุ่น, สนุนน้ำ

รูปลักษณะ : สนุ่น เป็นไม้ยีนต้น สูง 5-10 เมตร ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปใบหอกกว้าง 2-3 ซม. ยาว 5-10 ซม. ท้องใบสีขาว ขอบใบหยักซี่ฟัน ก้านใบสีแดง ดอกช่อ ออกที่ซอกใบ แยกเพศ อยู่คนละต้น ไม่มีกลีบดอก ผลแห้ง แตกได้

สรรพคุณของ สนุ่น : เปลือก เป็นยาบำรุงหัวใจ แก้ไข้ ต้มน้ำอาบแก้ไข้ แก้หวัด คัดจมูก ในเปลือกต้นพบสาร Salicin มีฤทธิ์ลดไข้ แก้ปวดเช่นเดียวกับแอสไพริน (Aspirin) ใบ น้ำคั้นใบสด แก้พิษงูสวัด


สารภี

สารภี

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Mammea siamensis Kosterm.
ชื่อวงศ์ : CLUSIACEAE
ชื่ออื่น : ทรพี, สร้อยพี, สารภีแนน

รูปลักษณะ : สารภี เป็นไม้ยืนต้น สูง 10-15 เมตร ใบเดี่ยว เรียงตรงข้ามรูปไข่ กลับแกมขอบขนาน กว้าง 4-5 ซม. ยาว 10-15 ซม. เนื้อใบค่อนข้างเหนียวและหนา ดอกเดี่ยวหรือช่อ ออกเป็นกระจุกตามกิ่ง กลีบดอกสีขาว กลิ่นหอม ร่วงง่าย มีเกสรตัวผู้สีเหลืองจำนวนมาก ผลเป็นผลสด รูปกระสวย

สรรพคุณของ สารภี : ดอกแห้ง ตำรายาไทยใช้ดอกแห้งปรุงยาหอม บำรุงหัวใจให้ชุ่มชื่น ชูกำลัง จัดอยู่ในพิกัดเกสรทั้งห้า



พืชสมุนไพร ประเภท ยาบำรุงเลือด

ผักเป็ดแดง

ผักเป็ดแดง

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Joyweed, Alternanthera bettzickiana (Regel) Nichols.
ชื่อวงศ์ : AMARANTHACEAE
ชื่ออื่น : ผักเป็ดฝรั่ง, พรมมิแดง, ผักโหมแดง

รูปลักษณะ : ผักเป็ดแดง เป็นไม้ล้มลุกอายุหลายปี ลำต้นตั้งตรง สูง 10-20 ซม. ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปสีเหลี่ยมขนมเปียกปูน หรือรูปใบหอกกลับ กว้าง 0.5-1.5 ซม. ยาว 1-5 ซม. สีแดง ดอกช่อ รูปกระบอก หรือทรงกลมออกที่ซอกใบและปลายกิ่ง กลีบรวมสีขาวนวล ผลแห้ง รูปคล้ายโล่ เมล็ดสีน้ำตาล

สรรพคุณของ ผักเป็ดแดง : ทั้งต้น รับประทานเป็นผักช่วยขับน้ำนม ต้มกับน้ำรับประทานเป็นยาแก้ไข้ ตำพอกรักษาแผล

ฝาง

ฝาง

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Sappan, Caesalpinia sappan Linn.
ชื่อวงศ์ : FABACEAE
ชื่ออื่น : ฝางส้ม

รูปลักษณะ : ฝาง เป็นไม้พุ่ม สูง 5-8 เมตร มีหนามทั่วไป ใบ ประกอบแบบขนนกสองชั้น เรียงสลับ ใบย่อยรูปไข่ หรือรูปขอบขนาน กว้าง 0.6-0.8 ซม. ยาว 1.5-1.8 ซม. โคนใบเฉียง ดอกช่อ ออกที่ซอกใบตอนปลายกิ่งหรือที่ปลายกิ่ง กลีบดอกสีเหลือง ผล เป็นฝักแบน สีน้ำตาล

สรรพคุณของ ฝาง : แก่น ใช้แก่นเป็นยาขับระดู บำรุงเลือด แก้ปอดพิการ ขับเสมหะ น้ำต้มแก่น ใช้แต่งสีแดงของน้ำอุทัย และแต่งสีขนมหวานต่างๆ สารที่มีสีแดงคือ Brazilin

แกแล

แกแล

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Maclura cochinchinensis (Lour.) Corner
ชื่อวงศ์ : MORACEAE
ชื่ออื่น : แกก้อง, สักขี, เหลือง, แกล, แหรเข, ช้างงาต้อก, น้ำเคี่ยวโซ่, หนามเข

รูปลักษณะ : แกแล เป็นไม้พุ่ม สูง 5-10 เมตร มียางขาว ใบเดี่ยว เรี่ยงสลับ เวียนรอบกิ่งรูปวงรี กว้าง 1-3.5 ซม. ยาว 2- 9 ซม. มีหนามแหลมออกตรงซอกใบ 1 อัน ยาวประมาณ 1 ซม. ดอกช่อ ออกที่ซอกใบ แยกเพศ อยู่คนละต้น รูปกลม ผล เป็นผลรวม

สรรพคุณของ แกแล : แก่น ใช้แก่นแก้ไข้รากสาด แก้ท้องร่วง บำรุงน้ำเหลือง บำรุงกำลัง บำรุงเลือด



พืชสมุนไพร ประเภท ยาเจริญอาหาร

กรรณิการ์

กรรณิการ์

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Night Jasmine, Nyctanthes arbor-tristis Linn.
ชื่อวงศ์ : VERBENACEAE
ชื่ออื่น : กณิการ์, กรณิการ์

รูปลักษณะ : กรรณิการ์ เป็นไม้พุ่ม สูง 2-5 เมตร ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปไข่ หรือรูปใบหอก กว้าง 2.5-5 ซม. ยาว 5 -10 ซม. ค่อนข้างหยาบสาก ดอกช่อ ออกเป็นกระจุกที่ซอกใบและปลายกิ่ง กลีบดอกสีขาว โคนกลีบดอกเป็นหลอดสีส้มแดง ผลแห้ง แตกได้ แบน รูปไข่กลับ

สรรพคุณของ กรรณิการ์ : ใบ ใช้ใบเป็นยาขมเจริญอาหาร บำรุงน้ำดี ต้น แก้ปวดศีรษะ ดอก แก้ไข้และลมวิงเวียน ราก บำรุงธาตุ บำรุงกำลัง แก้ท้องผูก โคนกลีบ ใช้โคนกลีบส่วนหลอดสีส้มแดงโขลกหยาบๆ เติมน้ำคั้น ส่วนน้ำกรองจะได้น้ำสีเหลืองใส ใช้เป็นสีผสมอาหาร และย้อมผ้า เติมน้ำมะนาว หรือสารส้มลงไปเล็กน้อยขณะย้อมผ้า จะทำให้สีคงทน

ขิง

ขิง

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Ginger, Zingiber officinale Rosc.
ชื่อวงศ์ : ZINGIBERACEAE
ชื่ออื่น : ขิงแกลง, ขิงแดง, ขิงเผือก

รูปลักษณะ : ขิง เป็นไม้ล้มลุก สูง 0.3-1 เมตร มีเหง้าใต้ดิน เปลือกนอกสีน้ำตาลแกมเหลือง เนื้อในสีนวลมีกลิ่นเฉพาะ แทงหน่อหรือลำต้นเทียมขึ้นมาจากดิน ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปขอบขนาน แกมใบหอก กว้าง 1.5-2 ซม. ยาว 15-20 ซม. ดอกช่อ แทงออกจากเหง้า กลีบดอกสีเหลืองแกมเขียว ใบประดับสีเขียวอ่อน ผลแห้ง มี 3 พู

สรรพคุณของ ขิง : เหง้าแก่ทั้งสดและแห้ง ตำรายาไทยใช้เป็นยาขับลม ช่วยให้เจริญอาหาร แก้อาเจียน แก้ไอ ขับเสมหะและขับเหงื่อ โดยใช้เหง้าสดขนาดนิ้วหัวแม่มือต้มกับน้ำ ผงขิงแห้ง ชงน้ำดื่ม จากการทดลองกับอาสาสมัคร 36 คน พบว่าผงขิง ป้องกันการเมารถ เมาเรือ ได้ดีกว่ายาแผนปัจจุบัน (Dimenhydrinate) ในเหง้ามีน้ำมันหอมระเหย ประกอบด้วย Menthol, Borneol, Fenchone, 6-Shogaol และ 6-Gingerol Menthol มีฤทธิ์ขับลม Borneol, Fenchone และ 6-Gingerol มีฤทธิ์ขับน้ำดี ช่วยย่อยไขมัน นอกจากนี้พบว่า สารที่มีรสเผ็ด ได้แก่ 6-Shogaol และ 6-Gingrol ลดการบีบตัวของลำไส้ จึงช่วยบรรเทาอาการปวดท้องเกร็ง

ตะไคร้

ตะไคร้

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Lemon Grass, Cymbopogon citratus (DC.) Stapf
ชื่อวงศ์ : POACEAE
ชื่ออื่น : จะไคร, ไคร

รูปลักษณะ : ตะไคร้ เป็นไม้ล้มลุก อายุหลายปี สูง 0.75-1.2 เมตร แตกเป็นกอ เหง้าใต้ดินมีกลิ่นเฉพาะ ข้อและปล้องสั้นมาก กาบใบสีขาวนวล หรือขาวปนม่วง ยาวและหนาหุ้มข้อ และปล้องไว้แน่น ใบเดี่ยว เรียงสลับ กว้าง 1-2 ซม. ยาว 70-100 ซม. แผ่นใบและขอบใบสากและคม ออกดอกยาก

สรรพคุณของ ตะไคร้ : โคนกาบใบ, ลำต้น ทั้งสดและแห้ง มีน้ำมันหอมระเหยช่วยให้เจริญอาหาร ใช้เป็นยาขับลม แก้ท้องอืดท้องเฟ้อแน่นจุกเสียด ใช้ลำต้นแก่สดประมาณ 1 กำมือ (40-60 กรัม) ทุบพอแหลก ต้มน้ำพอเดือดหรือชงน้ำ ดื่มวันละ 3 ครั้งก่อนอาหาร นอกจากนี้ใช้เป็นยาขับปัสสาวะ สำหรับผู้ป่วยที่มีอาการขัดเบา หรือปัสสาวะไม่คล่อง โดยผู้ป่วยต้องไม่มีอาการบวมที่แขนและขา พบว่าน้ำมันตะไคร้มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อรา และแบคทีเรีย

สะเดาบ้าน

สะเดาบ้าน

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Neem Tree, Azadirachta indica A.Juss, Var.Siamensis Valeton
ชื่อวงศ์ : MELIACEAE

รูปลักษณะ : สะเดาบ้าน เป็นไม้ยืนต้น สูง 4-10 เมตร ทุกส่วนมีรสขม ยอดอ่อนที่แตกใหม่ มีสีน้ำตาลแดง เปลือกต้นสีเทาแตกเป็นร่อง ใบประกอบแบบขนนก เรียงสลับ ใบย่อยรูปใบหอก กว้าง 3-4 ซม. ยาว 4-8 ซม. ขอบใบหยักฟันเลื่อย ฐานใบไม่เท่ากัน ดอกช่อ ออกที่ปลายกิ่ง ขณะกำลังแตกใบ่ออน กลีบดอกสีขาว ผล เป็นผลสด รูปรี มี 1 เมล็ด

สรรพคุณของ สะเดาบ้าน : ก้านใบและราก ใช้เป็นยาแก้ไข้ทุกชนิด เปลือกต้น แก้ท้องเสีย เมล็ดและใบ มีสาร Azadirachtin ซึ่งใช้เป็นยาฆ่าแมลงศัตรูพืช โดยใช้สะเดาบ้าน ใบตะไคร้หอมและเหง้าข่าแก่ ชนิดละ 2 กก. บดละเอียด หมักค้างคืนกับน้ำ 1 ปีบ ฉีดพ่นในอัตราส่วนน้ำยา 300-500 ซีซี ต่อน้ำ 1 ปีบ

ส้มป่อย

ส้มป่อย

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Acacia concinna (Willd.) DC.
ชื่อวงศ์ : FABACEAE
ชื่ออื่น : ส้มขอน

รูปลักษณะ : ส้มป่อย เป็นไม้พุ่มรอเลื้อย มีหนามตามลำต้น กิ่ง ก้านและใบ ใบประกอบแบบขนนกสองชั้น เรียงสลับ ยาว 7-20 ซม. ใบย่อยรูปขอบขนาน ขนาดเล็ก ดอกช่อ ออกที่ซอกใบ เป็นช่อกลม กลีบดอกเป็นหลอด สีนวล ผลเป็นฝัก สีน้ำตาลดำ ผิวย่นขรุขระ ขอบมักเป็นคลื่น

สรรพคุณของ ส้มป่อย : ฝัก มีสารออกฤทธิ์กลุ่มซาโปนินสูงถึง 20.8% ได้แก่ Acacinius A, B, C, D และ E ซึ่งถ้าตีกับน้ำจะเกิดฟองที่คงทนมาก ใช้สระผมแก้รังแค ต้มน้ำอาบหลังคลอด หรือชุบสำลีปิดแผลโรคผิวหนัง ฝักกินเป็นยาขับเสมหะ แก้น้ำลายเหนียว

หอมแดง

หอมแดง

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Eleutherine americana Merr.
ชื่อวงศ์ : IRIDACEAE
ชื่ออื่น : ว่านไก่แดง, ว่านเข้า, ว่านหมาก, ว่านเพลาะ, ว่านหอมแดง

รูปลักษณะ : หอมแดง เป็นไม้ล้มลุกอายุหลายปี มีหัวใต้ดินคล้ายหัวหอม รูปรียาว ใบเกร็ดที่หุ้มหัวใต้ดิน สีม่วงแแดง ใบเดี่ยว ออกเป็นกระจุก 3-4 ใบ รูปดาบ กว้าง 2-4 ซม. ยาว 20-40 ซม. เส้นใบขนาน จีบตามยาวคล้ายพัด ดอกช่อ แทงจากลำต้นใต้ดิน กลีบดอกสีขาว ผลแห้ง แตกได้

สรรพคุณของ หอมแดง : หัวใต้ดินสด ใช้ผสมรวมกับเหง้าเปราะหอม ตำหยาบๆ ห่อผ้าสุมหัวเด็ก แก้หวัดคัดจมูก และกินเป็นยาขับลม

เจตมูลเพลิงแดง

เจตมูลเพลิงแดง

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Rose-colored Leadwort, Plumbago indica Linn.
ชื่อวงศ์ : PLUMBAGINACEAE
ชื่ออื่น : ปิดปิวแดง, ไฟใต้ดิน

รูปลักษณะ : เจตมูลเพลิงแดง เป็นไม้พุ่ม สูง 0.8-1.5 เมตร ลำต้นกลมเรียบ มีสีแดงบริเวณข้อ ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปไข่แกมวงรี กว้าง 3-5 ซม. ยาว 6-10 ซม. ดอกช่อ ออกที่ปลายกิ่ง กลีบเลี้ยงมีต่อม ซึ่งเมื่อจับจะรู้สึกเหนียว กลีบดอกสีแดง ผลแห้ง แตกได้

สรรพคุณของ เจตมูลเพลิงแดง : รากแห้ง ใช้ขับประจำเดือน กระจายลม บำรุงธาตุ รักษาโรคริดสีดวงทวาร พบว่ามีสาร Plumbagin ซึ่งมีฤทธิ์กระตุ้นการบีบตัวของมดลูกและลำไส้ ช่วยให้มีการหลั่งน้ำย่อยเพิ่มขึ้น เพิ่มความอยากอาหาร แต่ควรระวังในการใช้ เนื่องจาก Plumbagin ระคายเคืองต่อทางเดินอาหาร และอาจเป็นพิษได้

แสลงใจ

แสลงใจ

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Nux-vomica Tree, Snake Wood, Strychnos nux-vomica Linn.
ชื่อวงศ์ : STRYCHNACEAE
ชื่ออื่น : กระจี้, กะกลิ้ง, ตูมกาแดง, แสลงทม, แสลงเบื่อ, แสลงเบือ

รูปลักษณะ : แสลงใจ เป็นไม้ยืนต้น สูงประมาณ 30 เมตร ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปไข่แกมขอบขนาน กว้าง 5-8 ซม. ยาว 7-12 ซม. ดอกช่อ ออกที่ซอกใบ กลีบดอกสีเขียวอ่อน ผลเป็นผลสด รูปกลม เมล็ดกลมแบนคล้ายกระดุม สีเขียวแกมเทา มีขนสีน้ำตาลอ่อนนุ่มปกคลุม

สรรพคุณของ แสลงใจ : เมล็ด เมล็ดแก่แห้ง เรียกว่า โกฐกะกลิ้ง ใช้เป็นยาขมเจริญอาหาร บำรุงหัวใจ ขับน้ำย่อย พบว่ามีแอลคาลอยด์ Strychnine และ Brucine ซึ่งมีฤทธิ์กระตุ้นระบบประสาทส่วนกลาง มีความเป็นพิษสูง หากได้รับเกินขนาดจะเป็นอันตราย อาการพิษคือ กล้ามเนื้อกระตุกและชัก อาจถึงตาย ปัจจุบันไม่ค่อยใช้เป็นยา และกำหนดขนาดไว้ให้กินได้ ไม่เกินครั้งละ 60 มก. แต่ใช้เป็นยาเบื่อหนูและสุนัข

โมกมัน

โมกมัน

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Wrightia tomentosa Roem. et Schult.
ชื่อวงศ์ : APOCYNACEAE
ชื่ออื่น : มักมัน, มูกน้อย, มูกมัน, โมกน้อย

รูปลักษณะ : โมกมัน เป็นไม้ยืนต้น สูง 10-12 เมตร มียางขาว ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปวงรี หรือรูปวงรีแกมขอบขนาน กว้าง 3-6 ซม. ยาว 7-12 ซม. ดอกช่อ ออกที่ปลายกิ่ง กลีบดอก สีขาวแกมชมพู ผลเป็นฝักคู่ติดกัน

สรรพคุณของ โมกมัน : เปลือก ใช้เปลือกเป็นยาบำรุงธาติ เจริญอาหาร แก่น แก้ดีพิการ ขับเลือดยางจากต้น ใช้แก้บิดมูกเลือด

ไข่เน่า

ไข่เน่า

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Vitex glabrata R. Br.
ชื่อวงศ์ : VERBENACEAE
ชื่ออื่น : ขี้เห็น, คมขวาน, ฝรั่ง

รูปลักษณะ : ไข่เน่า เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง สูง 10-25 เมตร ใบประกอบแบบนิ้วมือ เรียงตรงข้าม ใบย่อย 3-5 ใบ รูปไข่กลับแกมวงรี หรือรูปใบหอกกลับ กว้าง 4-6 ซม. ยาว 10-13 ซม. ดอกช่อ ออกที่ซอกใบ กลีบดอกสีม่วงอ่อน เชื่อมติดกันเป็นหลอดกว้าง มีขนละเอียด ผลเป็นผลสด รูปไข่หรือรูปไข่กลับ เมื่อสุกสีม่วงดำ

สรรพคุณของ ไข่เน่า : เปลือกต้น, ราก เป็นยาเจริญอาหาร แก้เด็กถ่ายเป็นฟอง แก้บิด แก้ไข้ แก้ตานขโมย แก้ท้องเสีย



พืชสมุนไพร ประเภท ยาแก้บิด แก้ท้องเดิน

กระชาย

กระชาย

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Boesenbergia rotunda (Linn.) Mansf.
ชื่อวงศ์ : ZINGIBERACEAE
ชื่ออื่น : กะแอน, ระแอน, ว่านพระอาทิตย์

รูปลักษณะ : กระชาย เป็นไม้ล้มลุก ไม่มีลำต้นบนดิน มีเหง้าใต้ดิน ซึ่งแตกรากออกไปเป็นกระจุกจำนวนมาก อวบน้ำ ตรงกลางพองกว้างกว่าส่วนหัวและท้าย ใบเดี่ยว เรียงสลับในระนาบเดียวกัน รูปขอบขนานแกมรูปไข่ กว้าง 4.5-10 ซม. ยาว 15-30 ซม. ตรงกลางด้านในของก้านใบมีรองลึก ดอกช่อ ออกแทรกอยู่ระหว่างกาบใบที่โคนต้น กลีบดอกสีขาวหรือชมพูอ่อน ใบประดับรูปใบหอก สีม่วงแดง ดอกย่อยบานครั้งละ 1 ดอก

สรรพคุณของ กระชาย : เหง้า ใช้แก้โรคในปาก ขับปัสสาวะ รักษาโรคบิด แก้ปวดมวนท้อง ขับระดูขาว

กระทงลาย

กระทงลาย

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Celastrus paniculatus Willd.
ชื่อวงศ์ : CELASTRACEAE
ชื่ออื่น : กระทุงลาย, โชด, นางแตก, มะแตก, มะแตกเครือ, มักแตก

รูปลักษณะ : กระทงลาย เป็นไม้เถารอเลื้อย เนื้อแข็ง ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปวงรีหรือรูปวงรีแกมขอบขนาน กว้าง 2.5-4 ซม. ยาว 6-8 ซม. ดอกช่อ ออกที่ปลายกิ่งและซอกใบ กลีบดอกสีเขียว ผลแห้ง แตกได้ รูปทรงกลมหรือรูปไข่ เมล็ดมีเยื่อสีน้ำตาลแดง

สรรพคุณของ กระทงลาย : ราก ใช้เป็นยาแก้ไข้ แก้ไข้มาลาเรีย ใบ รักษาโรคบิด แก่น รักษาวัณโรค ผล แก้ลมจุกเสียด บำรุงโลหิต เมล็ด พอกหรือรับประทานรักษาโรคปวดตามข้อ กล้ามเนื้อและอัมพาต น้ำมันในเมล็ด รักษาโรคเหน็บชา และเป็นยาขับเหงื่อ

กระท้อน

กระท้อน

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Sandoricum koetjape (Burm. f.) Merr.
ชื่อวงศ์ : MELIACEAE
ชื่ออื่น : เตียน, เลื่ยน, สะท้อน, มะต้อง, มะตึ๋น

รูปลักษณะ : กระท้อน เป็นไม้ยืนต้น มียางขาว สูง 15-30 เมตร ใบประกอบ มีใบย่อย 3 ใบ เรียงสลับ ใบย่อยรูปไข่แกมวงรี แกมขอบขนาน กว้าง 6-15 ซม. ยาว 8-20 ซม. เมื่อแห้งจะเปลี่ยนเป็นสีส้มแดง ดอกช่อ ออกที่ซอกใบ ดอกย่อยจำนวนมาก กลีบดอกสีเหลืองหม่น ผลเป็นผลสด รูปกลมแป้น สีเหลือง ผิวมีขนแบบกำมะหยี่

สรรพคุณของ กระท้อน : เปลือก ใช้เปลือกต้นต้มน้ำดื่มแก้ท้องเสีย

ฆ้องสามย่าน

ฆ้องสามย่าน

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Kalanchoe laciniata (Linn.) DC.
ชื่อวงศ์ : CRASSULACEAE
ชื่ออื่น : เถาไฟ, ฮอมแฮม

รูปลักษณะ : ฆ้องสามย่าน เป็นไม้ล้มลุก ลำต้นตั้งตรง สูงได้ถึง 1 เมตร ลำต้นและใบฉ่ำน้ำ ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม มีหลายรูปร่าง ใบบริเวณกลางลำต้นเว้าเป็นแฉกลึก ดูกล้ายเป็นใบประกอบ ใบบริเวณโคนต้นไม่เว้า หรือเว้าเป็นแฉกตื้นๆ ใบทั้งสองแบบสีเขียวอ่อน อาจมีสีม่วงแซม ดอกช่อ ออกที่ปลายกิ่ง ดอกย่อยจำนวนมาก กลีบดอกสีเหลืองเชื่อมติดกันเป็นหลอด ผลแห้ง แตกตะเข็บเดียว รูปไข่แกมขอบขนาน

สรรพคุณของ ฆ้องสามย่าน : ใบ น้ำคั้นจากใบใช้กินแก้ท้องร่วง ใช้ใบเป็นยาเย็น ดับพิษร้อนภายใน ตำพอกแก้พิษอักเสบ ปวด บวม รักษาแผล ฝีห้ามเลือด พิษตะขาบ แมงป่อง ตากแดดให้แห้ง บดเป็นผงทาลิ้นเด็กอ่อนแก้ละอองทราง

ช้าพลู

ช้าพลู

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Piper sarmentosum Roxb. ex Hunter
ชื่อวงศ์ : PIPERACEAE
ชื่ออื่น : นมวา, ผักปูนา, ผักพลูนก, พลูลิง

รูปลักษณะ : ช้าพลู เป็นไม้ล้มลุก สูง 30-80 ซม. มีไหลงอกเป็นต้นใหม่ ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปหัวใจ กว้าง 5-10 ซม. ยาว 7-15 ซม. ดอกช่อ ออกที่ซอกใบ รูปทรงกระบอก ดอกย่อยแยกเพศ ผลเป็นผลสด

สรรพคุณของ ช้าพลู : ต้น ใช้ทั้งต้นขับเสมหะ ใบเป็นยาขับลม การทดลองในสัตว์พบว่าสารสกัด ทั้งต้นมีฤทธิ์กระตุ้นการเคลื่อนไหวของลำไส้ และคลายกล้ามเนื้อ

ทับทิม

ทับทิม

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Pomegranate, Punica granatum Linn.
ชื่อวงศ์ : PUNICACEAE
ชื่ออื่น : พิลา, พิลาขาว, มะก่องแก้ว, มะเก๊าะ

รูปลักษณะ : ทับทิม เป็นไม้พุ่ม สูง 2-5 เมตร กิ่งเล็กๆ มักเปลี่ยนเป็นหนามแหลม ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปวงรีแกมขอบขนาน กว้าง 1-2 ซม. ยาว 4-6 ซม. ใบอ่อนมีสีแดง ดอกเดี่ยว หรือช่อ 2-5 ดอก ออกที่ซอกใบและปลายยอด กลีบดอกสีส้มแดง ร่วงง่าย กลีบเลี้ยงหนาแข็ง สีส้ม แกมเหลือง ผลเป็นผลสด รูปกลม

สรรพคุณของ ทับทิม : เปลือกผล ใช้เปลือกผลแก่ตากแห้ง รักษาอาการท้องร่วง ขนาดที่ใช้คือ เปลือกผลแห้ง ประมาณ 1 ใน 4 ผล ฝนหับน้ำให้ข้นๆ กินวันละ 1-2 ครั้ง การกินขนาดสูงอาจเป็นอันตรายได้ นอกจากนี้ ใช้ฝนกับน้ำทาแก้น้ำกัดเท้า พบว่ามีสารแทนนิน และกรดแทนนิกซึ่งช่วยฝาดสมาน เปลือกราก, เปลือกต้น มีสาร Pelletierine และ Isopelletierine ซึ่งเป็นพิษจึงไม่ควรใช้

ฝรั่ง

ฝรั่ง

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Guava, Psidium guajava Linn.
ชื่อวงศ์ : MYRTACEAE
ชื่ออื่น : จุ่มโป, ชมพู, มะก้วย, มะด้วยกา, มะมั่น, มะกา, มะจีน, ย่าหมู, สีดา

รูปลักษณะ : ฝรั่ง เป็นไม้ยืนต้น สูง 3-10 เมตร เปลือกต้นเรียบ ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม หรือรูปวงรีแกมขอบขนาน กว้าง 3-8 ซม. ยาว 6 -14 ซม. ดอกเดี่ยวหรือช่อ 2-3 ดอก ออกที่ซอกใบ กลีบดอกสีขาว ร่วงง่าย เกสรตัวผู้จำนวนมาก ผลเป็นผลสด

สรรพคุณของ ฝรั่ง : ใบ แก้ท้องร่วง บิดมูกเลือด ระงับกลิ่นปาก รากขับปัสสาวะ การทดลองกับผู้ป่วยโรคอุจจาระร่วง โดยให้กินผงใบแห้ง 500 มก. ทุก 3 ชม. เป็นเวลา 3 วัน พบว่าได้ผลดีกว่า ยาปฏิชีวนะเตตราซัยคลิน

ฝิ่นต้น

ฝิ่นต้น

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Jatropha multifida Linn.
ชื่อวงศ์ : EUPHORBIACEAE
ชื่ออื่น : มะละกอฝรั่ง, มะหุ่งแดง

รูปลักษณะ : ฝิ่นต้น เป็นไม้พุ่ม ลำต้นตั้ง สูง 2-4 เมตร ใบเดี่ยว เรียงสลับรูปไข่กว้างแกมรูปโล่ กว้าง 15-20 ซม. ยาว 18- 25 ซม. แยกเป็นแฉกๆ คล้ายใบมะละกอ ดอกช่อแยกแขนง แบบเชิงหลั่น ออกที่ซอกใบ ใกล้ปลายกิ่ง ดอกย่อยแยกเพศ อยู่ในช่อเดียวกัน กลีบดอกสีแดง ผลแห้ง รูปไข่กลับกว้าง มี 3 พู แตกได้เมื่อสุกสีเหลือง

สรรพคุณของ ฝิ่นต้น : เปลือก ใช้เปลือกที่มีรสฝาด ปรุงกินเป็นยาคุมธาติ แก้ท้องร่วง แก้อาเจียน

ฟ้าทะลาย

ฟ้าทะลาย

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Andrographis paniculata (Burm. f.) Nees.
ชื่อวงศ์ : ACANTHACEAE
ชื่ออื่น : ฟ้าทะลายโจร, หญ้ากับงู, น้ำลายพังพอน

รูปลักษณะ : ฟ้าทะลาย เป็นไม้ล้มลุก สูง 30-60 ซม. ทั้งต้นมีรสขม ลำต้นเป็นสี่เหลี่ยม แตกกิ่งออกเป็นพุ่มเล็ก ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปไข่หรือรูปใบหอก กว้าง 2-3 ซม. ยาว 4-8 ซม. สีเขียวเข้ม เป็นมัน ดอกช่อ ออกที่ปลายกิ่งและซอกใบ ดอกย่อยขนาดเล็ก กลีบดอกสีขาว โคนกลีบดอกติดกัน ปลายแยกออกเป็น 2 ปาก ปากบนมี 3 กลีบ มีเส้นสีแดงเข้มพาดตามยาว ปากล่างมี 2 กลีบ ผลเป็นฝัก สีเขียวอมน้ำตาล ปลายแหลม เมื่อผลแก่จะแตกเป็นสองซีก ดีดเมล็ดออกมา

สรรพคุณของ ฟ้าทะลาย : ใบและทั้งต้น ใช้เฉพาะส่วนที่อยู่บนดิน ซึ่งเก็บก่อนที่ดอกจะบาน เป็นยาแก้ไข้ แก้เจ็บคอ แก้ท้องเสีย เป็นยาขมเจริญอาหาร ขนาดที่ใช้คือ พืชสด 1-3 กำมือ ต้มน้ำดื่มก่อนอาหาร วันละ 3 ครั้ง หรือใช้พืชแห้งบดเป็นผงละเอียด ปั้นเป็นยาลูกกลอน ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 0.8 ซม. กินครั้งละ 3-6 เม็ด วันละ 3-4 ครั้ง ก่อนอาหารและก่อนนอน สำหรับผงฟ้าทะลายที่บรรจุแคปซูลๆ ละ 500 มิลลิกรัม ให้กินครั้งละ 2 เม็ด วันละ 2 ครั้ง ก่อนอาหารเช้า-เย็น อาการข้างเคียงที่อาจพบคือ คลื่นไส้

มังคุด

มังคุด

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Mangosteen, Garcinia mangostana Linn.
ชื่อวงศ์ : CLUSIACEAE

รูปลักษณะ : มังคุด เป็นไม้ยืนต้น สูง 10-12 เมตร ทุกส่วนมียางสีเหลือง ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปไข่ หรือรูปวงรีแกมขอบขนาน กว้าง 6-11 ซม. ยาว 15-25 ซม. เนื้อใบหนา และค่อนข้างเหนียว คล้ายหนัง หลังใบสีเขียวเข้ม เป็นมัน ท้องใบสีอ่อน ดอกเดี่ยวหรือเป็นคู่ ออกที่ซอกใบ ใกล้ปลายกิ่ง สมบูรณ์เพศ หรือแยกเพศ กลีบเลี้ยงสีเขียวอมเหลือง กลีบดอกสีแดง ฉ่ำน้ำ ผลเป็นผลสด ค่อนข้างกลม

สรรพคุณของ มังคุด : เปลือกผล ใช้เปลือกผลแห้ง ซึ่งมีสารแทนนิน เป็นยาฝาดสมาน แก้โรคท้องร่วง ท้องเสียเรื้อรัง และโรคเกี่ยวกับลำไส้

สมอพิเภก

สมอพิเภก

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Beleric Myrobalan, Terminalia bellirica (Gaertn.) Roxb.
ชื่อวงศ์ : COMBRETACEAE
ชื่ออื่น : ลัน, สมอแหน, แหน, แหนขาว, แหนต้น

รูปลักษณะ : สมอพิเภก เป็นไม้ยืนต้น สูง 25-50 เมตร ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปไข่กลับแกมวงรี กว้าง 5-10 ซม. ยาว 10-20 ซม. ดอกช่อ ออกที่ซอกใบ ขนาดเล็ก เป็นดอกสมบูรณ์เพศ และดอกตัวผู้อยู่บนต้นเดียวกัน กลีบสีเหลือง ผลเป็นผลสด ค่อนข้างกลม มีสัน 5 สัน

สรรพคุณของ สมอพิเภก : ผลดิบ ใช้เป็นยาระบาย ขับเสมหะ ผลดิบ มีฤทธิ์ฝาดสมาน แก้ท้องเสีย

สายน้ำผึ้ง

สายน้ำผึ้ง

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Japanese Honey-suckle, Lonicera japonica Thunb.
ชื่อวงศ์ : CAPRIFOLIACEAE

รูปลักษณะ : สายน้ำผึ้ง เป็นไม้เถาเลื้อยพัน ใบเดี่ยว เรียงตรงข้ามรูปไข่แกมขอบขนาน หรือรูปใบหอก กว้าง 1.5-3 ซม. ยาว 3-6 ซม. ดอกช่อออกเป็นกระจุก ที่ซอกใบและปลายกิ่ง กลีบดอก สีครีมแล้ว เปลี่ยนเป็นสีเหลืองส้ม ผลเป็นผลสด รูปกลม เมื่อสุกมีสีดำ

สรรพคุณของ สายน้ำผึ้ง : ต้น ใช้ทั้งต้นแก้บิด ท้องเสีย ถ่ายเป็นเลือด ลำไส้อักเสบ โรคกระเพาะอาหาร ขับปัสสาวะรักษาฝี แผลเปื่อย มีการทดลองกับผู้ป่วย พบว่ามีฤทธิ์แก้ท้องเสีย

สีเสียดเหนือ

สีเสียดเหนือ

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Catechu Tree, Cutch Tree, Acacia catechu (Linn. f.) Willd.
ชื่อวงศ์ : FABACEAE
ชื่ออื่น : สีเสียด, สีเสียดแก่น, สีเสียดเหลือง

รูปลักษณะ : สีเสียดเหนือ เป็นไม้ยีนต้น สูง 10-15 เมตร กิ่งมีหนามเป็นคู่ ใบประกอบแบบขนนกสองชั้น เรียงสลับ ยาว 9-17 ซม. ใบย่อยจำนวนมาก รูปขอบขนาน ขนาดเล็ก ดอกช่อ ออกที่ซอกใบ รูปทรงกระบอกตรง กลีบดอกสีนวล ผลเป็นฝัก แบนยาว สีน้ำตาล

สรรพคุณของ สีเสียดเหนือ : แก่น มีฤทธิ์ฝาดสมาน เนื่องจากมีสารแทนนิน ใช้กินแก้ท้องร่วง ใช้ภายนอกรักษาบาดแผล และโรคผิวหนัง ถ้าสับแก่นให้เป็นชิ้นเล็ก ต้มเคี่ยวไฟอ่อนๆ กับน้ำ กรอง เคี่ยวต่อ จะได้ยางสีน้ำตาลดำ มีลักษณะเหนียวปั้นเป็นก้อน ทิ้งไว้จนแห้งแข็ง เรียกกันว่าสีเสียดลาว มีรสฝาดมาก ใช้ปรุงยา หรือใช้ย้อมผ้า และฟอกหนังสัตว์

หูกวาง

หูกวาง

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Indian Almond, Terminalia catappa Linn.
ชื่อวงศ์ : COMBRETAEAE

รูปลักษณะ : หูกวาง เป็นไม้ต้นผลัดใบขนาดใหญ่ สูง 10-35 เมตร เปลือกเรียบ เรือนยอดแผ่กว้าง ในแนวราบ ใบเดี่ยว รูปไข่กลับ และออกแน่นที่ปลายกิ่ง เนื้อใบหนา ดอกช่อออกตามง่ามใบ ดอกเล็ก สีขาว ผลสีแดงเหลือง หรือเขียว รูปรีค่อนข้างแบน ทางด้านข้างยาว 3-7 ซม. มักขึ้นตามชายฝั่งทะเล

สรรพคุณของ หูกวาง : เปลือก ใช้เปลือกต้น ซึ่งมีรสฝาด เป็นยาฝาดสมาน แก้ท้องเสีย บิด ผลเป็นยาถ่าย ใบขับเหงื่อ น้ำมันที่บีบได้จากเมล็ดใช้รักษา โรคเรื้อน

เข็มแดง

เข็มแดง

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Ixora macrothyrsa Teijsm. et Binn.
ชื่อวงศ์ : RUBIACEAE
ชื่ออื่น : เข็มเศรษฐี

รูปลักษณะ : เข็มแดง เป็นไม้พุ่ม สูง 2-4 เมตร ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปขอบขนาน หรือรูปวงรีแกมขอบขนาน กว้าง 6- 9 ซม. ยาว 15-20 ซม. หูใบอยู่ระหว่างก้านใบ ดอกช่อ ออกที่ปลายกิ่ง กลีบดอกสีแดงเข้ม เชื่อมติดกันเป็นหลอดยาว ผลสด เมื่อสุกสีม่วงแดง

สรรพคุณของ เข็มแดง : ราก, ดอก แก้บิด

เปล้าน้อย

เปล้าน้อย

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Croton sublyratus Kurz
ชื่อวงศ์ : EUPHORBIACEAE

รูปลักษณะ : เปล้าน้อย เป็นไม้พุ่ม หรือไม้ยืนต้น สูง 1-4 เมตร ผลัดใบ ใบเดี่ยว เรียงสลับรูปใบหอกกลับ กว้าง 4-6 ซม. ยาว 10-15 ซม. ดอกช่อ ออกที่ซอกใบบริเวณปลายกิ่ง และที่ปลายกิ่ง ดอกช่อย่อยขนาดเล็ก แยกเพศ อยู่ในช่อเดียวกัน กลีบดอกสีนวล ผลแห้ง แตกได้ มี 3 พู

สรรพคุณของ เปล้าน้อย : เปลือก, ใบ รักษาโรคท้องเสีย บำรุงโลหิตประจำเดือน ใบเปล้าน้อยที่ปลูกในประเทศไทย มีสาร Plaunotol ซึ่งมีฤทธิ์ สมานแผลในกระเพาะอาหารดีมาก แต่ต้องสกัด และทำเป็นยาเม็ด ปัจจุบัน บริษัทยาจากประเทศญี่ปุ่นจดสิทธิบัตร การผลิตจำหน่ายทั่วโลก นับมูลค่าหลายพันล้านบาทต่อปี นับเป็นกรณีตัวอย่าง การสูญเสียอันยิ่งใหญ่ของคนไทย

โกฏจุฬาลำพา

โกฏจุฬาลำพา

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Artemisia vulgaris Linn.
ชื่อวงศ์ : ASTERACEAE

รูปลักษณะ : โกฏจุฬาลำพา เป็นไม้ล้มลุก สูงได้ถึง 1.5 เมตร รากมีกลิ่นหอม ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปไข่หรือรูปใบหอก ขอบหยักเว้า ลึกเป็นพู ดอกช่อ แยกแขนง ประกอบด้วยช่อย่อยเป็นกระจุกกลม ขนาดเล็กออกที่ซอกใบหรือปลายกิ่ง มีชั้นใบประดับ กลีบดอกสีเหลืองอ่อน ผลแห้ง ไม่แตกเมล็ด รูปขอบขนานหรือรูปไข่ ผิวเกลี้ยง

สรรพคุณของ โกฏจุฬาลำพา : ใบและช่อดอกแห้ง ใช้แก้ไข้ที่มีผื่น เช่น หัด สุกใส แก้ไอ

โมกหลวง

โมกหลวง

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Kurchi, Holarrhena pubescens (Buch.-Ham.) Wall, ex G. Don (H. antidysenterica Wall.)
ชื่อวงศ์ : APOCYNACEAE
ชื่ออื่น : พุด, พุทธรักษา, มูกมันน้อย, มูกมันหลวง, มูกหลวง, โมกเขา, โมกทุ่ง, โมกใหญ่, ยางพุด

รูปลักษณะ : โมกหลวง เป็นไม้ยืนต้น สูง 8-15 เมตร ทุกส่วนมียางขาว ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปไข่หรือรูปวงรี กว้าง 5-12 ซม. ยาว 10-12 ซม. ผิวใบสีเขียวแกมเหลือง ท้องใบมีขนนุ่ม ดอกช่อ ออกที่ซอกใบใกล้ปลายกิ่ง กลีบดอกสีขาว บริเวณกลางดอกสีเหลือง ผลเป็นฝักคู่

สรรพคุณของ โมกหลวง : เปลือก ใช้แก้บิด เจริญอาหาร พบว่ามีแอลคาลอยด์ Conessine ซึ่งมีฤทธิ์ฆ่าเชื้อบิด และเคยใช้เป็นยารักษาโรคบิดอยู่ระยะหนึ่ง ปัจจุบันมีการใช้น้อย เนื่องจากพบฤทธิ์ข้างเคียงต่อระบบประสาท

ไข่เน่า

ไข่เน่า

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Vitex glabrata R. Br.
ชื่อวงศ์ : VERBENACEAE
ชื่ออื่น : ขี้เห็น, คมขวาน, ฝรั่ง

รูปลักษณะ : ไข่เน่า เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง สูง 10-25 เมตร ใบประกอบแบบนิ้วมือ เรียงตรงข้าม ใบย่อย 3-5 ใบ รูปไข่กลับแกมวงรี หรือรูปใบหอกกลับ กว้าง 4-6 ซม. ยาว 10-13 ซม. ดอกช่อ ออกที่ซอกใบ กลีบดอกสีม่วงอ่อน เชื่อมติดกันเป็นหลอดกว้าง มีขนละเอียด ผลเป็นผลสด รูปไข่หรือรูปไข่กลับ เมื่อสุกสีม่วงดำ

สรรพคุณของ ไข่เน่า : เปลือกต้น, ราก เป็นยาเจริญอาหาร แก้เด็กถ่ายเป็นฟอง แก้บิด แก้ไข้ แก้ตานขโมย แก้ท้องเสีย

ไพล

ไพล

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Zingiber purpureum Rosc.
ชื่อวงศ์ : ZINGIBERACEAE
ชื่ออื่น : ปูลอย, ปูเลย, ว่านไฟ

รูปลักษณะ : ไพล เป็นไม้ล้มลุก สูง 0.7-1.5 เมตร มีเหง้าใต้ดิน เปลือกนอกสีน้ำตาลแกมเหลือง เนื้อในสีเหลืองแกมเขียว มีกลิ่นเฉพาะ แทงหน่อ หรือลำต้นเทียมขึ้นเป็นกอ ประกอบด้วยกาบ หรือโคนใบหุ้มซ้อนกัน ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปขอบขนานแกมใบหอก กว้าง 3.5-5.5 ซม. ยาว 18 -35 ซม. ดอกช่อ แทงจากเหง้าใต้ดิน กลีบดอกสีนวล ใบประดับสีม่วง ผลแห้ง รูปกลม

สรรพคุณของ ไพล : เหง้า ใช้เหง้าสดเป็นยาภายนอก โดยฝนทาแก้เคล็ดยอก ฟกบวม เส้นตึง เมื่อยขบ เหน็บชา สมานแผล จากการวิจัยพบว่า ในเหง้ามีน้ำมันหอมระเหย ซึ่งมีคุณสมบัติลดอาการอักเสบ และบวม จึงมีการผลิตยาขึ้ผึ้งผสมน้ำมันไพล เพื่อใช้เป็นยาทาแก้อาการเคล็ดขัดยอก น้ำมันไพลผสมแอลกอฮอล์ สามารถทากันยุงได้ ใช้เหง้ากินเป็นยาขับลม ขับประจำเดือน มีฤทธิ์ระบายอ่อนๆ แก้บิด สมานลำไส้ นอกจากนี้พบว่าในเหง้ามีสาร 4-(4-Hydroxy-1-Butenyl)Veratrole ซึ่งมีฤทธิ์ขยายหลอดลม ได้ทดลองใข้ผงไพลกับผู้ป่วยเด็กที่เป็นหิด สรุปว่าให้ผลดี ทั้งในรายที่มีอาการหอบหืดแบบเฉียบพลัน และเรื้อรัง



พืชสมุนไพร ประเภท ยาแก้ริดสีดวงทวาร

กันเกรา

กันเกรา

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Tembusu, Fagraea fragrans Roxb.
ชื่อวงศ์ : POTALIACEAE
ชื่ออื่น : ตำเสา, ทำเสา, มันปลา

รูปลักษณะ : กันเกรา เป็นไม้ยืนต้น สูง 10-15 เมตร ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปวงรี กว้าง 4-6 ซม. ยาว 8-12 ซม. แผ่นใบบางแต่เหนียว ดอกช่อ ออกที่ปลายกิ่งและซอกใบตอนปลายกิ่ง เมื่อเริ่มบาน กลีบดอกสีขาว ต่อมาเปลี่ยนเป็นสีเหลือง กลิ่นหอม ผล เป็นผลสด รูปทรงกลม สีแดง

สรรพคุณของ กันเกรา : ใบ ใช้บำรุงธาตุ แก้ไข้จับสั่น แก้หืดและรักษาโรคผิวหนังพุพอง

ข่อย

ข่อย

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Siamese Rough Bush, Tooth Brush Tree, Streblus aspera Lour.
ชื่อวงศ์ : MORACEAE
ชื่ออื่น : กักไม้ฝอย, ส้มพอ

รูปลักษณะ : ข่อย เป็นไม้ยืนต้น มีน้ำยางขาว สูง 5-15 เมตร ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปไข่แกมขอบขนาน รูปวงรี หรือรูปไข่กลับ กว้าง 2-4 ซม. ยาว 4-8 ซม. ผิวใบสากคาย ดอกช่อ ออกที่ซอกใบ แยกเพศอยู่คนละต้น ช่อดอกตัวผู้เป็นช่อกลม ช่อดอกตัวเมียออกเป็นกระจุกมี 2-4 ดอกย่อย กลีบดอกสีเหลือง ผลสด รูปไข่ เมื่อสุกสีเหลือง

สรรพคุณของ ข่อย : เปลือกต้น แก้โรคผิวหนัง รักษาแผล หุงเป็นน้ำมันทารักษาริดสีดวงทวาร รักษารำมะนาด แก้ท้องร่วง เมล็ด ผสมกับหัวแห้วหมู เปลือกทิ้งถ่อน เปลือกตะโกนา ผลพริกไทยแห้งและเถาบอระเพ็ด ดองเหล้าหรือต้มน้ำดื่ม เป็นยาอายุวัฒนะ

พญาไร้ใบ

พญาไร้ใบ

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Milk Bush, Euphorbia tirucalli Linn.
ชื่อวงศ์ : EUPHORBIACEAE
ชื่ออื่น : เคียะจีน, พญาร้อยใบ, เคียะเทียน

รูปลักษณะ : พญาไร้ใบ เป็นไม้ยืนต้น ขนาดเล็กสูง 4-7 เมตร ไม่มีหนาม มีน้ำยางสีขาวมาก อวบน้ำ แตกกิ่งก้านสาขามากกิ่ง รูปทรงกระบอก สีเขียว เกลี้ยง ใบเดี่ยว ออกเฉพาะที่ข้อส่วนปลายยอด ลดรูปเป็นแผ่นขนาดเล็ก ร่วงง่าย ดอกช่อ ออกเป็นกระจุกที่ปลายกิ่ง ใบประดับสีเหลืองอ่อน ดอกตัวผู้และตัวเมีย ไม่มีกลีบดอก อยู่ในช่อเดียวกัน ผล แห้ง แตกได้

สรรพคุณของ พญาไร้ใบ : ยาง พญาไร้ใบจัดเป็นพืชมีพิษ เมื่อสัมผัสกับน้ำยางขาวจากต้นจะทำให้ผิวหนังอักเสบ บวมเป็นผื่นแดง หากเข้าตาอาจทำให้ตาบอด ใช้ยางขาวแต้มกัดหูด หัวริดสีดวงทวาร ในยางขาวมีสาร 4 deoxyphorbol และอนุพันธ์ ซึ่งมีฤทธิ์ระคายเคืองอย่างแรง และเป็นสารร่วมก่อมะเร็ง จึงควรระวังในการใช้

ลั่นทมขาว

ลั่นทมขาว

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Evergreen Frangipani, Graveyard Flower, Plumeria obtusa Linn.
ชื่อวงศ์ : APOCYNACEAE

รูปลักษณะ : ลั่นทมขาว เป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก สูง 3-6 เมตร ทุกส่วนมีน้ำยางขาว ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปใบหอกกลับ กว้าง 5-8 ซม. ยาว 20-32 ซม. ดอกช่อ กระจุกแยกแขนง ออกที่ปลายกิ่ง ดอกย่อยหลายดอก กลีบดอกสีขาว เชื่อมติดกันเป็นหลอดรูปกรวย มีกลิ่นหอม ผลแห้งเป็นฝักคู่สีม่วงแกมน้ำตาล เมล็ดมีขนสีขาว

สรรพคุณของ ลั่นทมขาว : ฝัก ใช้ฝนทาแก้ริดสีดวงทวาร

ลั่นทมแดง

ลั่นทมแดง

ชื่อวิทยาศาสตร์ : West Indian Red Jasmine, Plumeria rubar Linn.
ชื่อวงศ์ : APOCYNACEAE

รูปลักษณะ : ลั่นทมแดง เป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก สูง 3-6 เมตร ทุกส่วนมีน้ำยางขาว ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปใบหอกกลับ กว้าง 5-10 ซม. ยาว 20-25 ซม. ดอกช่อ กระจุกแยกแขนง ออกที่ปลายกิ่ง ดอกย่อยหลายดอก กลีบดอกสีแดง เชื่อมติดกันเป็นหลอดรูปกรวย มีกลิ่นหอม ผลแห้งเป็นฝักคู่สีม่วงแกมน้ำตาล เมล็ดมีขนสีขาว

สรรพคุณของ ลั่นทมแดง : ฝัก ใช้ฝนทาแก้ริดสีดวงทวาร เช่นเดียวกับฝักลั่นทมขาว

อัคคีทวาร

อัคคีทวาร

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Clerodendrum serratum (Linn.) Moon var.serratum Schau.
ชื่อวงศ์ : VERBENACEAE
ชื่ออื่น : แข้งม้า, แคว้งค่า, ชะรักป่า, หมอกนางต๊ะ, หลัวสามเกียน, ผ้าห้ายห่อคำ, หมักก้านต่อ, หูแวง, ฮังตอ, มักแค้งข่า

รูปลักษณะ : อัคคีทวาร เป็นไม้พุ่มขนาดเล็ก สูง 1-4 เมตร ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปขอบขนาน รูปขอบขนานแกมใบหอก หรือรูปใบหอกแกมรูปไข่กลับ กว้าง 4-6 ซม. ยาว 15-20 ซม. ขอบใบหยักฟันเลื่อย ดอกช่อ ออกที่ปลายกิ่ง กลีบดอก 5 กลีบ กลีบกลางสีม่วงเข้ม กลีบข้างสี่กลีบสีฟ้าสด รูปค่อนข้างกลม หรือรูปไข่กลับกว้าง เมื่อสุกสีม่วงเข้มหรือดำ

สรรพคุณของ อัคคีทวาร : ใบ ใช้ใบแห้งบดเป็นผง กินแก้ริดสีดวงทวาร ยาพื้นบ้านใช้ใบแห้ง ป่นเป็นผงโรยในถ่านไฟ เอาควันเผารมหัวริดสีดวงทวารให้ยุบ รากและต้น ฝนกับน้ำปูนใสให้ข้น เกลื่อนหัวริดสีดวงทวาร

เพชรสังฆาต

เพชรสังฆาต

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Cissus quadrangularis Linn.
ชื่อวงศ์ : VITACEAE
ชื่ออื่น : ขั่นข้อ, สันชะควด, สามร้อยต่อ

รูปลักษณะ : เพชรสังฆาต เป็นไม้เลื้อย ลำต้นรูปสี่เหลี่ยมเป็นครีบ ผิวเรียบ มีรอยคอดบริเวณข้อ ใบเดี่ยว ออกข้อละ 1 ใบ บริเวณปลายเถาตรงข้ามใบมีมือเกาะ รูปสามเหลี่ยมหรือรูปไข่ กว้าง 3-8 ซม. ยาว 4-10 ซม. ขอบใบหยักมน เนื้อใบค่อนข้างหนา ดอกช่อ ออกตรงข้ามใบ ดอกย่อยขนาดเล็ก กลีบดอกด้านนอกสีเขียวแกมเหลือง โคนกลีบมีแถบสีแดง กลีบด้านในสีขาวแกมเขียว ผล เป็นผลสด รูปกลม

สรรพคุณของ เพชรสังฆาต : เถา ใช้เถาสดกินแก้ริดสีดวงทวาร วันละ 1 ปล้องจนครบ 3 วัน โดยหั่นบางๆ ใช้เนื้อมะขามเปียก หรือเนื้อกล้วยสุกหุ้มกลืนทั้งหมด เพราะในเถาสดมีผลึกแคลเซียมออกซาเลตมาก อาจทำให้คันคอ



พืชสมุนไพร ประเภท ยาแก้อักเสบ ปวดบวม

ชองระอา

ชองระอา

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Barleriaiupulina Lindl.
ชื่อวงศ์ : ACANTHACEAE
ชื่ออื่น : เสลดพังพอน, เสลดพังพอนตัวผู้

รูปลักษณะ : ชองระอา เป็นไม้พุ่ม สูงประมาณ 1 เมตร มีหนามแหลมยาวข้อละ 2 คู่ กิ่งก้านสีน้ำตาลแดง ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปใบหอกยาวหรือ รูปขอบขนาน กว้าง 1.8-2.5 ซม. ยาว 6-12 ซม. ผิวใบเรียบมัน สีเขียวเข้ม เส้นกลางใบสีแดง ดอกช่อ ออกที่ปลายกิ่ง ยาวประมาณ 8 ซม. ใบประดับค่อนข้างกลม สีน้ำตาลแดงขนาดใหญ่ กลีบดอกสีเหลืองส้ม โคนเชื่อมติดเป็นหลอด ปลายแยกเป็น 2 ปาก ปากบนมีกลีบขนาดใหญ่ 4 กลีบ กลีบล่างเล็กกว่า มี 1 กลีบ ผล เป็นฝัก รูปไข่

สรรพคุณของ ชองระอา : ใบใช้ตำละเอียดผสมเหล้า พอกหรือทา ถอนพิษอักเสบจากแมลงสัตว์กัดต่อยและเริม ราก ใช้ฝนกับเหล้าทาถอนพิษตะขาบ

ทองหลาง

ทองหลาง

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Indian Coral Tree, Erythrina variegata Linn.
ชื่อวงศ์ : FABACEAE
ชื่ออื่น : ทองบ้าน

รูปลักษณะ : ทองหลาง เป็นไม้ยืนต้น ผลัดใบ สูง 10-15 เมตร ใบประกอบ มีใบย่อย 3 ใบ เรียงสลับ ใบย่อยรูปไข่ หรือรูปแกมไข่สี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน ดอกช่อ ออกที่ปลายกิ่ง กลีบดอกสีส้มหรือแดง รูปดอกถั่ว ผล เป็นฝักยาวคอดเป็นข้อๆ สีน้ำตาลเข้ม เมล็ดสีแสด

สรรพคุณของ ทองหลาง : ใบ ใช้ใบแก่สดรมควัน ชุบน้ำสุกปิดแผล และเนื้อร้ายที่บวม ดูดหนองให้ไหลออกมา และทำให้แผลยุบ ใบคั่วใช้เป็นยาเย็น ดับพิษ บดทาแก้ข้อบวม

ผักคราดหัวแหวน

ผักคราดหัวแหวน

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Para Cress, Spilanthes acmella Murr.
ชื่อวงศ์ : ASTERACEAE
ชื่ออื่น : ผักคราด, ผักตุ้มหู, ผักเผ็ด

รูปลักษณะ : ผักคราดหัวแหวน เป็นไม้ล้มลุก สูง 30-40 ซม. ลำต้นค่อนข้างกลม อวบน้ำ อาจมีสีม่วงแดง ต้นทอดเลื้อยไปตามพื้นดิน ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปสามเหลี่ยม กว้าง 3-4 ซม. ยาว 3-6 ซม. ขอบใบหยักฟันเลื่อย ดอกช่อ ออกที่ซอกใบ รูปกรวยคว่ำ สีเหลืองอ่อน ผลแห้ง รูปไข่

สรรพคุณของ ผักคราดหัวแหวน : ต้น ใช้ต้นสดตำผสมเหล้า หรือน้ำส้มสายชู อมแก้ฝีในลำคอ หรือต่อมน้ำลายอักเสบ ทำให้ลิ้นชา แก้ไข้ ยาพื้นบ้านใช้อุดแก้ปวดฟัน พบว่าใบ ช่อดอก และก้านช่อดอกมีสาร Spilanthol ซึ่งมีฤทธิ์เป็นยาชาเฉพาะที่ การทดลองฤทธิ์ชาเฉพาะที่ในสัตว์ และคนปกติ โดยใช้สารสกัดทั้งต้นด้วยแอลกอฮอล์เทียบกับยาชา Lidocaine พบว่าได้ผลเร็วกว่า แต่ระยะเวลาการออกฤทธิ์สั้นกว่า อยู่ระหว่างการวิจัย เพื่อใช้เป็นยาชาอุดแก้ปวดฟัน

มะกอก

มะกอก

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Hog Plum, Spondias pinnata (Linn. f.) Kurz
ชื่อวงศ์ : ANACARDIACEAE
ชื่ออื่น : กอกกุก, กูก, กอกเขา

รูปลักษณะ : มะกอก เป็นไม้ยืนต้น สูง 15-25 เมตร กิ่งก้านมีช่องอากาศ กระจัดกระจาย ใบประกอบรูปขนนก เรียงสลับ ใบย่อย 9-13 ใบ รูปวงรีแกมไข่กลับ กว้าง 3-4 ซม. ยาว 7-12 ซม. ใบย่อยบริเวณโคนต้น ฐานใบเบี้ยว ดอกช่อแยกแขนง ออกที่ปลายกิ่ง หรือซอกใบของกิ่งที่ใบร่วง ดอกย่อยจำนวนมาก ขนาดเล็ก สีขาวครีม ผลเป็นผลสด รูปไข่ มีเนื้อฉ่ำน้ำ

สรรพคุณของ มะกอก : ใบ ใช้น้ำคั้นจากใบหยอดแก้ปวดหู ผล เปลือก ใบ กินเป็นยาบำรุงธาติ ช่วยให้ชุ่มคอ แก้กระหายน้ำ เลือดออกตามไรฟัน เนื้อ เนื้อในผลแก้ธาติพิการ เพราะน้ำดีไม่ปกติ และกระเพาะอาหารพิการ แก้บิด ใบ แก้ปวดท้อง

มะขวิด

มะขวิด

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Elephant's Apple, Wood Apple, Kavath, Gelingga, Feronia limonia Swing.
ชื่อวงศ์ : RUTACEAE
ชื่ออื่น : มะฟิด

รูปลักษณะ : มะขวิด เป็นไม้ยืนต้น สูง 6-10 เมตร ใบประกอบแบบขนนก เรียงสลับ ใบย่อย 5 หรือ 7 ใบ บางครั้งมี 3, 6 หรือ 9 ใบ รูปขอบขนานแกมไข่กลับ กว้าง 0.5-1 ซม. ยาว 1.5-4.5 ซม. เนื้อใบมีต่อมน้ำมันกระจายอยู่ที่บริเวณขอบใบ ดอกช่อ ออกที่ปลายกิ่ง หรือซอกใบ ประกอบด้วยดอกตัวผู้ และดอกสมบูรณืเพศอยู่ในต้นเดียวกัน กลีบดอกสีเหลืองแกมเขียวเจือด้วยสีแดง ผลสด รูปทรงกลม เมื่อสุกสีเทาแกมน้ำตาล

สรรพคุณของ มะขวิด : ใบ ตำพอกหรือทาแก้ปวดบวม รักษาผี และโรคผิวหนังบางชนิด แก้ท้องเสีย แก้ตกเลือด และห้ามระดู พบว่าสารสกัดใบยับยั้ง การเจริญเติบโตของเชื้ออหิวาตกโรค ในหลอดทดลอง

รางจืด

รางจืด

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Thunbergia laurifolia Linn.
ชื่อวงศ์ : THUNBERGIACEAE
ชื่ออื่น : กำลังช้างเผือก, ขอบชะนาง, เครือเขาเขียว, ยาเขียว, คาย, รางเย็น, ดุเหว่า, ทิดพุด, น้ำนอง, ย่ำแย้, แอดแอ

รูปลักษณะ : รางจืด เป็นไม้เถาเนื้อแข็ง ใบเดี่ยว รูปขอบขนานหรือรูปไข่ กว้าง 4-7 ซม. ยาว 8-14 ซม. ขอบใบเว้าเล็กน้อย ดอกช่อ ออกที่ปลายกิ่ง กลีบดอกสีม่วงแกมน้ำเงิน ใบประดับสีเขียวประสีน้ำตาลแดง ผลแห้ง แตกได้

สรรพคุณของ รางจืด : ใบสด ใช้คั้นน้ำ แก้ไข้ ถอนพิษต่างๆ ในร่างกาย เช่น อาการแพ้อาหาร เป็นต้น การทดลองเพื่อใช้แก้พิษที่เกิดจากยาฆ่าแมลงโพลิดอลในสัตว์ ได้ผลดีพอควร สรุปได้ว่าอาจใช้น้ำคั้นใบสดให้ผู้ป่วยที่กินยาฆ่าแมลง ดื่มเป็นการปฐมพยาบาล ก่อนนำผู้ป่วยส่งโรงพยาบาลได้ แต่จะไม่ให้ผลในการกินเพื่อป้องกัน ก่อนสัมผัสยาฆ่าแมลง

ว่านหางช้าง

ว่านหางช้าง

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Black Berry Lily, Leopard Flower, Belamcanda chinensis (Linn.) DC.
ชื่อวงศ์ : IRIDACEAE
ชื่ออื่น : ว่านมีดยับ

รูปลักษณะ : ว่านหางช้าง เป็นไม้ล้มลุก สูง 0.6-1.2 เมตร มีเหง้าเลื้อยตามแนวขนานกับพื้นดิน ใบเดี่ยว แทงออกจากเหง้า เรียงซ้อนสลับ กว้าง 2-3 ซม. ยาว 30-45 ซม. เนื้อใบค่อนข้างหนา ดอกช่อ ออกที่ปลายยอด กลีบดอกสีส้มมีจุดประสีแดงกระจาย ผลแห้ง เมื่อแก่จะแตกอ้า และกระดกกลับไปด้านหลัง

สรรพคุณของ ว่านหางช้าง : ใช้เป็นยาระบาย แก้ระดูพิการ เหง้า ตำราจีนใช้เหง้าเป็นยาแก้ไอ ขัเสมหะ ยาถ่าย แก้ไข้ บำรุงธาติ พบว่ามีสารบางชนิดที่เป็นพิษ จึงควรระวังในการใช้กิน การทดลองกับผู้ป่วย พบว่าน้ำต้มเหง้า ใช้ชะล้างแก้อาการผื่นคันได้ผลดี

เทียนบ้าน

เทียนบ้าน

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Garden Balsam, Impatiens balsamina Linn.
ชื่อวงศ์ : BALSAMINACEAE
ชื่ออื่น : เทียนดอก, เทียนสวน

รูปลักษณะ : เทียนบ้าน เป็นไม้ล้มลุก สูง 20-70 เมตร ลำต้นอวบน้ำ และค่อนข้างโปร่งแสง ใบเดี่ยว เรียงสลับเวียนรอบต้นรูปวงรี กว้าง 2-4 ซม. ยาว 6-10 ซม. ขอบใบหยักฟันเลื่อย ดอกเดี่ยว หรือช่อ 2-3 ดอก ออกที่ซอกใบ มีสีต่างๆ เช่น ขาว ชมพู แดง ม่วง ผลแห้ง รูปรี เมื่อแก่จัดจะแตกเป็นริ้วตามยาว ม้วนขมวด ดีดเมล็ดกลมสีน้ำตาลออกมา

สรรพคุณของ เทียนบ้าน : ใบ ใช้ใบสดตำละเอียดพอกแก้เล็บขบ รักษาฝีหรือแผลพุพอง น้ำคั้นใบสด ใช้ย้อมผมแทนใบเทียนกิ่ง แต่เวลาใช้ต้องระวัง เพราะสีจะติดเสื้อผ้า และร่างกาย มีรายงานว่าสารสกัดแอลกอฮอล์ของใบมีสาร Lowsone ซึ่งสามารถฆ่าเชื้อราที่ทำให้เป็นโรคกลาก และฮ่องกงฟุตได้

เสม็ด

เสม็ด

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Cajuput Tree, Paper Bark Tree, Swamp Tea, Milk Wood, Melaleuca cajuputi Powell (M. leucadendra Linn. var.minor Duthie)
ชื่อวงศ์ : MYRTACEAE
ชื่ออื่น : เม็ด, เหม็ด, เสม็ดขาว

รูปลักษณะ : เสม็ด เป็นไม้ยืนต้น เปลือกต้นมักล่อนเป็นแผ่นคล้ายเยื่อกระดาษ สูงได้ถึง 15 เมตร กิ่งก้านห้อยลง ใบเดียว เรียงสลับ รูปวงรี แกมขอบขนาน หรือรูปใบหอก กว้าง 0.5-1 ซม. ยาว 4-8 ซม. ดอกช่อ ออกที่ปลายกิ่ง ห้อยหัวลง ดอกย่อยเรียงเป็นวง กลีบดอกสีขาว เกสรตัวผู้มีจำนวนมาก ผลแห้ง แตกได้ มี 3 พู

สรรพคุณของ เสม็ด : ใบ ใช้น้ำมันที่กลั่นได้จากใบสดทาแก้เคล็ด เมื่อย ปวด บวม

ไพล

ไพล

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Zingiber purpureum Rosc.
ชื่อวงศ์ : ZINGIBERACEAE
ชื่ออื่น : ปูลอย, ปูเลย, ว่านไฟ

รูปลักษณะ : ไพล เป็นไม้ล้มลุก สูง 0.7-1.5 เมตร มีเหง้าใต้ดิน เปลือกนอกสีน้ำตาลแกมเหลือง เนื้อในสีเหลืองแกมเขียว มีกลิ่นเฉพาะ แทงหน่อ หรือลำต้นเทียมขึ้นเป็นกอ ประกอบด้วยกาบ หรือโคนใบหุ้มซ้อนกัน ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปขอบขนานแกมใบหอก กว้าง 3.5-5.5 ซม. ยาว 18 -35 ซม. ดอกช่อ แทงจากเหง้าใต้ดิน กลีบดอกสีนวล ใบประดับสีม่วง ผลแห้ง รูปกลม

สรรพคุณของ ไพล : เหง้า ใช้เหง้าสดเป็นยาภายนอก โดยฝนทาแก้เคล็ดยอก ฟกบวม เส้นตึง เมื่อยขบ เหน็บชา สมานแผล จากการวิจัยพบว่า ในเหง้ามีน้ำมันหอมระเหย ซึ่งมีคุณสมบัติลดอาการอักเสบ และบวม จึงมีการผลิตยาขึ้ผึ้งผสมน้ำมันไพล เพื่อใช้เป็นยาทาแก้อาการเคล็ดขัดยอก น้ำมันไพลผสมแอลกอฮอล์ สามารถทากันยุงได้ ใช้เหง้ากินเป็นยาขับลม ขับประจำเดือน มีฤทธิ์ระบายอ่อนๆ แก้บิด สมานลำไส้ นอกจากนี้พบว่าในเหง้ามีสาร 4-(4-Hydroxy-1-Butenyl)Veratrole ซึ่งมีฤทธิ์ขยายหลอดลม ได้ทดลองใข้ผงไพลกับผู้ป่วยเด็กที่เป็นหิด สรุปว่าให้ผลดี ทั้งในรายที่มีอาการหอบหืดแบบเฉียบพลัน และเรื้อรัง



พืชสมุนไพร ประเภท ยาแก้โรคผิวหนัง

ขมิ้นชัน

ขมิ้นชัน

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Turmeric, Curcuma longa (Linn.)
ชื่อวงศ์ : ZINGIBERACEAE
ชื่ออื่น : ขมิ้น, ขมิ้นแกง, ขมิ้นหยอก, ขมิ้นหัว, ขี้มิ้น, หมิ้น

รูปลักษณะ : ขมิ้นชัน เป็นไม้ล้มลุก อายุหลายปี สูง 30-90 ซม. เหง้าใต้ดินรูปไข่ มีแขนงรูปทรงกระบอก แตกออกด้านข้าง 2 ด้านตรงข้ามกัน เนื้อในเหง้าสีเหลืองส้ม มีกลิ่นเฉพาะ ใบเดี่ยว แทงออกจากเหง้า เรียงเป็นวงซ้อนทับกัน รูปใบหอก กว้าง 12-15 ซม. ยาว 30-40 ซม. ดอกช่อ แทงออกจากเหง้า แทรกขึ้นมาระหว่างก้านใบ รูปทรงกระบอก กลีบดอกสีเหลืองอ่อน ใบประดับสีเขียวอ่อนหรือสีนวล บานครั้งละ 3-4 ดอก ผลรูปกลม มี 3 พู

สรรพคุณของ ขมิ้นชัน : เหง้า ใช้รักษาโรคผิวหนังผื่นคัน โดยทำเป็นผงผสมน้ำ หรือเหง้าสด ฝนน้ำทา มีรายงานว่าพบน้ำมันหอมระเหยและสาร Curcumin ซึ่งมีฤทธิ์ยับยั้งการเจริญของเชื้อหนองได้ดี นอกจากนี้ ยังใช้เหง้ารักษาโรคท้องอืด ท้องเฟ้อ และแผลในกระเพาะอาหาร โดยใช้ผงขมิ้นชัน ขนาด 250 มิลลิกรัม กินครั้งละ 2 เม็ด วันละ 4 ครั้ง หลังอาหารและก่อนนอน

ขันทองพยาบาท

ขันทองพยาบาท

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Suregada multiflorum Baill.
ชื่อวงศ์ : EUPHORBIACEAE
ชื่ออื่น : กระดูก, ยายปลูก, ขนุนดง, ขอบนางนั่ง, ขัณฑสกร, ช้องรำพัน, สลอด, น้ำขันทอง, มะดูก, หมายดูก, ข้าวตาก, ขุนทอง, คุณทอง, ดูกไทร, ดูกไม

รูปลักษณะ : ขันทองพยาบาท เป็นไม้ยืนต้น สูง 4-15 เมตร ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปขอบขนาน กว้าง 3-6 ซม. ยาว 9-14 ซม. ดอกช่อ ออกที่ซอกใบ แยกเพศอยู่คนละต้น กลีบดอกสีนวล ผลแห้ง แตกได้ รูปกลม

สรรพคุณของ ขันทองพยาบาท : เนื้อไม้ ใช้แก้ลมพิษ แก้กามโรค เปลือกต้น เป็นยาแก้โรคผิวหนังกลากเกลื้อน นอกจากนี้ ยังใช้เป็นยาบำรุงเหงือก ทำให้ฟันทน ยาถ่ายและฆ่าพยาธิ

ข่อย

ข่อย

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Siamese Rough Bush, Tooth Brush Tree, Streblus aspera Lour.
ชื่อวงศ์ : MORACEAE
ชื่ออื่น : กักไม้ฝอย, ส้มพอ

รูปลักษณะ : ข่อย เป็นไม้ยืนต้น มีน้ำยางขาว สูง 5-15 เมตร ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปไข่แกมขอบขนาน รูปวงรี หรือรูปไข่กลับ กว้าง 2-4 ซม. ยาว 4-8 ซม. ผิวใบสากคาย ดอกช่อ ออกที่ซอกใบ แยกเพศอยู่คนละต้น ช่อดอกตัวผู้เป็นช่อกลม ช่อดอกตัวเมียออกเป็นกระจุกมี 2-4 ดอกย่อย กลีบดอกสีเหลือง ผลสด รูปไข่ เมื่อสุกสีเหลือง

สรรพคุณของ ข่อย : เปลือกต้น แก้โรคผิวหนัง รักษาแผล หุงเป็นน้ำมันทารักษาริดสีดวงทวาร รักษารำมะนาด แก้ท้องร่วง เมล็ด ผสมกับหัวแห้วหมู เปลือกทิ้งถ่อน เปลือกตะโกนา ผลพริกไทยแห้งและเถาบอระเพ็ด ดองเหล้าหรือต้มน้ำดื่ม เป็นยาอายุวัฒนะ

ข่า

ข่า

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Alpinia nigra (Gaertn.) B. L. Burtt
ชื่อวงศ์ : ZINGIBERACEAE
ชื่ออื่น : ข่าหยวก, ข่าหลวง

รูปลักษณะ : ข่า เป็นไม้ล้มลุก สูง 1.5-2 เมตร เหง้ามีข้อและปล้องชัดเจน ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปใบหอก รูปวงรีหรือเกือบขอบขนาน กว้าง 7-9 ซม. ยาว 20-40 ซม. ดอกช่อ ออกที่ยอด ดอกย่อยขนาดเล็ก กลีบดอกสีขาว โคนติดกันเป็นหลอดสั้นๆ ปลายแยกเป็น 3 กลีบ กลีบใหญ่ที่สุดมีริ้วสีแดง ใบประดับรูปไข่ ผลแห้ง แตกได้ รูปกลม

สรรพคุณของ ข่า : เหง้าสด ตำผสมกับเหล้าโรง ใช้ทารักษาโรคผิวหนังที่เกิดจากเชื้อรา เช่น กลาก เกลื้อน สารที่ออกฤทธิ์คือน้ำมันหอมระเหย และ 1'-Acetoxychavicol acetate เหง้าอ่อน ต้มเอาน้ำดื่ม บรรเทาอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ และขับลม ข่าไม่มีฤทธิ์ก่อกลายพันธุ์และไม่เป็นพิษ

ตะเคียนทอง

ตะเคียนทอง

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Hopea odorata Roxb.
ชื่อวงศ์ : DIPTEROCARPACEAE
ชื่ออื่น : แคน, จะเคียน, ตะเคียน, ตะเคียนใหญ่

รูปลักษณะ : ตะเคียนทอง เป็นไม้ยืนต้น สูง 20-40 เมตร ส่วนที่ยังอ่อนอยู่มีขน ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปไข่แกมใบหอก กว้าง 3-6 ซม. ยาว 8-15 ซม. ดอกช่อ ออกที่ปลายกิ่ง กลีบดอกสีเหลืองแกมน้ำตาล ผลแห้ง ไม่แตก รูปทรงกลมหรือรูปไข่ มีปีกยาว 2 ปีก และปีกสั้น 3 ปีก

สรรพคุณของ ตะเคียนทอง : แก่น ใช้แก่นซึ่งมีรสขมหวาน รักษาคุดทะราด ขับเสมหะ แก้โลหิตและกำเดา แก้ไข้ที่มีอาการแสดงที่ตา เช่น แดง เหลือง หรือขุ่นคล้ำ เป็นต้น ยางแห้ง บดเป็นผง รักษาบาดแผล

ทองพันชั่ง

ทองพันชั่ง

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Rhinacanthus nasutus (Linn.) Kurz.
ชื่อวงศ์ : ACANTHACEAE
ชื่ออื่น : ทองคันชั่ง, หญ้ามันไก่

รูปลักษณะ : ทองพันชั่ง เป็นไม้พุ่ม สูง 1-2 เมตร กิ่งอ่อนมักเป็นสันสี่เหลี่ยม ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปไข่หรือรูปวงรี กว้าง 2-4 ซม. ยาว 4-8 ซม. ดอกช่อ ออกที่ซอกใบ กลีบดอกสีขาว โคนกลีบติดกันเป็นหลอด ปลายแยกเป็น 2 ปาก ปากล่างมีจุดสีม่วงแดง ผลแห้ง แตกได้

สรรพคุณของ ทองพันชั่ง : ใบสด, ราก ใช้ใบสดและรากโขลกละเอียด แช่เหล้าโรง 1 สัปดาห์ เอาน้ำเหล้าทาแก้กลากเกลื้อน สารสำคัญ คือ Rhinacanthin และ Oxymethylanthraquinone

น้อยหน่า

น้อยหน่า

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Sugar Apple, Annona squamosa Linn.
ชื่อวงศ์ : ANNONACEAE
ชื่ออื่น : น้อยแน่, มะนอแน่, หมักเขียบ

รูปลักษณะ : น้อยหน่า เป็นไม้ยืนต้น สูง 3-5 เมตร ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปใบหอกแกมขอบขนาน กว้าง 3-6 ซม. ยาว 7-13 ซม. ดอกเดี่ยว ออกที่ซอกใบ ห้อยลง กลีบดอกสีเหลืองแกมเขียว 6 กลีบ เรียง 2 ชั้นๆ ละ 3 กลีบ หนาอวบน้ำ มีเกสรตัวผู้และรังไข่ จำนวนมาก ผลเป็นผลกลุ่ม ค่อนข้างกลม

สรรพคุณของ น้อยหน่า : ใบสดและเมล็ด ใช้รักษาหิด กลากและเกลื้อน ฆ่าเหา โดยใช้เมล็ดประมาณ 10 เมล็ด หรือใบสดประมาณ 1 กำมือ (15 กรัม) ตำให้ละเอียด ผสมกับน้ำมันมะพร้าวในอัตราส่วน 1:2 ขยี้ให้ทั่วศีรษะ ใช้ผ้าคลุมโพกไว้ประมาณ 2 ชั่วโมง ใช้หวีสางเหาออก สระผมให้สะอาด (ระวัง! อย่าให้เข้าตา เพราะจะทำให้ตาอักเสบได้)

บัวบก

บัวบก

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Asiatic Pennywort, Tiger Herbal, Centella asiatica (Linn.) Urban
ชื่อวงศ์ : APIACEAE
ชื่ออื่น : ผักแว่น, ผักหนอก

รูปลักษณะ : บัวบก เป็นไม้ล้มลุก อายุหลายปี เลื้อยแผ่ไปตามพื้นดิน ชอบที่ชื้นแฉะ แตกรากฝอยตามข้อ ไหลที่แผ่ไปจะงอกใบจากข้อ ชูขึ้น 3-5 ใบ ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปไต เส้นผ่าศูนย์กลาง 2-5 ซม. ขอบใบหยัก ก้านใบยาว ดอกช่อ ออกที่ซอกใบ ขนาดเล็ก 2-3 ดอก กลีบดอกสีม่วง ผลแห้ง แตกได้

สรรพคุณของ บัวบก : ใบสด ใช้เป็นยาภายนอกรักษาแผลเปื่อย แผลไฟไหม้น้ำร้อนลวก โดยใช้ใบสด 1 กำมือ ล้างให้สะอาด ตำละเอียด คั้นเอาน้ำทาบริเวณแผลบ่อยๆ ใช้กากพอกด้วยก็ได้ แผลจะสนิทและเกิดแผลเป็นชนิดนูน (Keloid) น้อยลง สารที่ออกฤทธิ์คือ กรด Madecassic, กรด Asiatic และ Asiaticoside ซึ่งช่วยสมานแผลและเร่งการสร้างเนื้อเยื่อ ระงับการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรีย ที่ทำให้เกิดหนองและลดการอักเสบ มีรายงานการค้นพบฤทธิ์ฆ่าเชื้อรา อันเป็นสาเหตุของโรคกลาก ปัจจุบัน มีการพัฒนายาเตรียมชนิดครีม ให้ทารักษาแผลอักเสบจากการผ่าตัด น้ำต้มใบสดดื่มลดไข้ รักษาโรคปากเปื่อย ปากเหม็น เจ็บคอ ร้อนใน กระหายน้ำ ขับปัสสาวะ แก้ท้องเสีย

ปาล์มน้ำมัน

ปาล์มน้ำมัน

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Oil Palm, African Oil Palm, Elaeis guineensis Jacq.
ชื่อวงศ์ : ARECACEAE
ชื่ออื่น : มะพร้าวลิง, มะพร้าวหัวลิง, หมากมัน

รูปลักษณะ : ปาล์มน้ำมัน เป็นไม้ยืนต้นจำพวกปาล์ม สูง 6-15 เมตร ไม่แตกกิ่งก้าน ใบประกอบแบบขนนก เรียงสลับ ออกเป็นกระจุกที่ปลายยอด ใบย่อยรูปดาบ กว้าง 3.5-5 ซม. ยาว 45-120 ซม. ดอกช่อ เชิงลด แยกเพศอยู่บนต้นเดียวกัน ออกระหว่างก้านใบ มีใบประดับขนาดใหญ่ 2 ใบ กลีบดอกสีขาวนวล ผลสด รูปทรงกลม เมื่อสุกสีส้มแดง

สรรพคุณของ ปาล์มน้ำมัน : เมล็ด ใช้น้ำมันที่บีบจากเมล็ด เป็นน้ำมันปรุงอาหาร และเป็นตัวทำลาย สำหรับตำรับยาทาแก้โรคผิวหนัง

พุดตาน

พุดตาน

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Hibiscus mutabillis (Roxb.) Linn.
ชื่อวงศ์ : MALVACEAE
ชื่ออื่น : ดอกสามสี, สามผิว

รูปลักษณะ : พุดตาน เป็นไม้พุ่ม มีขนทุกส่วนของต้น สูง 2-4 เมตร ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปหัวใจ ขอบใบเว้าเป็นแฉก 3-5 แฉก กว้างและยาวประมาณ 10 ซม. ผิวใบมีขนรูปดาวสีเทา ดอกช่อ ออกที่ซอกใบ กลีบดอกเมื่อแรกบานสีขาว แล้วเปลี่ยนเป็นสีชมพูและแดง ผลแห้ง แตกได้ รูปทรงกลม

สรรพคุณของ พุดตาน : ราก ใช้ต้มน้ำดื่มหรือฝนทา รักษาอาการโรคผิวหนัง มีผื่นคัน เป็นเม็ดขึ้นคล้ายผด คันมาก มักมีไข้ร่วมด้วย แก้ปวดแสบปวดร้อนตามร่างกาย

มะคำดีควาย

มะคำดีควาย

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Soapberry, Sapindus emarginatus Wall.
ชื่อวงศ์ : SAPINDACEAE
ชื่ออื่น : ประคำดีควาย

รูปลักษณะ : มะคำดีควาย เป็นไม้ยืนต้น สูง 10-30 เมตร ใบประกอบแบบขนนก เรียงสลับ ใบย่อยรูปไข่ หรือรูปไข่แกมขอบขนาน กว้าง 5-7 ซม. ยาว 10-14 ซม. ดอกช่อ ออกที่ปลายกิ่ง แยกเพศ อยู่บนต้นเดียวกัน กลีบดอกสีนวล ผลสด รูปกลม

สรรพคุณของ มะคำดีควาย : ผล ใช้ผลทุบให้แตก แช่น้ำล้างหน้า รักษาผิว แก้รังแค แก้ชันนะตุ (โรคผิวหนังพุพองบนศีรษะเด็ก) มีรายงานว่า เนื้อผลมีสารซาโปนิน ที่มีฤทธิ์ยับยั้งการเจริญของเชื้อรา ที่ทำให้เกิดโรคกลากได้ดี

รามใหญ่

รามใหญ่

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Ardisia elliptica Thunb.
ชื่อวงศ์ : MYRSINACEAE

รูปลักษณะ : รามใหญ่ เป็นไม้พุ่ม สูง 1.5-3 เมตร ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปรีหรือรูปรีแกมขอบขนาน กว้าง 3-5 ซม. ยาว 7-15 ซม. ใบหนา ผิวเรียบ ดอกช่อ ออกที่ปลายกิ่ง กลีบดอกสีขาวแกมชมพูจางๆ ผล เป็นผลสด เมื่อสุกสีดำ

สรรพคุณของ รามใหญ่ : ลำต้น ใช้แก้โรคเรื้อน พบเม็ดสี (Pigment) สีส้มทองชื่อ Rapanone ในเปลือกต้น ซึ่งเมื่อใช้ทดลองกับหนูที่ติดเชื้อโรคเรื้อน โดยให้ยาติดต่อกัน 6 เดือน-1 ปี สามารลดการเพิ่มจำนวนของเชื้อดังกล่าวได้ ราก ใช้แก้กามโรคและหนองใส ผล แก้ไข้ ท้องเสีย

ลำโพงกาสลัก

ลำโพงกาสลัก

ชื่อวิทยาศาสตร์ : D. metel Linn. var.Fastuosa Safford
ชื่อวงศ์ : SOLANACEAE
ชื่ออื่น : กาสลัก, มะเขือบ้าดอกดำ

รูปลักษณะ : ลำโพงกาสลัก เป็นไม้ล้มลุก อายุหลายปี สูง 1-2 เมตร ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปไข่ กว้าง 8-15 ซม. ยาว 10-20 ซม. ขอบใบหยักซี่ฟันหยาบๆ ฐานใบมักไม่เสมอกัน ดอกเดี่ยว ออกที่ซอกใบ กลีบเลี้ยงสีเขียวติดกันเป็นหลอด ยาวประมาณครึ่งหนึ่งของความยาวดอก กลีบดอกติดกันเป็นหลอด ปลายบานออกเป็นรูปแตร ผลแห้ง แตกได้ มีขนหนาคล้ายหนาม ลำโพงขาวมีกิ่งก้านลำต้นสีเขียว กลีบดอกสีขาวชั้นเดียว ผลกลม ลำโพงกาสลักมีกิ่งก้านลำต้นสีม่วปนเขียวถึงสีม่วงเข้ม กลีบดอกสีม่วง 2-3 ชั้นซ้อนกัน ผลรูปรี

สรรพคุณของ ลำโพงกาสลัก : เมล็ด ใช้หุงทำน้ำมันใส่แผล แก้กลากเกลื้อน ผื่นคัน ใบ ใช้ใบสดตำพอกฝี แก้ปวดบวมอักเสบ ใบและยอด มีแอลคาลอยด์ Hyoscyamine และ Hyoscine ใช้แก้อาการปวดท้องเกร็ง และขยายหลอดลม ใช้แก้หอบหืดได้ ดอก ใช้สูบแก้อาการหอบหืด

ว่านมหากาฬ

ว่านมหากาฬ

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Gynura pseudochina DC. var.hispida Thv.
ชื่อวงศ์ : ASTERACEAE
ชื่ออื่น : ดาวเรือง

รูปลักษณะ : ว่านมหากาฬ เป็นไม้ล้มลุก มีรากขนาดใหญ่ ลำต้นอวบน้ำ เลื้อยทอดยาวไปตามพื้นดิน ชูยอดตั้งขึ้น ปลายยอดมีขนนุ่มสั้นปกคลุม ใบเดี่ยว เรียงสลับ เวียนรอบต้น รูปใบหอกกลับ กว้าง 2.5-8 ซม. ยาว 6-30 ซม. ขอบใบหยักห่างๆ หลังใบสีม่วงเข้ม มีขนเส้นใบสีเขียว ท้องใบสีเขียวแกมเทา ดอกช่อ ออกที่ปลายยอด กลีบดอกสีเหลืองทอง ผลแห้ง ไม่แตก

สรรพคุณของ ว่านมหากาฬ : รากและใบสด ใช้ตำ พอกแก้ปวดบวมจากแมลงสัตว์กัดต่อย ถอนพิษปวดแสบ ปวดร้อน ใช้ใบสดทดลองกับผู้ป่วยโรคเริมและงูสวัด สรุปว่า สารสกัดจากใบทำให้อัตราการกลับมาเป็นใหญ่ของโรคลดลง

หนอนตายหยาก

หนอนตายหยาก

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Stemona tuberosa Lour.
ชื่อวงศ์ : STEMONACEAE
ชื่ออื่น : กะเพียด

รูปลักษณะ : หนอนตายหยาก เป็นไม้ล้มลุก สูง 0.4-0.6 เมตร รากเป็นรูปกระสวย ออกเป็นกระจุกคล้ายกระชาย กิ่งที่กำลังจะออกดอก มักจะเลื้อยพัน ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปหัวใจ กว้าง 4-6 ซม. ยาว 6-10 ซม. แผ่นใบเป็นคลื่น ดอกเดี่ยว ออกที่ซอกใบ กลีบดอกด้านนอกสีเขียว ด้านในสีแดง ผลแห้ง แตกได้

สรรพคุณของ หนอนตายหยาก : ราก ใช้ทุบหมักน้ำ ใช้ส่วนน้ำเป็นยาฆ่าหิดเหา ฆ่าหนอน



พืชสมุนไพร ประเภท ยาแก้โรคเรื้อน

กระเบา

กระเบา

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Chaulmoogra, Hydnoccarpus anthelminthicus Pierre
ชื่อวงศ์ : FLACOURTIACEAE
ชื่ออื่น : กระเบาน้ำ, กระเบาเบ้าแข็ง, กระเบาใหญ่, กาหลง, เบา

รูปลักษณะ : กระเบา เป็นไม้ยืนต้น สูง 10-20 เมตร ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปขอบขนาน กว้าง 3-6 ซม. ยาว 10-12 ซม. ดอกเดี่ยวหรือช่อสั้นๆ ออกที่ซอกใบ แยกเพศอยู่คนละต้น ต้นตัวเมียเรียกว่า กระเบาต้นตัวผู้ เรียกว่าแก้วกาหลง กลีบดอกสีม่วงแดงจางๆ ผลเป็นผลสด รูปกลม เปลือกหนา มีขนกำมะหยี่สีน้ำตาล มีเมล็ดจำนวนมาก

สรรพคุณของ กระเบา : เมล็ด ใช้น้ำมันที่บีบจากเมล็ด รักษาโรคเรื้อน และโรคผิวหนังอื่นๆ มีรายงานวิจัยว่าน้ำมันที่บีบจากเมล็ดโดยไม่ใช้ความร้อน มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อโรคเรื้อนและวัณโรค

กลิ้งกลางดง

กลิ้งกลางดง

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Stephania venosa (BP.) Spreng.
ชื่อวงศ์ : MENISPERMACEAE
ชื่ออื่น : สบู่เลือด

รูปลักษณะ : กลิ้งกลางดง เป็นไม้เลื้อย กิ่งก้านมีน้ำยางสีแดง ลำต้นบนดินมีอายุปีเดียว งอกมาจากหัวใต้ดินขนาดใหญ่ ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปไข่แกมสามเหลี่ยมกว้าง ขอใบเว้าเล็กน้อย กว้าง 7-12 ซม. ยาว 6-11 ซม. ผิวใบด้านล่างมีขนละเอียดเล็กน้อย ดอกช่อ แยกเพศ ช่อดอกตัวผู้ยาวประมาณ 4-16 ซม. กลีบดอกสีส้ม ช่อดอกตัวเมียอัดกันแน่นมากกว่า ผลเป็นผลสด รูปไข่กลับ

สรรพคุณของ กลิ้งกลางดง : เถา ใช้เถาขับพยาธิ ราก บำรุงเส้นประสาท หัวใต้ดิน ดองเหล้ากินบำรุงกำลัง บำรุงกำหนัด หรือตากแห้ง บด ปั้นเป็นลูกกลอน กินเป็นยาอายุวัฒนะ ช่วยเจริญอาหาร ใบรักษาแผลสด และแผลเรื้อรัง

จำปา

จำปา

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Orange Chempaka, Michelia champaca Linn.
ชื่อวงศ์ : MAGNOLIACEAE
ชื่ออื่น : จำปาเขา, จำปาทอง, จำปาป่า

รูปลักษณะ : จำปา เป็นไม้ยืนต้น สูง 15-25 เมตร ยอดอ่อนมีใบเกล็ดหุ้ม ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปไข่ รูปวงรี หรือรูปวงรีแกมขอบขนาน กว้าง 5-10 ซม. ยาว 12-20 ซม. ท้องใบมีขนนุ่ม ดอกเดี่ยวออกที่ซอกใบ กลีบดอกสีเหลืองส้ม กลิ่นหอม ผลเป็นผลกลุ่ม ผลย่อยติดบนแกนเป็นช่อยาว เมื่อแก่จะแตก

สรรพคุณของ จำปา : ดอก มีน้ำมันหอมระเหย ใช้ดอกแห้งปรุงยาหอม บำรุงหัวใจ บำรุงประสาท บำรุงโลหิต แก้คลื่นไส้ แก้ไข้ ขับปัสสาวะ จัดอยู่ในพิกัดเกสรทั้งเจ็ด รักษาโรคเรื้อนและหิด

ทองพันชั่ง

ทองพันชั่ง

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Rhinacanthus nasutus (Linn.) Kurz.
ชื่อวงศ์ : ACANTHACEAE
ชื่ออื่น : ทองคันชั่ง, หญ้ามันไก่

รูปลักษณะ : ทองพันชั่ง เป็นไม้พุ่ม สูง 1-2 เมตร กิ่งอ่อนมักเป็นสันสี่เหลี่ยม ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปไข่หรือรูปวงรี กว้าง 2-4 ซม. ยาว 4-8 ซม. ดอกช่อ ออกที่ซอกใบ กลีบดอกสีขาว โคนกลีบติดกันเป็นหลอด ปลายแยกเป็น 2 ปาก ปากล่างมีจุดสีม่วงแดง ผลแห้ง แตกได้

สรรพคุณของ ทองพันชั่ง : ใบสด, ราก ใช้ใบสดและรากโขลกละเอียด แช่เหล้าโรง 1 สัปดาห์ เอาน้ำเหล้าทาแก้กลากเกลื้อน สารสำคัญ คือ Rhinacanthin และ Oxymethylanthraquinone

รามใหญ่

รามใหญ่

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Ardisia elliptica Thunb.
ชื่อวงศ์ : MYRSINACEAE

รูปลักษณะ : รามใหญ่ เป็นไม้พุ่ม สูง 1.5-3 เมตร ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปรีหรือรูปรีแกมขอบขนาน กว้าง 3-5 ซม. ยาว 7 -15 ซม. ใบหนา ผิวเรียบ ดอกช่อ ออกที่ปลายกิ่ง กลีบดอกสีขาวแกมชมพูจางๆ ผลเป็นผลสด เมื่อสุกสีดำ

สรรพคุณของ รามใหญ่ : ลำต้น แก้โรคเรื้อน พบเม็ดสี (Pigment) สีส้มทองชื่อ Rapanone ในเปลือกต้น ซึ่งเมื่อใช้ทดลองกับหนูที่ติดเชื้อโรคเรื้อน โดยให้ยาติดต่อกัน 6 เดือน-1 ปี สามารถลดการเพิ่มจำนวนของเชื้อดังกล่าวได้ รากแก้กามโรค และหนองใน ผลแก้ไข้ท้องเสีย

ลำโพงกาสลัก

ลำโพงกาสลัก

ชื่อวิทยาศาสตร์ : D. metel Linn. var.Fastuosa Safford
ชื่อวงศ์ : SOLANACEAE
ชื่ออื่น : กาสลัก, มะเขือบ้าดอกดำ

รูปลักษณะ : ลำโพงกาสลัก เป็นไม้ล้มลุก อายุหลายปี สูง 1-2 เมตร ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปไข่ กว้าง 8-15 ซม. ยาว 10-20 ซม. ขอบใบหยักซี่ฟันหยาบๆ ฐานใบมักไม่เสมอกัน ดอกเดี่ยว ออกที่ซอกใบ กลีบเลี้ยงสีเขียวติดกันเป็นหลอด ยาวประมาณครึ่งหนึ่งของความยาวดอก กลีบดอกติดกันเป็นหลอด ปลายบานออกเป็นรูปแตร ผลแห้ง แตกได้ มีขนหนาคล้ายหนาม ลำโพงขาวมีกิ่งก้านลำต้นสีเขียว กลีบดอกสีขาวชั้นเดียว ผลกลม ลำโพงกาสลักมีกิ่งก้านลำต้นสีม่วปนเขียวถึงสีม่วงเข้ม กลีบดอกสีม่วง 2-3 ชั้นซ้อนกัน ผลรูปรี

สรรพคุณของ ลำโพงกาสลัก : เมล็ด ใช้หุงทำน้ำมันใส่แผล แก้กลากเกลื้อน ผื่นคัน ใบ ใช้ใบสดตำพอกฝี แก้ปวดบวมอักเสบ ใบและยอด มีแอลคาลอยด์ Hyoscyamine และ Hyoscine ใช้แก้อาการปวดท้องเกร็ง และขยายหลอดลม ใช้แก้หอบหืดได้ ดอก ใช้สูบแก้อาการหอบหืด

โล่ติ๊น

โล่ติ๊น

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Tuba Root, Derris, Derris elliptica (Roxb.) Benth.
ชื่อวงศ์ : FABACEAE
ชื่ออื่น : กะลำเพาะ, เครือไหลน้ำ, หางไหลแดง, ไหลน้ำ, อวดน้ำ

รูปลักษณะ : โล่ติ๊น เป็นไม้เถาเนื้อแข็ง ใบประกอบแบบขนนก เรียงสลับ ใบย่อยรูปไข่กลับแกมใบหอก หรือรูปไข่กลับแกมขอบขนาน กว้าง 5-7 ซม. ยาว 10-20 ซม. ดอกช่อ ออกที่ซอกใบ ดอกย่อยรูปดอกถั่ว กลีบดอกสีชมพูแกมม่วง ผลเป็นฝัก

สรรพคุณของ โล่ติ๊น : ราก ใช้รากฆ่าเหาและเรือด ฆ่าแมลง เบื่อปลาโดยนำรากมาทุบ แช่น้ำทิ้งไว้ ใช้เฉพาะส่วนน้ำ พบมีสารพิษชื่อ Rotenone ซึ่งสลายตัวง่าย ถ้าใช้ฆ่าแมลง จะไม่มีพิษตกค้าง



พืชสมุนไพร ประเภท ยาแก้ไข้ ลดความร้อน

กระทงลาย

กระทงลาย

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Celastrus paniculatus Willd.
ชื่อวงศ์ : CELASTRACEAE
ชื่ออื่น : กระทุงลาย, โชด, นางแตก, มะแตก, มะแตกเครือ, มักแตก

รูปลักษณะ : กระทงลาย เป็นไม้เถารอเลื้อย เนื้อแข็ง ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปวงรีหรือรูปวงรีแกมขอบขนาน กว้าง 2.5-4 ซม. ยาว 6-8 ซม. ดอกช่อ ออกที่ปลายกิ่งและซอกใบ กลีบดอกสีเขียว ผลแห้ง แตกได้ รูปทรงกลมหรือรูปไข่ เมล็ดมีเยื่อสีน้ำตาลแดง

สรรพคุณของ กระทงลาย : ราก ใช้เป็นยาแก้ไข้ แก้ไข้มาลาเรีย ใบ รักษาโรคบิด แก่น รักษาวัณโรค ผล แก้ลมจุกเสียด บำรุงโลหิต เมล็ด พอกหรือรับประทานรักษาโรคปวดตามข้อ กล้ามเนื้อและอัมพาต น้ำมันในเมล็ด รักษาโรคเหน็บชา และเป็นยาขับเหงื่อ

กระแจะ

กระแจะ

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Naringi crenulata (Roxb.), Nicolson (Hesperethusa crenulata (Roxb.) Roem.)
ชื่อวงศ์ : RUTACEAE
ชื่ออื่น : ขะแจะ, ตุมตัง, พญายา

รูปลักษณะ : กระแจะ เป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก สูง 3-8 เมตร กิ่งก้านมีหนาม ใบประกอบแบบขนนก เรียงสลับ ใบย่อย 4-13 ใบ รูปวงรีแกมไข่สลับ กว้าง 1.5-3 ซม. ยาว 2-7 ซม. ก้านใบแผ่เป็นปีก ดอกช่อ ออกที่ซอกใบ กลีบดอกสีขาว ผล เป็นผลสด รูปทรงกลม

สรรพคุณของ กระแจะ : แก่น ใช้เป็นยาดับพิษร้อน ดองเหล้ากินแก้กษัย (การป่วยที่เกิดจากหลายสาเหตุ ทำให้ร่างกายเสื่อมโทรม ซูบผอม โลหิตจาง), ลำต้น ใช้ต้มน้ำดื่ม ครั้งละครึ่งแก้ว วันละ 3 ครั้ง เช้า-กลางวัน-เย็น แก้อาการโรคผิวหนังมีผื่นคัน เป็นเม็ดขึ้นคล้ายผด คันมาก มักมีไข้ร่วมด้วย แก้ปวดตามข้อ ปวดเมื่อย เส้นตึง แก้ร้อนใน, เปลือกต้น แก้ไข้ บำรุงจิตใจให้ชุ่มชื่นแจ่มใส

คนทา

คนทา

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Harrisonia perforata (Blanco) Merr.
ชื่อวงศ์ : SIMAROUBACEAE
ชื่ออื่น : กะลันทา, สีฟ้น, สีฟันคนตาย, สีฟันคนทา, จี้, จี้หนาม, สีเตาะ, หนามจี้

รูปลักษณะ : คนทา เป็นไม้พุ่มแกมเถา กิ่งก้านมีหนาม ยอดอ่อนมีสีแดง ใบประกอบ แบบขนนกเรียงสลับ มีครีบที่ก้านและแกนใบ ใบย่อยรูปวงรีหรือรูปไข่ กว้าง 1-1.5 ซม. ยาว 2-2.5 ซม. ขอบใบหยัก ดอกช่อ ออกเป็นกระจุกที่ซอกใบใกล้ปลายกิ่ง กลีบดอกด้านนอกสีแดงแกมม่วง ด้านในสีนวล ผล เป็นผลสด ค่อนข้างกลม ใบ ผล และราก มีรสขม

สรรพคุณของ คนทา : ราก ใช้เป็นยาแก้ไข้ทุกชนิด

จันทน์ชะมด

จันทน์ชะมด

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Aglaia pyramidata Hance
ชื่อวงศ์ : MELIACEAE

รูปลักษณะ : จันทน์ชะมด เป็นไม้ยืนต้น สูง 10-20 เมตร ใบประกอบแบบขนนก เรียงสลับ ใบย่อยรูปขอบขนานแกมใบหอก กว้าง 1.5-3 ซม. ยาว 7-10 ซม. ดอกช่อ แยกแขนง ออกที่ซอกใบ ดอกย่อยขนาดเล็ก กลีบดอกสีเหลืองอ่อน ผลเป็นผลสด รูปไข่หรือทรงกลม

สรรพคุณของ จันทน์ชะมด : แก่น แก่นจันทน์ชะมดมีรสขม หอม ใช้เป็นยาแก้ไอ กระหายน้ำ อ่อนระโหย

บอระเพ็ด

บอระเพ็ด

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Tinospora crispa (Linn.), Miers ex Hook. f. et Thoms.
ชื่อวงศ์ : MENISPERMACEAE
ชื่ออื่น : เครือเขาฮอ, จุ่งจิง, เจตมูลหนาม, ตัวเจตมูลยาน, เถาหัวด้วน, หางหนู

รูปลักษณะ : บอระเพ็ด เป็นไม้เถาเลื้อยพัน เถามีขนาดใหญ่ มีปุ่มปมมาก ทุกส่วนมีรสขมมาก ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปหัวใจ กว้างและยาว 6-10 ซม. ดอกช่อ ออกตามเถา และที่ซอกใบ ดอกย่อยมีขนาดเล็กมาก ไม่มีกลีบดอก ผล เป็นผลสด ค่อนข้างกลม

สรรพคุณของ บอระเพ็ด : เถา ใช้เป็นยาแก้ไข้ ขับเหงื่อ แก้กระหายน้ำ แก้ร้อนใน โดยนำเถาสดขนาดยาว 2 คืบครึ่ง (30-40 กรัม) ต้มคั้นเอาน้ำดื่ม หรือต้มเคี่ยวกับน้ำ 3 ส่วนจนเหลือ 1 ส่วน ดื่มก่อนอาหารวันละ 2 ครั้ง เช้า-เย็น หรือเมื่อมีไข้ นอกจากนี้ใช้เป็นยาขมเจริญอาหารด้วย

บัวบก

บัวบก

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Asiatic Pennywort, Tiger Herbal, Centella asiatica (Linn.) Urban
ชื่อวงศ์ : APIACEAE
ชื่ออื่น : ผักแว่น, ผักหนอก

รูปลักษณะ : บัวบก เป็นไม้ล้มลุก อายุหลายปี เลื้อยแผ่ไปตามพื้นดิน ชอบที่ชื้นแฉะ แตกรากฝอยตามข้อ ไหลที่แผ่ไปจะงอกใบจากข้อ ชูขึ้น 3-5 ใบ ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปไต เส้นผ่าศูนย์กลาง 2-5 ซม. ขอบใบหยัก ก้านใบยาว ดอกช่อ ออกที่ซอกใบ ขนาดเล็ก 2-3 ดอก กลีบดอกสีม่วง ผลแห้ง แตกได้

สรรพคุณของ บัวบก : ใบสด ใช้เป็นยาภายนอกรักษาแผลเปื่อย แผลไฟไหม้น้ำร้อนลวก โดยใช้ใบสด 1 กำมือ ล้างให้สะอาด ตำละเอียด คั้นเอาน้ำทาบริเวณแผลบ่อยๆ ใช้กากพอกด้วยก็ได้ แผลจะสนิทและเกิดแผลเป็นชนิดนูน (Keloid) น้อยลง สารที่ออกฤทธิ์คือ กรด Madecassic, กรด Asiatic และ Asiaticoside ซึ่งช่วยสมานแผลและเร่งการสร้างเนื้อเยื่อ ระงับการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรีย ที่ทำให้เกิดหนองและลดการอักเสบ มีรายงานการค้นพบฤทธิ์ฆ่าเชื้อรา อันเป็นสาเหตุของโรคกลาก ปัจจุบัน มีการพัฒนายาเตรียมชนิดครีม ให้ทารักษาแผลอักเสบจากการผ่าตัด น้ำต้มใบสดดื่มลดไข้ รักษาโรคปากเปื่อย ปากเหม็น เจ็บคอ ร้อนใน กระหายน้ำ ขับปัสสาวะ แก้ท้องเสีย

ประทัดใหญ่

ประทัดใหญ่

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Quassia, Quassia amara Linn.
ชื่อวงศ์ : SIMAROUBACEAE
ชื่ออื่น : ประทัด, ประทัดจีน

รูปลักษณะ : ประทัดใหญ่ เป็นไม้พุ่ม สูง 1.5-3 ซม. ใบประกอบแบบขนนก เรียงสลับ รูปไข่กลับหรือรูปวงรี กว้าง 2-3 ซม. ยาว 3-5 ซม. เส้นใบสีแดง ก้านและแกนใบรวมแผ่ออกเป็นครีบ ดอกช่อ ออกที่ปลายกิ่ง กลีบดอกสีแดงสด ผลกลุ่ม ผลย่อยรูปไข่กลับ สีแดงคล้ำ

สรรพคุณของ ประทัดใหญ่ : ราก ใช้เป็นยาแก้ไข้ ยาขมเจริญอาหารและช่วยย่อยอาหาร

ปลาไหลเผือก

ปลาไหลเผือก

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Eurycoma lingifolia Jack.
ชื่อวงศ์ : SIMAROUBACEAE
ชื่ออื่น : กรุงบาดาล, คะนาง, ชะนาง, ตรึงบาดาล, แฮพันชั้น, เพียก, หยิกบ่อถอง, หยิกไม่ถึง, เอียนด่อน, ไหลเผือก, ตุงสอ

รูปลักษณะ : ปลาไหลเผือก เป็นไม้ยืนต้น สูง 4-6 เมตร ลำต้นตรง ไม่ค่อยแตกกิ่งก้าน ใบประกอบแบบขนนก เรียงสลับ ออกเป็นกระจุกบริเวณปลายกิ่ง ใบย่อยรูปไข่แกมวงรี กว้าง 2-3 ซม. ยาว 5-7 ซม. สีเขียวเข้ม ยอดและใบอ่อนมีขนสีน้ำตาลแดง ดอกช่อ ออกที่ซอกใบ ดอกย่อยขนาดเล็ก กลีบดอกสีม่วงแดง ผลเป็นผลสด รูปยาวรี

สรรพคุณของ ปลาไหลเผือก : ราก ใช้เป็นยาแก้ไข้ทุกชนิด รวมทั้งไข้จับสั่น พบว่าสารที่ออกฤทธิ์เป็นสารที่มีรสขม ได้แก่ Eurycomalactone, Eurycomanol และ Eurycomanone สารทั้งสามชนิดนี้ มีฤทธิ์ยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อมาลาเรีย ชนิดฟัลซิพารัมในหลอดทดลองได้ จัดเป็นสมุนไพรที่มีศักยภาพ ควรศึกษาวิจัยต่อไป

พญาสัตบรรณ

พญาสัตบรรณ

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Blackboard Tree, Devil Tree, Alstonia scholaris (Linn.) R. Br.
ชื่อวงศ์ : APOCYNACEAE
ชื่ออื่น : สัตบรรณ, ตีนเป็ด, ตีนเป็ดขาว, ชบา, ยางขาว, หัสบรรณ

รูปลักษณะ : พญาสัตบรรณ เป็นไม้ยืนต้น สูงถึง 30 เมตร เปลือกต้นสีเทา มียางขาวมาก กิ่งแตกออกรอบข้อ ใบเดี่ยว เรียงรอบข้อๆ ละ 6-9 ใบ รูปขอบขนานแกมใบหอกกลับหรือรูปไข่กลับ กว้าง 2-6 ซม. ยาว 5-18 ซม. ปลายทู่กลม หรือเว้าเล็กน้อย ดอกช่อ ออกเป็นกระจุกที่ปลายกิ่ง กลีบดอกสีขาว แกมเหลือง ผลเป็นฝักออกเป็นคู่ รูปกลมยาว

สรรพคุณของ พญาสัตบรรณ : เปลือกต้น ใช้แก้ไข้หวัด หลอดลมอักเสบ แก้บิด สมานลำไส้ การทดลองในสัตว์พบว่า สารสกัดจากเปลือกต้น มีฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือด รักษาแผลเรื้อรัง และต้านเชื้อแบคทีเรียบางชนิด

พะยอม

พะยอม

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Shorea roxburghii G. Don
ชื่อวงศ์ : DIPTEROCARPACEAE
ชื่ออื่น : กะยอม, ขะยอมดง, แคน, พะยอมดง, พะยอมทอง, ยางหยวก

รูปลักษณะ : พะยอม เป็นไม้ยืนต้น สูง 15-30 เมตร ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปขอบขนาน กว้าง 4-6 ซม. ยาว 8-12 ซม. ขอบใบเป็นคลื่น ดอกช่อ ออกที่ปลายกิ่ง กลีบดอกสีขาว กลิ่นหอม ผลแห้ง รูปกระสวย มีปีกยาว 3 ปีก ปีกสั้น 2 ปีก

สรรพคุณของ พะยอม : เปลือกต้น ต้นน้ำดื่มเป็นยาฝาดสมาน แก้ท้องเดินและสำไส้อักเสบ สารที่ออกฤทธิ์คือ แทนนิน นอกจากนี้ยังใช้เปลือกต้นเป็นยากันบูดด้วย ดอก ใช้เป็นยาลดไข้ เข้ายาหอมบำรุงหัวใจ

ฟ้าทะลาย

ฟ้าทะลาย

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Andrographis paniculata (Burm. f.) Nees.
ชื่อวงศ์ : ACANTHACEAE
ชื่ออื่น : ฟ้าทะลายโจร, หญ้ากับงู, น้ำลายพังพอน

รูปลักษณะ : ฟ้าทะลาย เป็นไม้ล้มลุก สูง 30-60 ซม. ทั้งต้นมีรสขม ลำต้นเป็นสี่เหลี่ยม แตกกิ่งออกเป็นพุ่มเล็ก ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปไข่หรือรูปใบหอก กว้าง 2-3 ซม. ยาว 4-8 ซม. สีเขียวเข้ม เป็นมัน ดอกช่อ ออกที่ปลายกิ่งและซอกใบ ดอกย่อยขนาดเล็ก กลีบดอกสีขาว โคนกลีบดอกติดกัน ปลายแยกออกเป็น 2 ปาก ปากบนมี 3 กลีบ มีเส้นสีแดงเข้มพาดตามยาว ปากล่างมี 2 กลีบ ผลเป็นฝัก สีเขียวอมน้ำตาล ปลายแหลม เมื่อผลแก่จะแตกเป็นสองซีก ดีดเมล็ดออกมา

สรรพคุณของ ฟ้าทะลาย : ใบและทั้งต้น ใช้เฉพาะส่วนที่อยู่บนดิน ซึ่งเก็บก่อนที่ดอกจะบาน เป็นยาแก้ไข้ แก้เจ็บคอ แก้ท้องเสีย เป็นยาขมเจริญอาหาร ขนาดที่ใช้คือ พืชสด 1-3 กำมือ ต้มน้ำดื่มก่อนอาหาร วันละ 3 ครั้ง หรือใช้พืชแห้งบดเป็นผงละเอียด ปั้นเป็นยาลูกกลอน ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 0.8 ซม. กินครั้งละ 3-6 เม็ด วันละ 3-4 ครั้ง ก่อนอาหารและก่อนนอน สำหรับผงฟ้าทะลายที่บรรจุแคปซูลๆ ละ 500 มิลลิกรัม ให้กินครั้งละ 2 เม็ด วันละ 2 ครั้ง ก่อนอาหารเช้า-เย็น อาการข้างเคียงที่อาจพบคือ คลื่นไส้

มะปราง

มะปราง

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Plum Mango, Bouca macrophylla Griff.
ชื่อวงศ์ : ANACARDIACEAE

รูปลักษณะ : มะปราง เป็นไม้ยืนต้น สูง 10-20 เมตร กิ่งก้านห้อยลง เป็นสันสี่เหลี่ยม ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปขอบขนานแกมใบหอก กว้าง 3-7 ซม. ยาว 12-20 ซม. เนื้อใบเหนียวเป็นมัน ดอกช่อ แยกแขนงออกที่ซอกใบ ดอกย่อยสีเหลืองขนาดเล็ก ผล เป็นผลสด รูปวงรี สีเหลืองหรือส้ม ฉ่ำน้ำ รสเปรี้ยว ใบเลี้ยงสีม่วง

สรรพคุณของ มะปราง : ราก มีรสเย็น ใช้ถอนพิษไข้ พิษสำแดง แก้ไข้กลับไข้ซ้ำ ไข้มีพิษร้อน

มะฮอกกานี ใบใหญ่

มะฮอกกานี ใบใหญ่

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Broad Leaf Mahogany, False Mahogany, Honduras Mahogany, Swietenia Macrophylla King
ชื่อวงศ์ : MELIACEAE

รูปลักษณะ : มะฮอกกานี ใบใหญ่ เป็นไม้ยืนต้น ผลัดใบ สูง 15-25 เมตร ใบประกอบแบบขนนก เรียงสลับ ใบย่อย รูปวงรีเบี้ยว โค้งเล็กน้อย กว้าง 2.5-6 ซม. ยาว 6-15 ซม. ดอกช่อ ออกที่ซอกใบ ใกล้ปลายกิ่ง กลีบดอกสีเหลืองอ่อน หรือเหลืองแกมเขียว ผลแห้ง แตกได้ รูปไข่ เปลือกหนาแข็ง

สรรพคุณของ มะฮอกกานี ใบใหญ่ : เปลือกต้น ใช้เป็นยาแก้ไข้ เจริญอาหาร

ระย่อมน้อย

ระย่อมน้อย

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Rauwolfia, Rauvalfia serpentina (Linn.) Benth. ex Kurz.
ชื่อวงศ์ : APOCYNACEAE
ชื่ออื่น : กะย่อม, เข็มแดง

รูปลักษณะ : ระย่อมน้อย เป็นไม้พุ่ม สูง 30-70 ซม. มียางขาว ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม หรือรอบข้อๆ ละ 3 ใบ รูปวงรีหรือรูปใบหอก กว้าง 4-8 ซม. ยาว 7-20 ซม. ดอกช่อ ออกที่ปลายกิ่ง กลีบเลี้ยงสีขาวแกมเขียว เมื่อกลีบดอกโรยจะเปลี่ยนเป็นสีแดง กลีบดอกสีขาว โคนกลีบเป็นหลอดสีแดง ผลเป็นผลสด รูปวงรี

สรรพคุณของ ระย่อมน้อย : ราก ตำรายาไทยใช้แก้ไข้ เจริญอาหาร ลดความดันโลหิต แก้บ้าคลั่ง ทำให้นอนหลับ ขับพยาธิ พบว่ารากมีแอลคาลอยด์ Reserpine ซึ่งมีฤทธิ์ลดความดันโลหิต และกล่อมประสาท อาการข้างเคียงของการใช้ยานี้คือ ทำให้ฝันร้าย ซึมเศร้า คัดจมูก

รางจืด

รางจืด

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Thunbergia laurifolia Linn.
ชื่อวงศ์ : THUNBERGIACEAE
ชื่ออื่น : กำลังช้างเผือก, ขอบชะนาง, เครือเขาเขียว, ยาเขียว, คาย, รางเย็น, ดุเหว่า, ทิดพุด, น้ำนอง, ย่ำแย้, แอดแอ

รูปลักษณะ : รางจืด เป็นไม้เถาเนื้อแข็ง ใบเดี่ยว รูปขอบขนานหรือรูปไข่ กว้าง 4-7 ซม. ยาว 8-14 ซม. ขอบใบเว้าเล็กน้อย ดอกช่อ ออกที่ปลายกิ่ง กลีบดอกสีม่วงแกมน้ำเงิน ใบประดับสีเขียวประสีน้ำตาลแดง ผลแห้ง แตกได้

สรรพคุณของ รางจืด : ใบสด ใช้คั้นน้ำ แก้ไข้ ถอนพิษต่างๆ ในร่างกาย เช่น อาการแพ้อาหาร เป็นต้น การทดลองเพื่อใช้แก้พิษที่เกิดจากยาฆ่าแมลงโพลิดอลในสัตว์ ได้ผลดีพอควร สรุปได้ว่าอาจใช้น้ำคั้นใบสดให้ผู้ป่วยที่กินยาฆ่าแมลง ดื่มเป็นการปฐมพยาบาล ก่อนนำผู้ป่วยส่งโรงพยาบาลได้ แต่จะไม่ให้ผลในการกินเพื่อป้องกัน ก่อนสัมผัสยาฆ่าแมลง

ลักกะจั่น

ลักกะจั่น

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Dracaena loureiri Gagnep.
ชื่อวงศ์ : DRACAENACEAE
ชื่ออื่น : จันทน์แดง, จันทน์ผา, ลักกะจันทน์

รูปลักษณะ : ลักกะจั่น เป็นไม้พุ่ม สูงได้ถึง 4 เมตร ตรงปลายมีข้อถี่ ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปดาบ กว้าง 5-7 ซม. ยาว 50-70 ซม. ออกรวมเป็นกลุ่มที่ยอด เนื้อใบกรอบแข็ง ดอกช่อขนาดใหญ่ ออกที่ปลายยอด โค้งห้อยลง ดอกย่อยขนาดเล็ก กลีบดอกสีนวล ผลสด รูปกลม

สรรพคุณของ ลักกะจั่น : แก่นที่ราลง มีสีแดง ใช้เป็นยาเย็น แก้ไข้ทุกชนิด การทดลองในสัตว์ พบว่า สารสกัดด้วยน้ำมีฤทธิ์ลดไข้ แต่ต้องใช้ปริมาณมากกว่าแอสไพริน 10 เท่า และออกฤทธิ์ช้ากว่าแอสไพริน 3 เท่า

ว่านธรณีสาร

ว่านธรณีสาร

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Phyllanthus pulcher Wall. ex Muell. Arg.
ชื่อวงศ์ : EUPHORBIACEAE
ชื่ออื่น : กระทืบยอบ, ก้างปลา, ก้างปลาดิน, ดอกใต้ใบ, ก้างปลาแดง, ครีบยอด, คอทราย, ตรึงบาดาล

รูปลักษณะ : ว่านธรณีสาร เป็นไม้พุ่ม สูงไม่เกิน 1.5 เมตร ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปไข่แกมวงรี กว้าง 0.8-1.3 ซม. ยาว 1.5-2.5 ซม. ดอกเดี่ยว ออกที่ซอกใบและปลายกิ่ง แยกเพศ อยู่บนต้นเดียวกัน ดอกตัวผู้ออกเป็นกระจุกใกล้โคนกิ่ง ดอกตัวเมียมักออกตอนปลายกิ่ง สีเขียวอ่อน โคนกลีบสีแดงเข้ม ก้านดอกยาว ผลแห้ง แตกได้ ค่อนข้างกลม

สรรพคุณของ ว่านธรณีสาร : ใบแห้ง ใช้บดเป็นผงแทรกพิมเสน กวาดคอเด็กเพื่อลดไข้ และรักษาแผลในปาก ภายนอกใช้พอกฝี บรรเทาอาการบวมและคัน

สะเดาบ้าน

สะเดาบ้าน

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Neem Tree, Azadirachta indica A.Juss, Var.Siamensis Valeton
ชื่อวงศ์ : MELIACEAE

รูปลักษณะ : สะเดาบ้าน เป็นไม้ยืนต้น สูง 4-10 เมตร ทุกส่วนมีรสขม ยอดอ่อนที่แตกใหม่ มีสีน้ำตาลแดง เปลือกต้นสีเทาแตกเป็นร่อง ใบประกอบแบบขนนก เรียงสลับ ใบย่อยรูปใบหอก กว้าง 3-4 ซม. ยาว 4-8 ซม. ขอบใบหยักฟันเลื่อย ฐานใบไม่เท่ากัน ดอกช่อ ออกที่ปลายกิ่ง ขณะกำลังแตกใบ่ออน กลีบดอกสีขาว ผล เป็นผลสด รูปรี มี 1 เมล็ด

สรรพคุณของ สะเดาบ้าน : ก้านใบและราก ใช้เป็นยาแก้ไข้ทุกชนิด เปลือกต้น แก้ท้องเสีย เมล็ดและใบ มีสาร Azadirachtin ซึ่งใช้เป็นยาฆ่าแมลงศัตรูพืช โดยใช้สะเดาบ้าน ใบตะไคร้หอมและเหง้าข่าแก่ ชนิดละ 2 กก. บดละเอียด หมักค้างคืนกับน้ำ 1 ปีบ ฉีดพ่นในอัตราส่วนน้ำยา 300-500 ซีซี ต่อน้ำ 1 ปีบ

หอมแดง

หอมแดง

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Eleutherine americana Merr.
ชื่อวงศ์ : IRIDACEAE
ชื่ออื่น : ว่านไก่แดง, ว่านเข้า, ว่านหมาก, ว่านเพลาะ, ว่านหอมแดง

รูปลักษณะ : หอมแดง เป็นไม้ล้มลุกอายุหลายปี มีหัวใต้ดินคล้ายหัวหอม รูปรียาว ใบเกร็ดที่หุ้มหัวใต้ดิน สีม่วงแแดง ใบเดี่ยว ออกเป็นกระจุก 3-4 ใบ รูปดาบ กว้าง 2-4 ซม. ยาว 20-40 ซม. เส้นใบขนาน จีบตามยาวคล้ายพัด ดอกช่อ แทงจากลำต้นใต้ดิน กลีบดอกสีขาว ผลแห้ง แตกได้

สรรพคุณของ หอมแดง : หัวใต้ดินสด ใช้ผสมรวมกับเหง้าเปราะหอม ตำหยาบๆ ห่อผ้าสุมหัวเด็ก แก้หวัดคัดจมูก และกินเป็นยาขับลม

เท้ายายม่อม

เท้ายายม่อม

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Clerodendrum petasites S. Moore
ชื่อวงศ์ : VERBENACEAE
ชื่ออื่น : กาซะลอง, จรดพระธรณี, ดอกคาน, ปิ้งขม, ปิ้งหลวง, พญารากเดียว, พญาเล็งจ้อน, เล็งจ้อนใต้, พมพี, พินพี่, ไม้เท้าฤาษี, หญ้าลิ้นจ้อน

รูปลักษณะ : เท้ายายม่อม เป็นไม้พุ่มขนาดเล็ก สูง 1-2.5 เมตร ลำต้นตรง บริเวณปลายกิ่งเป็นสันสี่เหลี่ยม ใบเดี่ยว เรียงตรงข้ามหรือรอบข้อๆ ละ 3-5 ใบ รูปวงรีแกมขอบขนาน หรือรูปขอบขนานแกมใบหอกกลับ กว้าง 1.5-2.5 ซม. ยาว 12-18 ซม. ดอกช่อ แยกแขนง ออกที่ปลายกิ่ง กลีบดอกสีขาว เชื่อมติดกันเป็นหลอดยาว ผล เป็นผลสด รูปทรงกลม เมื่อสุกสีดำ มีกลีบเลี้ยงสีแดงติดอยู่

สรรพคุณของ เท้ายายม่อม : ราก ใช้เป็นยาขับเสมหะลงเบื้องต่ำ ขับพิษไข้ แก้ร้อนใน กระหายน้ำ แก้อาเจียน หืดไอ และตำพอกแก้พิษฝี

โกฏจุฬาลำพา

โกฏจุฬาลำพา

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Artemisia vulgaris Linn.
ชื่อวงศ์ : ASTERACEAE

รูปลักษณะ : โกฏจุฬาลำพา เป็นไม้ล้มลุก สูงได้ถึง 1.5 เมตร รากมีกลิ่นหอม ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปไข่หรือรูปใบหอก ขอบหยักเว้า ลึกเป็นพู ดอกช่อ แยกแขนง ประกอบด้วยช่อย่อยเป็นกระจุกกลม ขนาดเล็กออกที่ซอกใบหรือปลายกิ่ง มีชั้นใบประดับ กลีบดอกสีเหลืองอ่อน ผลแห้ง ไม่แตกเมล็ด รูปขอบขนานหรือรูปไข่ ผิวเกลี้ยง

สรรพคุณของ โกฏจุฬาลำพา : ใบและช่อดอกแห้ง ใช้แก้ไข้ที่มีผื่น เช่น หัด สุกใส แก้ไอ

โมกหลวง

โมกหลวง

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Kurchi, Holarrhena pubescens (Buch.-Ham.) Wall, ex G. Don (H. antidysenterica Wall.)
ชื่อวงศ์ : APOCYNACEAE
ชื่ออื่น : พุด, พุทธรักษา, มูกมันน้อย, มูกมันหลวง, มูกหลวง, โมกเขา, โมกทุ่ง, โมกใหญ่, ยางพุด

รูปลักษณะ : โมกหลวง เป็นไม้ยืนต้น สูง 8-15 เมตร ทุกส่วนมียางขาว ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปไข่หรือรูปวงรี กว้าง 5-12 ซม. ยาว 10-12 ซม. ผิวใบสีเขียวแกมเหลือง ท้องใบมีขนนุ่ม ดอกช่อ ออกที่ซอกใบใกล้ปลายกิ่ง กลีบดอกสีขาว บริเวณกลางดอกสีเหลือง ผลเป็นฝักคู่

สรรพคุณของ โมกหลวง : เปลือก ใช้แก้บิด เจริญอาหาร พบว่ามีแอลคาลอยด์ Conessine ซึ่งมีฤทธิ์ฆ่าเชื้อบิด และเคยใช้เป็นยารักษาโรคบิดอยู่ระยะหนึ่ง ปัจจุบันมีการใช้น้อย เนื่องจากพบฤทธิ์ข้างเคียงต่อระบบประสาท



พืชสมุนไพร ประเภท ยาแก้ไอ ขับเสมหะ

จิก

จิก

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Barringtonia acutangula Gaertn.
ชื่อวงศ์ : BARRINGTONIACEAE
ชื่ออื่น : กระโดนทุ่ง, กระโดนน้ำ, จิกน้ำ, ตอง

รูปลักษณะ : จิก เป็นไม้ต้นผลัดใบ สูง 5-15 เมตร ลำต้นเป็นปุ่มปม ปลายกิ่งลู่ลง ใบอ่อนสีน้ำตาลแดง ใบเดี่ยว ออกเวียนสลับถี่ตอนปลายกิ่ง รูปใบหอกหรือรูปไข่กลับ กว้าง 10-13 ซม. ยาว 20-30 ซม. ปลายจะผายกว้างแล้วแหลม โคนแหลมขอบจักถี่ ดอก ออกเป็นช่อยาวที่ปลายกิ่งสีแดง ห้อยลง ยาว 30-40 ซม. กลีบเลี้ยง 4 กลีบ หลุดร่วงง่าย เมื่อบานเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 2 ซม. เกสรตัวผู้สีแดงจำนวนมาก ผลกลมยาว เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 2.5 ซม. ยาว 3-4 ซม. มีสันตามยาว 4 สัน

สรรพคุณของ จิก : เมล็ด ใช้เป็นยาแก้ไอในเด็ก เข้ายาลม ใช้แก้อาการจุกเสียด ใบแก่ แก้ท้องร่วงเปลือกต้น ใช้เบื่อปลา

ชะมวง

ชะมวง

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Garcinia cowa Roxb.
ชื่อวงศ์ : CLUSIACEAE
ชื่ออื่น : กระมวง, มวงส้ม, หมากโมก

รูปลักษณะ : ชะมวง เป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็กถึงขนาดกลาง สูง 15-30 เมตร ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปวงรี แกมใบหอก กว้าง 2-3.5 ซม. ยาว 7-15 ซม. เนื้อใบหนาและเหนียว ผิวใบเป็นมัน ดอก แยกเพศอยู่คนละต้น ดอกตัวผู้ออกเป็นกระจุก มีดอกย่อยหลายดอก กลีบดอกสีเหลืองหรือชมพูถึงแดง ดอกตัวเมียเป็นดอกเดี่ยว ผลเป็นผลสด รูปค่อนข้างกลม เมื่อสุกสีเหลืองแกมส้มหม่น

สรรพคุณของ ชะมวง : ใบและผล แก้กระหายน้ำ ระบายท้อง แก้ไข้

ชะเอมไทย

ชะเอมไทย

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Albizia myriophylla Benth.
ชื่อวงศ์ : FABACEAE
ชื่ออื่น : ชะเอมป่า, ตาลอ้อย, ส้มป่อยหวาน, อ้อยช้าง, ย่านงาย

รูปลักษณะ : ชะเอมไทย เป็นไม้เถายืนต้น มีหนามตามลำต้นและกิ่งก้าน ใบประกอบแบบขนนกสองชั้น ยาว 10-15 ซม. โคนก้านใบป่องออก ใบย่อยรูปขอบขนานี่ ดอก ช่อ ออกที่ปลายกิ่ง ลักษณะเป็นพู่ กลีบดอกสีขาว กลิ่นหอม ผลเป็นฝัก สีเหลืองถึงน้ำตาล ตรงที่เป็นเมล็ดจะมีรอยนูนเห็นชัด

สรรพคุณของ ชะเอมไทย : ราก มีรสหวาน ใช้เป็นยาแก้ไอ กระหายน้ำ ยาระบาย ผล ขับเสมหะเนื้อไม้ มีรสหวาน แก้โรคในคอ แก้ไอขับเสมหะ การศึกษาทางเคมีพบว่า สารที่ให้ความหวาน เป็นน้ำตาลกลูโคสและซูโครส

ปีบ

ปีบ

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Indian Cork Tree, Millingtonia hortensis Linn. f.
ชื่อวงศ์ : BIGNONIACEAE
ชื่ออื่น : กาซะลอง, กาดสะลอง

รูปลักษณะ : ปีบ เป็นไม้ยืนต้น สูง 15-25 เมตร ใบประกอบแบบขนนก 2-3 ชั้น เรียงตรงข้าม ใบย่อยรูปไข่แกมใบหอก กว้าง 1.5-2.5 ซม. ยาว 3-5 ซม. ดอกช่อขนาดใหญ่ ออกที่ปลายกิ่ง กลีบดอกสีขาว เป็นหลอดยาว ปลายแยกเป็น 5 แฉก กลิ่นหอม ผลเป็นฝักแบน

สรรพคุณของ ปีบ : ดอกแห้ง ใช้มวนเป็นบุหรี่สูบแก้หืด ราก บำรุงปอด แก้หอบ พบว่าในดอกมีสาร Hispidulin ซึ่งระเหยได้ และมีฤทธิ์ขยายหลอดลม

พุทรา

พุทรา

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Zizyiphus mauritiana Lamk.
ชื่อวงศ์ : RHAMNACEAE
ชื่ออื่น : มะตัน

รูปลักษณะ : พุทรา เป็นไม้ยืนต้น สูง 5-10 เมตร ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปไข่แกมวงรี กว้าง 2-6 ซม. ยาว 3-8 ซม. ท้องใบจะมีขนสีน้ำตาลหรือขาว หลังใบสีเขียวเข้ม ดอกช่อ ออกเป็นกระจุกที่ซอกใบ กลีบดอกสีเขียวอ่อนหรือเหลืองอ่อน ผลเป็นผลสด รูปทรงกลม หรือรูปกระสวย เมื่อสุกสีเหลือง กินได้

สรรพคุณของ พุทรา : ผลแห้งหรือใบ ใช้ปิ้งไฟก่อนชงน้ำดื่ม แก้ไอ

มะกรูด

มะกรูด

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Leech Lime, Citrus hystrix DC.
ชื่อวงศ์ : RUTACEAE
ชื่ออื่น : มะขุน, มะขูด, ส้มกรูด

รูปลักษณะ : มะกรูด เป็นไม้ยืนต้น สูง 2-8 เมตร ใบและดอกคล้ายมะนาว ใบ รูปค่อนข้างกลม กว้าง 2.5-5 ซม. ยาว 3-8 ซม. ก้านใบมีครีบขนาดใหญ่เท่าตัวใบ ผลเป็นผลสด รูปร่างค่อนข้างกลม ผิวขรุขระ

สรรพคุณของ มะกรูด : น้ำมะกรูด ใช้เป็นยาแก้ไอ แก้โรคเลือดออกตามไรฟัน ใช้สระผมกันรังแคผิวมะกรูด ใช้เป็นยาขับลม แก้ปวดท้อง

มะขาม

มะขาม

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Tamarind, Tamarindus indica Linn.
ชื่อวงศ์ : FABACEAE

รูปลักษณะ : มะขาม เป็นไม้ยืนต้น สูง 15-25 เมตร ใบประกอบแบบขนนก เรียงสลับ ใบย่อยรูปขอบขนาน กว้าง 5-8 ซม. ยาว 1-1.5 ซม. ดอกช่อ ออกที่ซอกใบและปลายกิ่ง กลีบดอกสีเหลือง มีลายสีม่วงแดง ผลเป็นฝัก มีเนื้อหุ้มเมล็ด สีน้ำตาล ฉ่ำน้ำ

สรรพคุณของ มะขาม : มะขามเปียก ใช้เป็นยาถ่าย และยาแก้ไอกัดเสมหะที่เหนียวข้น เนื่องจากมีกรดอินทรีย์ เช่น กรด Trataric และกรด Citric เปลือกต้น เป็นยาสมานคุมธาตุ เนื้อในเมล็ด ใช้เป็นยาฆ่าพยาธิไส้เดือน ใบและยอดอ่อน มีรสเปรี้ยว ใช้ในการอาบ อบสมุนไพร

มะขามป้อม

มะขามป้อม

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Emblic Myrobalan, Malacca Tree, Phyllanthus emblica Linn.
ชื่อวงศ์ : EUPHORBIACEAE
ชื่ออื่น : กำทวด

รูปลักษณะ : มะขามป้อม เป็นไม้ยืนต้น สูง 8-20 เมตร ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปขอบขนาน กว้าง 0.25-0.5 ซม. ยาว 0.8-1.2 ซม. ดอกช่อ ออกเป็นกระจุกที่ซอกใบ แยกเพศ อยู่บนต้นเดียวกัน ดอกย่อยสีนวล ผลเป็นผลสด รูปกลม ผิวเรียบ มีเส้นพาดตามยาว 6 เส้น เมล็ด กลม สีเขียวเข้ม

สรรพคุณของ มะขามป้อม : เนื้อผลแห้งหรือสด รับประทานขับเสมหะ ทำให้ชุ่มคอ ผลแห้งต้มกินแก้ไข้ น้ำคั้นผลสดแก้ท้องเสีย ขับปัสสาวะ มีวิตามินซีใช้แก้โรคเลือดออกตามไรฟัน

มะดัน

มะดัน

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Garcinia schomburgkiana Pierre
ชื่อวงศ์ : CLUSIACEAE

รูปลักษณะ : มะดัน เป็นไม้ยืนต้น สูง 3-7 เมตร ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปขอบขนาน รูปใบหอก หรือรูปไข่แกมขอบขนาน กว้าง 2-3 ซม. ยาว 5-8 ซม. ดอกช่อ ออกเป็นกระจุกที่ซอกใบ แยกเพศอยู่บนต้นเดียวกัน กลีบดอกสีเหลืองส้ม ผลเป็นผลสด รูปกระสวย รสเปรี้ยวจัด

สรรพคุณของ มะดัน : ใบและเนื้อผล ใช้ทำยาดอกเปรี้ยวเค็ม เป็นยาแก้ไอ ฟอกเสมหะ แก้ประจำเดือนผิดปกติ ผล ดองน้ำเกลือกิน แก้น้ำลายเหนียว เป็นเมือกในคอ

มะนาว

มะนาว

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Lime, Citrus aurantifolia (Christm. et Panz.) Swing.
ชื่อวงศ์ : RUTACEAE
ชื่ออื่น : ส้มมะนาว

รูปลักษณะ : มะนาว เป็นไม้พุ่ม สูง 2-4 เมตร กิ่งอ่อนมีหนาม ใบประกอบชนิดมีใบย่อยใบเดียว เรียงสลับ รูปไข่ รูปวงรีหรือรูปไข่แกมขอบขนาน กว้าง 3-5 ซม. ยาว 4-8 ซม. เนื้อใบมีจุดน้ำมันกระจาย ก้านใบมีครีบเล็กๆ ดอกเดี่ยวหรือช่อ ออกที่ปลายกิ่งและที่ซอกใบ กลีบดอกสีขาว กลิ่นหอม ร่วงง่าย ผลเป็นผลสด กลมเกลี้ยง ฉ่ำน้ำ

สรรพคุณของ มะนาว : น้ำมะนาวและผลดองแห้ง รับประทานเป็นยาแก้ไอขับเสมหะ น้ำมะนาวเป็นกระสายยาสำหรับสมุนไพรที่ใช้ขับเสมหะอื่นๆ เช่น ดีปลี นอกจากนี้ยังใช้แก้โรคเลือดออกตามไรฟัน เพราะมีวิตามินซี

มะแว้งต้น

มะแว้งต้น

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Solanum sanitwongsei Craib
ชื่อวงศ์ : SOLANACEAE

รูปลักษณะ : มะแว้งต้น เป็นไม้พุ่ม สูง 1-1.5 เมตร ลำต้นมีขนนุ่ม ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปไข่หรือรูปขอบขนาน กว้าง 4-10 ซม. ยาว 6-12 ซม. ขอบใบเว้า ผิวใบมีขนนุ่มทั้งสองด้าน ดอกช่อ ออกตามกิ่งหรือที่ซอกใบ กลีบดอกสีม่วง ผลเป็นผลสด รูปกลม ผลดิบ สีเขียวอ่อน ไม่มีลาย เมื่อสุกสีส้ม

สรรพคุณของ มะแว้งต้น : ผล ใช้แก้ไอขับบเสมหะ รักษาเบาหวาน ขับปัสสาวะ พบสเตอรอยด์ปริมาณค่อนข้างสูง จึงไม่ควรใช้ติดต่อกันเป็นเวลานาน มะแว้งต้นเป็นส่วนผสมหลักในยาประสะมะแว้ง ซึ่งองค์การเภสัชกรรมผลิตขึ้นตามตำรับยาสามัญประจำบ้านแผนโบราณ

มะแว้งเครือ

มะแว้งเครือ

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Solanum trilobatum Linn.
ชื่อวงศ์ : SOLANACEAE
ชื่ออื่น : แขว้งเครือ

รูปลักษณะ : มะแว้งเครือ เป็นไม้เลื้อย มีหนามตามกิ่งก้าน ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปไข่ กว้าง 4-5 ซม. ยาว 5-8 ซม. ขอบใบเว้า มีหนามตามเส้นใบ ดอกช่อ ออกที่ปลายกิ่งและซอกใบ กลีบดอกสีม่วง ผลเป็นผลสด รูปกลม ผลดิบสีเขียวมีลายตามยาว เมื่อสุกสีแดง

สรรพคุณของ มะแว้งเครือ : ผล ใช้แก้ไอขับเสมหะ โดยใช้ขนาด 4-10 ผล โขลกพอแหลก คั้นเอาน้ำใส่เกลือเล็กน้อย จิบบ่อยๆ หรือเคี้ยวกลืนเฉพาะน้ำจนหมดรสขมเฝื่อน มะแว้งเครือเป็นส่วนผสมหลักในยาประสะมะแว้งเช่นกัน นอกจากนี้ ใช้ขับปัสสาวะแก้ไข้และเป็นยาขมเจริญอาหาร

ว่านกาบหอยใหญ่

ว่านกาบหอยใหญ่

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Tradescantia spathacea Swartz (Rhoeo discolor (L'Herit.) Hance)
ชื่อวงศ์ : COMMELINACEAE

รูปลักษณะ : ว่านกาบหอยใหญ่ เป็นไม้ล้มลุก สูง 30-60 ซม. ใบเดี่ยว ออกเป็นกระจุกเหนือดิน กว้าง 3-5 ซม. ยาว 15-45 ซม. หลังใบสีเขียวเข้ม ท้องใบสีม่วงแดง ดอกช่อ ออกที่ซอกใบ ใบประดับขนาดใหญ่คล้ายรูปเรือ กลีบดอกสีขาว ผลแห้ง แตกได้ รูปกระสวย

สรรพคุณของ ว่านกาบหอยใหญ่ : ใบสด ใช้ต้มกับน้ำ เอาน้ำดื่มแก้ไอ เจ็บคอ และกระหายน้ำ

สำรอง

สำรอง

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Scaphium macropodum Beaum.
ชื่อวงศ์ : STERCULIACEAE
ชื่ออื่น : พุงทะลาย

รูปลักษณะ : สำรอง เป็นไม้ยืนต้น สูง ประมาณ 4-5 เมตร ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปไข่แกมขอบขนานหรือรูปไข่แกมใบหอก กว้าง 10-12 ซม. ยาว 15-25 ซม. ดอกช่อ ออกที่ปลายกิ่ง แยกเพศ กลีบดอกสีเขียวอ่อน มีขนสีแดงที่กลีบเลี้ยง ผลแห้ง มีลักษณะแผ่เป็นแผ่นขนาดใหญ่ แตกขณะยังอ่อนอยู่ ทำให้มีลักษณะเหมือนเรือ มีเมล็ดรูปรี สีน้ำตาล เปลือกหุ้มเมล็ดชั้นนอกมีสารเมือกจำนวนมาก ซึ่งจะพองตัวในน้ำ มีลักษณะคล้ายวุ้น

สรรพคุณของ สำรอง : เนื้อผลที่พองตัว ใช้เป็นยาแก้ไอ แก้ร้อนใน

ส้มป่อย

ส้มป่อย

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Acacia concinna (Willd.) DC.
ชื่อวงศ์ : FABACEAE
ชื่ออื่น : ส้มขอน

รูปลักษณะ : ส้มป่อย เป็นไม้พุ่มรอเลื้อย มีหนามตามลำต้น กิ่ง ก้านและใบ ใบประกอบแบบขนนกสองชั้น เรียงสลับ ยาว 7-20 ซม. ใบย่อยรูปขอบขนาน ขนาดเล็ก ดอกช่อ ออกที่ซอกใบ เป็นช่อกลม กลีบดอกเป็นหลอด สีนวล ผลเป็นฝัก สีน้ำตาลดำ ผิวย่นขรุขระ ขอบมักเป็นคลื่น

สรรพคุณของ ส้มป่อย : ฝัก มีสารออกฤทธิ์กลุ่มซาโปนินสูงถึง 20.8% ได้แก่ Acacinius A, B, C, D และ E ซึ่งถ้าตีกับน้ำจะเกิดฟองที่คงทนมาก ใช้สระผมแก้รังแค ต้มน้ำอาบหลังคลอด หรือชุบสำลีปิดแผลโรคผิวหนัง ฝักกินเป็นยาขับเสมหะ แก้น้ำลายเหนียว

ส้มเสี้ยว

ส้มเสี้ยว

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Bauhinia malabarica Roxb.
ชื่อวงศ์ : FABACEAE
ชื่ออื่น : คังโค, แดงโค, เสี้ยวส้ม, เสี้ยวใหญ่

รูปลักษณะ : ส้มเสี้ยว เป็นไม้ยืนต้น สูง 5-10 เมตร ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปไข่กว้าง แยกเป็นสองพู กว้างและยาว 10-15 ซม. ใบมีรสเปรี้ยว ดอกช่อ ออกที่ซอกใบใกล้ปลายกิ่ง กลีบดอกสีชมพูอ่อน ผลเป็นฝักรูปดาบ

สรรพคุณของ ส้มเสี้ยว : รากและลำต้น ใช้แก้ไอ ขับเสมหะ ดอก แก้เสมหะพิการ ใบ มีรสเปรี้ยวฝาด ใช้แก้ไอและฟอกโลหิต

หนุมานประสานกาย

หนุมานประสานกาย

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Schefflera leucantha Vig.
ชื่อวงศ์ : ARALIACEAE

รูปลักษณะ : หนุมานประสานกาย เป็นไม้พุ่มแกมเถา สูง 1-4 เมตร ใบประกอบแบบนิ้วมือ เรียงสลับ ใบย่อยรูปวงรี หรือรูปใบหอก กว้าง 1.5-3 ซม. ยาว 5-8 ซม. ดอกช่อ ออกที่ปลายกิ่ง กลีบดอกสีนวล ผลเป็นผลสด รูปกลม

สรรพคุณของ หนุมานประสานกาย : ใบสด ใช้แก้ไอ และแก้อาเจียนเป็นเลือด ใช้ตำพอกแผลเพื่อห้ามเลือด และสมานแผล พบว่าสารสกัดจากใบ มีสารซาโปนิน ซึ่งมีฤทธิ์ขยายหลอดลม

เพกา

เพกา

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Oroxylum indicum (Linn.) Kurz
ชื่อวงศ์ : BIGNONIACEAE
ชื่ออื่น : มะลิดไม้, มะลิ้นไม้, ลิดไม้, ลิ้นฟ้า

รูปลักษณะ : เพกา เป็นไม้ยืนต้น สูง 3-12 เมตร แตกกิ่งก้านเล็กน้อย ใบประกอบแบบขนนกสามชั้น ขนาดใหญ่ เรียงตรงข้าม รวมกันอยู่บริเวณปลายกิ่ง ใบย่อยรูปไข่แกมวงรี กว้าง 4-8 ซม. ยาว 6-12 ซม. ดอกช่อ ออกที่ปลายยอด ก้านช่อดอกยาว ดอกย่อยขนาดใหญ่กลีบดอกสีนวลแกมเขียวโคนกลีบเป็นหลอดสีม่วง หนาย่น บานกลางคืน ผลเป็นฝัก รูปดาบ เมื่อแก่จะแตก ภายในมีเมล็ดแบน สีขาว มีปีกบางโปร่งแสง

สรรพคุณของ เพกา : เมล็ด ใช้เป็นยาแก้ไอขับเสมหะ ยาระบาย ราก เป็นยาบำรุงธาตุ แก้ท้องร่วง



พืชสมุนไพร ประเภท สมุนไพรพิกัดไทย

กระชาย

กระชาย

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Boesenbergia rotunda (Linn.) Mansf.
ชื่อวงศ์ : ZINGIBERACEAE
ชื่ออื่น : กะแอน, ระแอน, ว่านพระอาทิตย์

รูปลักษณะ : กระชาย เป็นไม้ล้มลุก ไม่มีลำต้นบนดิน มีเหง้าใต้ดิน ซึ่งแตกรากออกไปเป็นกระจุกจำนวนมาก อวบน้ำ ตรงกลางพองกว้างกว่าส่วนหัวและท้าย ใบเดี่ยว เรียงสลับในระนาบเดียวกัน รูปขอบขนานแกมรูปไข่ กว้าง 4.5-10 ซม. ยาว 15-30 ซม. ตรงกลางด้านในของก้านใบมีรองลึก ดอกช่อ ออกแทรกอยู่ระหว่างกาบใบที่โคนต้น กลีบดอกสีขาวหรือชมพูอ่อน ใบประดับรูปใบหอก สีม่วงแดง ดอกย่อยบานครั้งละ 1 ดอก

สรรพคุณของ กระชาย : เหง้า ใช้แก้โรคในปาก ขับปัสสาวะ รักษาโรคบิด แก้ปวดมวนท้อง ขับระดูขาว

กระเพราแดง

กระเพราแดง

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Holy Basil, Ocimum tenuiflorum Linn. (O. sanctum Linn.)
ชื่อวงศ์ : LAMIACEAE
ชื่ออื่น : กอมก้อ, กอมก้อดง, กระเพราขาว, กระเพราขน

รูปลักษณะ : กระเพราแดง เป็นไม้ล้มลุก อายุหลายปี สูง 0.3-0.9 เมตร ทุกส่วนมีกลิ่นเฉพาะ ลำต้นสี่เหลี่ยม กิ่งอ่อนอาจมีสีม่วงแดงแกมเขียว ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปไข่หรือรูปวงรี กว้าง 2-3 ซม. ยาว 4-6 ซม. ขอบใบหยักฟันเลื่อยห่างๆ สีเขียวแกมม่วงแดง ดอกช่อ ออกที่ปลายยอด กลีบเลี้ยงและกลีบดอกต่างแยกเป็น 2 ปาก กลีบดอกสีชมพูแกมม่วง ใบประดับสีเขียวแกมม่วง ผลแห้ง มี 4 ผลย่อย

สรรพคุณของ กระเพราแดง : ใบหรือทั้งต้น เป็นยาขับลมแก้ปวดท้อง ท้องเสีย และคลื่นไส้อาเจียน โดยใช้ยอดสด 1 กำมือ ต้มพอเดือด ดื่มเฉพาะส่วนน้ำ พบว่าฤทธิ์ขับลม เกิดจากน้ำมันหอมระเหย และสาร Eugenol มีฤทธิ์ขับน้ำดี ช่วยย่อยไขมันและลดอาการจุกเสียด

ขิง

ขิง

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Ginger, Zingiber officinale Rosc.
ชื่อวงศ์ : ZINGIBERACEAE
ชื่ออื่น : ขิงแกลง, ขิงแดง, ขิงเผือก

รูปลักษณะ : ขิง เป็นไม้ล้มลุก สูง 0.3-1 เมตร มีเหง้าใต้ดิน เปลือกนอกสีน้ำตาลแกมเหลือง เนื้อในสีนวลมีกลิ่นเฉพาะ แทงหน่อหรือลำต้นเทียมขึ้นมาจากดิน ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปขอบขนาน แกมใบหอก กว้าง 1.5-2 ซม. ยาว 15-20 ซม. ดอกช่อ แทงออกจากเหง้า กลีบดอกสีเหลืองแกมเขียว ใบประดับสีเขียวอ่อน ผลแห้ง มี 3 พู

สรรพคุณของ ขิง : เหง้าแก่ทั้งสดและแห้ง ตำรายาไทยใช้เป็นยาขับลม ช่วยให้เจริญอาหาร แก้อาเจียน แก้ไอ ขับเสมหะและขับเหงื่อ โดยใช้เหง้าสดขนาดนิ้วหัวแม่มือต้มกับน้ำ ผงขิงแห้ง ชงน้ำดื่ม จากการทดลองกับอาสาสมัคร 36 คน พบว่าผงขิง ป้องกันการเมารถ เมาเรือ ได้ดีกว่ายาแผนปัจจุบัน (Dimenhydrinate) ในเหง้ามีน้ำมันหอมระเหย ประกอบด้วย Menthol, Borneol, Fenchone, 6-Shogaol และ 6-Gingerol Menthol มีฤทธิ์ขับลม Borneol, Fenchone และ 6-Gingerol มีฤทธิ์ขับน้ำดี ช่วยย่อยไขมัน นอกจากนี้พบว่า สารที่มีรสเผ็ด ได้แก่ 6-Shogaol และ 6-Gingrol ลดการบีบตัวของลำไส้ จึงช่วยบรรเทาอาการปวดท้องเกร็ง

ข่า

ข่า

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Alpinia nigra (Gaertn.) B. L. Burtt
ชื่อวงศ์ : ZINGIBERACEAE
ชื่ออื่น : ข่าหยวก, ข่าหลวง

รูปลักษณะ : ข่า เป็นไม้ล้มลุก สูง 1.5-2 เมตร เหง้ามีข้อและปล้องชัดเจน ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปใบหอก รูปวงรีหรือเกือบขอบขนาน กว้าง 7-9 ซม. ยาว 20-40 ซม. ดอกช่อ ออกที่ยอด ดอกย่อยขนาดเล็ก กลีบดอกสีขาว โคนติดกันเป็นหลอดสั้นๆ ปลายแยกเป็น 3 กลีบ กลีบใหญ่ที่สุดมีริ้วสีแดง ใบประดับรูปไข่ ผลแห้ง แตกได้ รูปกลม

สรรพคุณของ ข่า : เหง้าสด ตำผสมกับเหล้าโรง ใช้ทารักษาโรคผิวหนังที่เกิดจากเชื้อรา เช่น กลาก เกลื้อน สารที่ออกฤทธิ์คือน้ำมันหอมระเหย และ 1'-Acetoxychavicol Acetate เหง้าอ่อน ต้มเอาน้ำดื่ม บรรเทาอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ และขับลม ข่าไม่มีฤทธิ์ก่อกลายพันธุ์และไม่เป็นพิษ

คนทา

คนทา

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Harrisonia perforata (Blanco) Merr.
ชื่อวงศ์ : SIMAROUBACEAE
ชื่ออื่น : กะลันทา, สีฟ้น, สีฟันคนตาย, สีฟันคนทา, จี้, จี้หนาม, สีเตาะ, หนามจี้

รูปลักษณะ : คนทา เป็นไม้พุ่มแกมเถา กิ่งก้านมีหนาม ยอดอ่อนมีสีแดง ใบประกอบ แบบขนนกเรียงสลับ มีครีบที่ก้านและแกนใบ ใบย่อยรูปวงรีหรือรูปไข่ กว้าง 1-1.5 ซม. ยาว 2-2.5 ซม. ขอบใบหยัก ดอกช่อ ออกเป็นกระจุกที่ซอกใบใกล้ปลายกิ่ง กลีบดอกด้านนอกสีแดงแกมม่วง ด้านในสีนวล ผล เป็นผลสด ค่อนข้างกลม ใบ ผล และราก มีรสขม

สรรพคุณของ คนทา : ราก ใช้เป็นยาแก้ไข้ทุกชนิด

ชิงชี่

ชิงชี่

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Capparis micracantha DC.
ชื่อวงศ์ : CAPPARACEAE
ชื่ออื่น : กระดาดขาว, กระโรกใหญ่, จิงโจ, พญาจอม, ปลวก, แสมซอ, กระดาดป่า, ค้อนฆ้อง, ชายชู้, หมากมก, ซิซอ, พวงมาระดอ, เม็งซอ, ราม, แส้ม้าทลาย

รูปลักษณะ : ชิงชี่ เป็นไม้พุ่มหรือไม้ยืนต้นขนาดเล็ก สูง 1-6 เมตร มีหนามที่กิ่งก้าน ใบเดี่ยว รูปขอบขนาน รูปวงรีหรือรูปไข่ กว้าง 4-10 ซม. ยาว 8-24 ซม. ดอกช่อ ออกที่ซอกใบหรือกิ่งก้านใกล้ซอกใบ กลีบดอกสีขาว มีแต้มสีเหลือง เมื่อแรกบาน และเปลี่ยนเป็นแต้มม่วงแกมน้ำตาล ผลเป็นผลสด รูปกระสวย กลมหรือทรงกระบอก เมื่อสุกสีแดง

สรรพคุณของ ชิงชี่ : ราก ใช้เป็นยาขับลม รักษามะเร็ง (แผลเรื้อรัง เน่า ลุกลาม รักษายาก) ต้น ตำพอก แก้ฟกบวม ใบ เข้ายาอาบและกิน รักษาโรคผิวหนัง ผื่นคัน เป็นเม็ดขึ้นคล้ายผด มักมีไข้ร่วมด้วย

ดีปลี

ดีปลี

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Long Pepper, Piper retrofractum Vahl
ชื่อวงศ์ : PIPERACEAE

รูปลักษณะ : ดีปลี เป็นไม้เถา รากฝอยออกบริเวณข้อ เพื่อใช้ยึดเกาะ ใบเดี่ยว รูปไข่แกมขอบขนาน กว้าง 3-5 ซม. ยาว 7-10 ซม. สีเขียวเข้มเป็นมัน ดอกช่อ ออกที่ซอกใบ ดอกย่อยอัดกันแน่น แยกเพศ ผลสด มีสีเขียว เมื่อสุกจะเปลี่ยนเป็นสีแดง รสเผ็ดร้อน

สรรพคุณของ ดีปลี : ผลแก่จัดแต่ยังไม่สุกตากแห้ง ใช้เป็นยาขับลม บำรุงธาตุ แก้ท้องเสีย ขับรกหลังคลอด โดยใช้ผล 1 กำมือ (ประมาณ 10-15 ผล) ต้มเอาน้ำดื่ม นอกจากนี้ใช้เป็นยาแก้ไอ โดยเอาผลแห้งครึ่งผล ฝนกับมะนาวแทรกเกลือ ใช้กวาดคอหรือจิบบ่อยๆ มีฤทธิ์ขับลมและแก้ไอ เกิดจากน้ำมันหอมระเหยและแอลคาลอยด์ Piperine ควรระวังการใช้ในสตรีมีครรภ์

นมสวรรค์

นมสวรรค์

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Clerodendrum paniculatum Linn.
ชื่อวงศ์ : VERBENACEAE
ชื่ออื่น : ฉัตรฟ้า, สาวสวรรค์, พวงพีเหลือง, หังลิง, พนมสวรรค์

รูปลักษณะ : นมสวรรค์ เป็นไม้พุ่ม ลำต้นตั้งตรง สูงได้ถึง 3 เมตร ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปไข่ กว้าง 7-38 ซม. ยาว 4-40 ซม. ขอบใบหยักเว้า ลึก 3-7 แฉก ดอกช่อขนาดใหญ่ ออกที่ปลายกิ่ง กลีบเลี้ยงรูประฆังสีส้มแดง กลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นหลอดยาว สีส้มแดง ผล เป็นผลสด รูปทรงกลม สีน้ำเงินแกมเขียวหรือดำ

สรรพคุณของ นมสวรรค์ : ดอก แก้พิษสัตว์กัดต่อยและพิษที่เกิดจากการติดเชื้อ แก้ตกเลือด รากขับลม แก้วัณโรค แก้ไข้มาลาเรีย แก้อาการไข้ที่ถ่ายเหลว อาเจียนเป็นเลือด และมีผื่นขึ้นที่ผิวหนัง ต้นแก้อักเสบเนื่องจากตะขาบ และแมลงป่องต่อย แก้พิษฝีผักบัว

พริกไทย

พริกไทย

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Pepper, Piper nigrum Linn.
ชื่อวงศ์ : PIPERACEAE
ชื่ออื่น : พริกน้อย

รูปลักษณะ : พริกไทย เป็นไม้เถาเนื้อแข็ง รากฝอยออกบริเวณข้อ เพื่อใช้ยึดเกาะข้อโป่งนูน ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปไข่ กว้าง 5-8 ซม. ยาว 8-11 ซม. ดอกช่อ ออกที่ซอกใบ ดอกย่อยสมบูรณืเพศ สีขาวแกมเขียว ผลสด กลม จัดเรียงตัวแน่นอยู่บนแก้ม ผลอ่อนสีเขียว เมื่อสุกมีสีแดง

สรรพคุณของ พริกไทย : พริกไทยเป็นเครื่องเทศ ใช้แต่งกลิ่นรสและช่วยถนอมอาหาร ผล ใช้เป็นยาขับลม แก้อาการท้องอืดเฟ้อ บำรุงธาตุ เจริญอาหาร ขับเหงื่อ ขับปัสสาวะและกระตุ้นประสาท พบว่าผลมีน้ำมันหอมระเหยและแอลคาลอยด์ Piperine พริกไทยที่มีขายในท้องตลาดมี 2 ชนิด คือ พริกไทยดำ เป็นผลแก่แต่ยังไม่สุก นำมาตากแห้ง และ พริกไทยล่อน ได้จากผลสุกที่นำมาแช่น้ำ เพื่อลอกเปลือกชั้นนอกออก แล้วจึงตากให้แห้ง

มะขามป้อม

มะขามป้อม

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Emblic Myrobalan, Malacca Tree, Phyllanthus emblica Linn.
ชื่อวงศ์ : EUPHORBIACEAE
ชื่ออื่น : กำทวด

รูปลักษณะ : มะขามป้อม เป็นไม้ยืนต้น สูง 8-20 เมตร ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปขอบขนาน กว้าง 0.25-0.5 ซม. ยาว 0.8-1.2 ซม. ดอกช่อ ออกเป็นกระจุกที่ซอกใบ แยกเพศ อยู่บนต้นเดียวกัน ดอกย่อยสีนวล ผลเป็นผลสด รูปกลม ผิวเรียบ มีเส้นพาดตามยาว 6 เส้น เมล้ด กลม สีเขียวเข้ม

สรรพคุณของ มะขามป้อม : เนื้อผลแห้งหรือสด รับประทานขับเสมหะ ทำให้ชุ่มคอ ผลแห้งต้มกินแก้ไข้ น้ำคั้นผลสดแก้ท้องเสีย ขับปัสสาวะ มีวิตามินซีใช้แก้โรคเลือดออกตามไรฟัน

มะเดื่ออุทุมพร

มะเดื่ออุทุมพร

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Ficus racemosa Linn.
ชื่อวงศ์ : MORACEAE
ชื่ออื่น : เดื่อเกลี้ยง, เดื่อน้ำ, มะเดื่อ, มะเดื่อชุมพร

รูปลักษณะ : มะเดื่ออุทุมพร เป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ สูงได้ถึง 30 เมตร มีน้ำยางขาว กิ่งอ่อนและผล มีขนละเอียดสีขาว ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปวงรี รูปไข่ รูปขอบขนานหรือรูปใบหอก กว้าง 3.5-8.5 ซม. ยาว 6-19 ซม. ดอกช่อ เกิดภายในฐานรองดอก ที่มีรูปร่างคล้ายผล ออกที่ลำต้นและกิ่ง แยกเพศอยู่ในช่อเดียวกัน ผล เป็นผลสด รูปไข่แกมสามเหลี่ยม เมื่อสุกสีแดงแกมชมพู

สรรพคุณของ มะเดื่ออุทุมพร : ราก ใช้แก้ไข้พิษ แก้ร้อนใน เปลือกต้น มีรสฝาด แก้อาการท้องเสียที่ไม่ใช่บิด หรืออหิวาตกโรค แก้อาเจียน ห้ามเลือด ชำระแผล

ย่านาง

ย่านาง

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Tiliacora trianda Diels.
ชื่อวงศ์ : MENISPERMACEAE

รูปลักษณะ : ย่านาง เป็นไม้เถา ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปไข่แกมใบหอก กว้าง 2-4 ซม. ยาว 5-12 ซม. ดอกช่อ ออกตามเถาและที่ซอกใบ แยกเพศ อยู่คนละต้น ไม่มีกลีบดอก ผลเป็นผลกลุ่ม ผลย่อย รูปวงรี

สรรพคุณของ ย่านาง : ราก ต้มกับน้ำดื่ม แก้ไข้ทุกชนิด

ว่านน้ำ

ว่านน้ำ

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Calamus, Myrtle Grass, Acorus calamus Linn.
ชื่อวงศ์ : ARACEAE
ชื่ออื่น : ผมผา, ส้มชื่น, ฮางคาวน้ำ, ฮางคาวบ้าน, ฮางคาวผา

รูปลักษณะ : ว่านน้ำ เป็นไม้ล้มลุก สูงประมาณ 1 เมตร พบขึ้นในที่มีน้ำท่วมขังหรือริมน้ำ ลำต้นอยู่ใต้ดิน เป็นเหง้าเลื้อยในแนวขนานกับพื้น ใบเดี่ยว เรียงสลับ กว้าง 1-2 ซม. ยาว 80-110 ซม. ผิวใบเรียบเป็นมัน ดอกช่อ แทงออกจากเหง้า สีเขียวรูปทรงกระบอก ยาว 3-5 ซม. ประกอบด้วยดอกย่อยเรียงตัวอัดแน่น ก้านช่อและใบประดับ ลักษณะคล้ายใบ ผลเป็นผลสด

สรรพคุณของ ว่านน้ำ : เหง้า ใช้แก้ปวดท้อง ขับลม ขับเสมหะ ในกรณีผู้ป่วยกินสารพิษ และต้องการขับสารพิษออกจากทางเดินอาหาร ให้กินมากกว่าครั้งละ 2 กรัม จะทำให้อาเจียน พบว่าน้ำมันหอมระเหยในเหง้า และราก ซึ่งมีกลิ่นเฉพาะ และสาร 2-Asarone ซึ่งมีฤทธิ์ลดความดันโลหิต แต่มีรายงานว่า เป็นพิษต่อตับและทำให้เกิดมะเร็ง จึงควรศึกษาความเป็นพิษเพิ่มเติม

สมอพิเภก

สมอพิเภก

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Beleric Myrobalan, Terminalia bellirica (Gaertn.) Roxb.
ชื่อวงศ์ : COMBRETACEAE
ชื่ออื่น : ลัน, สมอแหน, แหน, แหนขาว, แหนต้น

รูปลักษณะ : สมอพิเภก เป็นไม้ยืนต้น สูง 25-50 เมตร ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปไข่กลับแกมวงรี กว้าง 5-10 ซม. ยาว 10-20 ซม. ดอกช่อ ออกที่ซอกใบ ขนาดเล็ก เป็นดอกสมบูรณ์เพศ และดอกตัวผู้อยู่บนต้นเดียวกัน กลีบสีเหลือง ผลเป็นผลสด ค่อนข้างกลม มีสัน 5 สัน

สรรพคุณของ สมอพิเภก : ผลดิบ ใช้เป็นยาระบาย ขับเสมหะ ผลดิบ มีฤทธิ์ฝาดสมาน แก้ท้องเสีย

สมอไทย

สมอไทย

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Myrobalan Wood, Terminalia chebula Retz.
ชื่อวงศ์ : COMBRETACEAE
ชื่ออื่น : สมออัพยา

รูปลักษณะ : สมอไทย เป็นไม้ยืนต้น สูง 20-35 เมตร เปลือกต้นขรุขระ ใบเดี่ยว เรียงตรงข้ามหรือเกือบตรงข้าม รูปวงรี กว้าง 6-10 ซม. ยาว 8-15 ซม. ดอกช่อ ออกที่ซอกใบหรือปลายยอด เป็นดอกสมบูรณ์เพศ กลีบสีเหลือง ผลเป็นผลสด รูปวงรี มีสัน 5 สัน

สรรพคุณของ สมอไทย : ผลแก่ดิบ ใช้เป็นยาระบาย ขับเสมหะ แก้บิด แก้ไข้

เจตมูลเพลิงแดง

เจตมูลเพลิงแดง

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Rose-colored Leadwort, Plumbago indica Linn.
ชื่อวงศ์ : PLUMBAGINACEAE
ชื่ออื่น : ปิดปิวแดง, ไฟใต้ดิน

รูปลักษณะ : เจตมูลเพลิงแดง เป็นไม้พุ่ม สูง 0.8-1.5 เมตร ลำต้นกลมเรียบ มีสีแดงบริเวณข้อ ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปไข่แกมวงรี กว้าง 3-5 ซม. ยาว 6-10 ซม. ดอกช่อ ออกที่ปลายกิ่ง กลีบเลี้ยงมีต่อม ซึ่งเมื่อจับจะรู้สึกเหนียว กลีบดอกสีแดง ผลแห้ง แตกได้

สรรพคุณของ เจตมูลเพลิงแดง : รากแห้ง ใช้ขับประจำเดือน กระจายลม บำรุงธาตุ รักษาโรคริดสีดวงทวาร พบว่ามีสาร Plumbagin ซึ่งมีฤทธิ์กระตุ้นการบีบตัวของมดลูกและลำไส้ ช่วยให้มีการหลั่งน้ำย่อยเพิ่มขึ้น เพิ่มความอยากอาหาร แต่ควรระวังในการใช้ เนื่องจาก Plumbagin ระคายเคืองต่อทางเดินอาหาร และอาจเป็นพิษได้

เท้ายายม่อม

เท้ายายม่อม

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Clerodendrum petasites S. Moore
ชื่อวงศ์ : VERBENACEAE
ชื่ออื่น : กาซะลอง, จรดพระธรณี, ดอกคาน, ปิ้งขม, ปิ้งหลวง, พญารากเดียว, พญาเล็งจ้อน, เล็งจ้อนใต้, พมพี, พินพี่, ไม้เท้าฤาษี, หญ้าลิ้นจ้อน

รูปลักษณะ : เท้ายายม่อม เป็นไม้พุ่มขนาดเล็ก สูง 1-2.5 เมตร ลำต้นตรง บริเวณปลายกิ่งเป็นสันสี่เหลี่ยม ใบเดี่ยว เรียงตรงข้ามหรือรอบข้อๆ ละ 3-5 ใบ รูปวงรีแกมขอบขนาน หรือรูปขอบขนานแกมใบหอกกลับ กว้าง 1.5-2.5 ซม. ยาว 12-18 ซม. ดอกช่อ แยกแขนง ออกที่ปลายกิ่ง กลีบดอกสีขาว เชื่อมติดกันเป็นหลอดยาว ผล เป็นผลสด รูปทรงกลม เมื่อสุกสีดำ มีกลีบเลี้ยงสีแดงติดอยู่

สรรพคุณของ เท้ายายม่อม : ราก ใช้เป็นยาขับเสมหะลงเบื้องต่ำ ขับพิษไข้ แก้ร้อนใน กระหายน้ำ แก้อาเจียน หืดไอ และตำพอกแก้พิษฝี



พืชสมุนไพร ประเภท สมุนไพรแก้มะเร็ง

กระเบา

กระเบา

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Chaulmoogra, Hydnoccarpus anthelminthicus Pierre
ชื่อวงศ์ : FLACOURTIACEAE
ชื่ออื่น : กระเบาน้ำ, กระเบาเบ้าแข็ง, กระเบาใหญ่, กาหลง, เบา

รูปลักษณะ : กระเบา เป็นไม้ยืนต้น สูง 10-20 เมตร ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปขอบขนาน กว้าง 3-6 ซม. ยาว 10-12 ซม. ดอกเดี่ยวหรือช่อสั้นๆ ออกที่ซอกใบ แยกเพศอยู่คนละต้น ต้นตัวเมียเรียกว่า กระเบาต้นตัวผู้ เรียกว่าแก้วกาหลง กลีบดอกสีม่วงแดงจางๆ ผลเป็นผลสด รูปกลม เปลือกหนา มีขนกำมะหยี่สีน้ำตาล มีเมล็ดจำนวนมาก

สรรพคุณของ กระเบา : เมล็ด ใช้น้ำมันที่บีบจากเมล็ด รักษาโรคเรื้อน และโรคผิวหนังอื่นๆ มีรายงานวิจัยว่าน้ำมันที่บีบจากเมล็ดโดยไม่ใช้ความร้อน มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อโรคเรื้อนและวัณโรค

ข่อย

ข่อย

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Siamese Rough Bush, Tooth Brush Tree, Streblus aspera Lour.
ชื่อวงศ์ : MORACEAE
ชื่ออื่น : กักไม้ฝอย, ส้มพอ

รูปลักษณะ : ข่อย เป็นไม้ยืนต้น มีน้ำยางขาว สูง 5-15 เมตร ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปไข่แกมขอบขนาน รูปวงรี หรือรูปไข่กลับ กว้าง 2-4 ซม. ยาว 4-8 ซม. ผิวใบสากคาย ดอกช่อ ออกที่ซอกใบ แยกเพศอยู่คนละต้น ช่อดอกตัวผู้เป็นช่อกลม ช่อดอกตัวเมียออกเป็นกระจุกมี 2-4 ดอกย่อย กลีบดอกสีเหลือง ผลสด รูปไข่ เมื่อสุกสีเหลือง

สรรพคุณของ ข่อย : เปลือกต้น แก้โรคผิวหนัง รักษาแผล หุงเป็นน้ำมันทารักษาริดสีดวงทวาร รักษารำมะนาด แก้ท้องร่วง เมล็ด ผสมกับหัวแห้วหมู เปลือกทิ้งถ่อน เปลือกตะโกนา ผลพริกไทยแห้งและเถาบอระเพ็ด ดองเหล้าหรือต้มน้ำดื่ม เป็นยาอายุวัฒนะ

ทองพันชั่ง

ทองพันชั่ง

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Rhinacanthus nasutus (Linn.) Kurz.
ชื่อวงศ์ : ACANTHACEAE
ชื่ออื่น : ทองคันชั่ง, หญ้ามันไก่

รูปลักษณะ : ทองพันชั่ง เป็นไม้พุ่ม สูง 1-2 เมตร กิ่งอ่อนมักเป็นสันสี่เหลี่ยม ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปไข่หรือรูปวงรี กว้าง 2-4 ซม. ยาว 4-8 ซม. ดอกช่อ ออกที่ซอกใบ กลีบดอกสีขาว โคนกลีบติดกันเป็นหลอด ปลายแยกเป็น 2 ปาก ปากล่างมีจุดสีม่วงแดง ผลแห้ง แตกได้

สรรพคุณของ ทองพันชั่ง : ใบสด, ราก ใช้ใบสดและรากโขลกละเอียด แช่เหล้าโรง 1 สัปดาห์ เอาน้ำเหล้าทาแก้กลากเกลื้อน สารสำคัญ คือ Rhinacanthin และ Oxymethylanthraquinone

พญาสัตบรรณ

พญาสัตบรรณ

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Blackboard Tree, Devil Tree, Alstonia scholaris (Linn.) R. Br.
ชื่อวงศ์ : APOCYNACEAE
ชื่ออื่น : สัตบรรณ, ตีนเป็ด, ตีนเป็ดขาว, ชบา, ยางขาว, หัสบรรณ

รูปลักษณะ : พญาสัตบรรณ เป็นไม้ยืนต้น สูงถึง 30 เมตร เปลือกต้นสีเทา มียางขาวมาก กิ่งแตกออกรอบข้อ ใบเดี่ยว เรียงรอบข้อๆ ละ 6-9 ใบ รูปขอบขนานแกมใบหอกกลับหรือรูปไข่กลับ กว้าง 2-6 ซม. ยาว 5-18 ซม. ปลายทู่กลม หรือเว้าเล็กน้อย ดอกช่อ ออกเป็นกระจุกที่ปลายกิ่ง กลีบดอกสีขาว แกมเหลือง ผลเป็นฝักออกเป็นคู่ รูปกลมยาว

สรรพคุณของ พญาสัตบรรณ : เปลือกต้น ใช้แก้ไข้หวัด หลอดลมอักเสบ แก้บิด สมานลำไส้ การทดลองในสัตว์พบว่า สารสกัดจากเปลือกต้น มีฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือด รักษาแผลเรื้อรัง และต้านเชื้อแบคทีเรียบางชนิด

ราชดัด

ราชดัด

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Brucea javanica (Linn.) Merr.
ชื่อวงศ์ : SIMAROUBACEAE
ชื่ออื่น : กระดัด, ฉะดัด, กาจับหลัก, เท้ายายม่อมน้อย, มะดีความ, ดีคน, พญาดาบหัก

รูปลักษณะ : ราชดัด เป็นไม้พุ่ม สูง 2-4 เมตร ใบประกอบแบบขนนก เรียงสลับเวียนรอบกิ่ง ใบย่อย รูปไข่แกมใบหอก กว้าง 3-6 ซม. ยาว 5-10 ซม. ขอบใบหยัก ผิวใบมีขนนุ่มทั้งสองด้าน ดอกช่อ ออกที่ซอกใบ แยกเพศ มีต้นที่พบเฉพาะช่อดอกตัวผู้ และต้นที่มีทั้งดอกตัวผู้ และดอกตัวเมียในช่อเดียวกัน ดอกย่อยมีขนาดเล็ก สีน้ำตาลแดง มีขนปกคลุม ผลเป็นผลสด เมื่อแห้งมีสีน้ำตาลดำ คล้ายเมล็ดมะละกอแห้ง

สรรพคุณของ ราชดัด : ผล ผลแห้งบำรุงน้ำดี แก้ไข้ และแก้บิด เมล็ด ยับยั้งการเจริญของมาลาเรียชนิด ฟัลซิพารัม และเชื้อบิดในหลอดทดลอง แต่พบความเป็นพิษสูง

สะบ้าลิง

สะบ้าลิง

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Mucuna gigantea (Willd.) DC.
ชื่อวงศ์ : FABACEAE
ชื่ออื่น : กระเจี๊ยบ, หมามุ้ย

รูปลักษณะ : สะบ้าลิง เป็นไม้เถาเลื้อยพัน ยาว 5-15 เมตร ใบประกอบแบบขนนก มีใบย่อย 3 ใบ เรียงสลับ ใบย่อยรูปไข่แกมวงรี กว้าง 5-9 ซม. ยาว 9-16 ซม. ดอกช่อกระจะ ออกที่ซอกใบ ห้อยลงกลีบดอกสีเหลืองแกมเขียว รูปดอกถั่ว ผลเป็นฝัก สีดำมีขนสีน้ำตาลอ่อน ปกคลุมหนาแน่น เมล็ดแข็งสีน้ำตาลอ่อนมีลาย

สรรพคุณของ สะบ้าลิง : เปลือก, ต้น มีสารกลุ่มซาโปนิน ใช้ล้างแผล สระผม, นำมาต้มน้ำผสมเกลือ อมแก้ปวดฟัน เมล็ด เผา บดเป็นผงผสมกับน้ำมันมะพร้าว ทาแก้คัน และโรคผิวหนัง

หญ้าปักกิ่ง

หญ้าปักกิ่ง

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Murdannia loriformis (Hassk.) Rolla Rao et Kammathy
ชื่อวงศ์ : COMMELINACEAE

รูปลักษณะ : หญ้าปักกิ่ง เป็นไม้ล้มลุก สูงประมาณ 10 ซม. ใบเดี่ยว เรียงสลับ ใบที่โคนต้นกว้างประมาณ 1.5 ซม. ยาว 10 ซม. ใบส่วนบนสั้นกว่าใบที่โคนต้น ดอกช่อ ออกที่ปลายยอด รวมกันเป็นกระจุกแน่น ใบประดับย่อยค่อนข้างกลมซ้อนกัน สีเขียวอ่อน บางใส กลีบดอกสีฟ้าหรือม่วงอ่อน ร่วงง่าย ผลแห้ง แตกได้

สรรพคุณของ หญ้าปักกิ่ง : หญ้าปักกิ่งมีถิ่นกำเนิดในประเทศจีนตอนใต้ แถบสิบสองปันนา ในตำรายาจีนปรากฏชื่อพิชสกุลเดียวกันนี้ ใช้รักษาอาการเจ็บคอ และมะเร็ง ในประเทศไทยมีผู้นำหญ้าปักกิ่งมาใช้รักษาอาการของโรคมะเร็งหลายชนิด เช่นมะเร็งในลำคอ ตับ มดลูก ลำไส้ ผิวหนัง และเม็ดเลือด เป็นต้น โดยนำหญ้าปักกิ่ง 6 ต้น ล้างน้ำให้สะอาด ปั่นหรือตำให้แหลก เติมน้ำ 4 ช้อนโต๊ะ คั้นเอาแต่น้ำแบ่งครึ่ง ดื่ม 2 ครัง ก่อนอาหารเช้าครึ่งชั่วโมง และก่อนนอน หญ้าปักกิ่งไม่มีพิษเฉียบพลัน และพิษกิ่งเรื้อรังในหนูขาว เป็นสมุนไพรที่มีศักยภาพ ในการรักษาโรคมะเร็ง ขณะนี้อยู่ระหว่างการศึกษาวิจัย

เหงือกปลาหมอดอกม่วง

เหงือกปลาหมอดอกม่วง

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Sea Holly, Acanthus ilicifolius Linn.
ชื่อวงศ์ : ACANTHACEAE
ชื่ออื่น : แก้มหมอเล, จะเกร็ง, อีเกร็ง, เหงือกปลาหมอน้ำเงิน

รูปลักษณะ : เหงือกปลาหมอดอกม่วง เป็นไม้พุ่ม สูง 0.5-1.0 เมตร พบตามป่าชายเลน และบริเวณน้ำกร่อย ชนิดดอกขาวพบในภาคกลาง และภาคตะวันออก ส่วนชนิดดอกม่วงพบทางภาคใต้ ตั้งแต่จังหวัดชุมพรลงไป ลำต้นกลมเรียบ แข็ง สีเขียวแกมเทา มักมีหนามตามข้อๆ ละหนาม ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปไข่ รูปวงรีหรือรูปขอบขนาน กว้าง 3-7 ซม. ยาว 6-20 ซม. ขอบใบเว้าหยักซี่ฟันห่างๆ ปลายซี่เป็นหนาม ผิวใบเรียบเป็นมัน เนื้อใบเหนียวแข็ง ดอกช่อ ออกที่ปลายกิ่ง ชนิดดอกขาวมีกลีบดอกสีขาว จุดประสีแดงหรือม่วงแดง ชนิดดอกม่วงมีกลีบดอกสีม่วงอมฟ้า มีแถบสีเหลืองอ่อนกลางกลีบ ผลเป็นฝัก รูปไข่หรือทรงกระบอก

สรรพคุณของ เหงือกปลาหมอดอกม่วง : ต้น, เมล็ด รักษาฝี แก้โรคน้ำเหลืองเสีย เมล็ดเป็นยาขับพยาธิ ใช้น้ำคั้นใบทาศีรษะ ช่วยบำรุงรักษารากผม ใบ เป็นยาอายุวัฒนะ โดยปรุงรวมกับพริกไทย ในอัตราส่วน 2:1 บดทำเป็นยาลูกกลอน กินครั้งละ 1-2 เม็ด

แพงพวยฝรั่ง

แพงพวยฝรั่ง

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Madagascar Periwinkle, West Indian Periwinkle, Catharanthus roseus (Linn.) Don
ชื่อวงศ์ : APOCYNACEAE
ชื่ออื่น : แพงพวยบก, นมอิน, ผักปอดบก

รูปลักษณะ : แพงพวยฝรั่ง เป็นไม้พุ่มขนาดเล็ก แตกกิ่งก้าน สูง 25-120 ซม. ทุกส่วนมีน้ำยางสีขาว ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปขอบขนาน หรือรูปขอบขนานแกมไข่กลับ กว้าง 1.5 -3 ซม. ยาว 3-7 ซม. ผิวใบสีเขียวเข้มเป็นมัน ดอกช่อ ออกเป็นกระจุกที่ซอกใบ 1-3 ดอก กลีบดอกสีขาว สีชมพูหรือสีม่วง เชื่อมติดกันเป็นหลอดยาว แลายแยกเป็น 5 กลีบ ผลแห้ง แตกได้ตะเข็บเดียว รูปทรงกระบอกยาว เมล็ดสีดำ

สรรพคุณของ แพงพวยฝรั่ง : ต้น ใช้ทั้งต้นสกัดได้แอลคาลอยด์ Vincristine และ Vinblastine ซึ่งนำมาทำให้บริสุทธิ์ และใช้ในรูปยาฉีด รักษาคนไข้มะเร็งบางชนิด เช่น มะเร็งเม็ดเลือด เป็นต้น

จาก   www.likemax.com